การทำงานวิจัยเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ผู้ทำการวิจัยจะต้องตระหนักถึงคุณประโยชน์ที่อาสาสมัครจะได้รับ มากกว่าความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และต้องปกป้องชีวิต สุขภาพ ความเป็นส่วนตัว และความมีศักดิ์ศรีของอาสาสมัครตามหลักจริยธรรมการวิจัยสากลเป็นสิ่งสำคัญ
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
รศ.ดร.ประสิทธิ์ ลีระพันธ์ (อดีตอาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยมหิดล) ที่ปรึกษาคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
ศ.ดร.อรรถพล ควรเลี้ยง (Midwestern State University,USA) กรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
ศ.ดร.นรินทร์ สังข์รักษา (มหาวิทยาลัยศิลปากร) กรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
อ.ดร.ปริญญา สิริอัตตะกุล กรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์