หลักการและเหตุผล การเปิดเสรีกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในต้นปี 2016 จะกลายเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้องค์กรเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้องค์กรประสบความสําเร็จ และกุญแจสำคัญคือ คนทำงานในองค์กรจะต้องเป็น “Knowledge Worker” เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาทักษะให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจใน “ความขัดแย้ง” ที่เกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างถูกต้อง เตรียมความพร้อมในการหาแนวทางจัดการกับความขัดแย้งนั้นอย่างสร้างสรรค์ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการบริหารความขัดแย้งให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด การอบรมหลักสูตร การบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ จึงเกิดขึ้นเพื่อสอดรับกับการแก้ไขปัญหาการทำงานร่วมกันระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง ระหว่างลูกน้องและลูกน้อง หรือ แม้กระทั่งความขัดแย้งภายในตัวเองที่อาจจะก่อให้เกิดน้ำผึ้งหยดเดียวต่อไปภายภาคหน้า
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง “ความขัดแย้ง”
เพื่อเตรียมความพร้อมในการหาแนวทางจัดการกับความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
เพื่อมีความรู้และเข้าใจถึงกลยุทธ์บริหารความขัดแย้ง
เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดในงานต่อไป
หัวข้อการฝีกอบรม
ความหมายของความขัดแย้ง ประเภทและสาเหตุของความขัดแย้ง
ลักษณะของความขัดแย้ง
ผลดี-ผลเสียของความขัดแย้ง
กลยุทธ์ในการส่งเสริมให้เกิดความขัดแย้ง
แนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
คุณลักษณะของนักไกล่เกลี่ยที่ดี
ขั้นตอนในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง
ความท้าทายของผู้นำในการจัดการความขัดแย้งอย่างสมดุล
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
-
ผศ.ดร.ชื่นสุมล บุนนาค
ดร.สุรีรักษ์ วงษ์ทิพย์