เทคโนโลยีการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

28 เมษายน 2565


ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเล  แบ่งเป็นชายฝั่งด้านอ่าวไทยและชายฝั่งด้านทะเลอันดามัน ในปัจจุบันพื้นที่ชายฝั่งทะเลถูกใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย เช่น จากกิจกรรมการท่องเที่ยวและนันทนาการ การประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอยู่อาศัยของชุมชนริมทะเล อุตสาหกรรม ท่าเรือ การคมนาคมทางน้ำ เป็นต้น ชายฝั่งทะเลจึงมีความสำคัญในทุกๆด้านทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ซึ่งในเรื่องปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยทั้งในส่วนของอ่าวไทยและทะเลอันดามัน และยังไม่มีแนวทางการดำเนินการจัดการกับปัญหานี้อย่างถูกวิธี โดยปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบต่อประเทศไทยในหลายด้าน อาจจำแนกได้4ประการ ได้แก่ 

·                ด้านเศรษฐกิจ คือ ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ ภาคการท่องเที่ยว จากชายฝั่งถูกกัดเซาะจนเกิดสภาพเสื่อมโทรม สูญเสียแนวชายหาดที่สวยงาม

·                 ด้านสิ่งแวดล้อม คือระบบนิเวศชายฝั่ง ได้แก่ ระบบนิเวศชายหาด ป่าชายเลน หญ้าทะเล และปะการัง

·                 ด้านสังคม คือ ชุมชนริมฝั่งทะเลต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังพื้นที่อื่นจากพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะ

·                 ด้านคุณภาพชีวิต คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะ สูญเสียที่ดินและทรัพย์สิน

การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจากการกัดเซาะของคลื่นหรือลม ตะกอนจากที่หนึ่งไปตกทับถมในอีกบริเวณหนึ่ง สาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งแบ่งได้เป็น 2สาเหตุหลักคือ

·              การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งโดยกระบวนการตามธรรมชาติ เกิดจากการกัดเซาะของคลื่นและลม พายุ น้ำท่วม หรือจากกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้น โดยคลื่นเป็นตัวการสำคัญในการเปลี่ยนแปลงลักษณะของตะกอนและทรายชายฝั่ง

·              การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งโดยกิจกรรมของมนุษย์ กิจกรรมของมนุษย์ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่ง จากการมุ่งเน้นพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานการผลิต แต่กลับให้ความสำคัญในการรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรน้อยเกินไป ทำให้ทรัพยากรที่มีความสำคัญถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงทุกขณะ กิจกรรมที่เร่งกระบวนการกัดเซาะชายฝั่งให้รุนแรงมากขึ้น เช่น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่ง,การสร้างเขื่อน, การทำลายป่าชายเลน เป็นต้น

ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเล  แบ่งเป็นชายฝั่งด้านอ่าวไทยและชายฝั่งด้านทะเลอันดามัน ในปัจจุบันพื้นที่ชายฝั่งทะเลถูกใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย เช่น จากกิจกรรมการท่องเที่ยวและนันทนาการ การประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอยู่อาศัยของชุมชนริมทะเล อุตสาหกรรม ท่าเรือ การคมนาคมทางน้ำ เป็นต้น ชายฝั่งทะเลจึงมีความสำคัญในทุกๆด้านทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ซึ่งในเรื่องปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยทั้งในส่วนของอ่าวไทยและทะเลอันดามัน และยังไม่มีแนวทางการดำเนินการจัดการกับปัญหานี้อย่างถูกวิธี โดยปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบต่อประเทศไทยในหลายด้าน อาจจำแนกได้4ประการ ได้แก่ 

·                ด้านเศรษฐกิจ คือ ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ ภาคการท่องเที่ยว จากชายฝั่งถูกกัดเซาะจนเกิดสภาพเสื่อมโทรม สูญเสียแนวชายหาดที่สวยงาม

·                 ด้านสิ่งแวดล้อม คือระบบนิเวศชายฝั่ง ได้แก่ ระบบนิเวศชายหาด ป่าชายเลน หญ้าทะเล และปะการัง

·                 ด้านสังคม คือ ชุมชนริมฝั่งทะเลต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังพื้นที่อื่นจากพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะ

·                 ด้านคุณภาพชีวิต คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะ สูญเสียที่ดินและทรัพย์สิน

การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจากการกัดเซาะของคลื่นหรือลม ตะกอนจากที่หนึ่งไปตกทับถมในอีกบริเวณหนึ่ง สาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งแบ่งได้เป็น 2สาเหตุหลักคือ

·              การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งโดยกระบวนการตามธรรมชาติ เกิดจากการกัดเซาะของคลื่นและลม พายุ น้ำท่วม หรือจากกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้น โดยคลื่นเป็นตัวการสำคัญในการเปลี่ยนแปลงลักษณะของตะกอนและทรายชายฝั่ง

·              การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งโดยกิจกรรมของมนุษย์ กิจกรรมของมนุษย์ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่ง จากการมุ่งเน้นพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานการผลิต แต่กลับให้ความสำคัญในการรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรน้อยเกินไป ทำให้ทรัพยากรที่มีความสำคัญถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงทุกขณะ กิจกรรมที่เร่งกระบวนการกัดเซาะชายฝั่งให้รุนแรงมากขึ้น เช่น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่ง,การสร้างเขื่อน, การทำลายป่าชายเลน เป็นต้น



คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม

o วิศวกรโยธา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย วิศวกรโยธาของหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดที่ติดทะเล

วิทยากร

คุณกัมปนาท ชีวะปรีชา

·          ผู้เชี่ยวชาญด้านท่าเรือและวิศวกรรมชายฝั่ง



สถานที่อบรม (VENUE)

zoom

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

28 เมษายน 2565 8.30-16.30

จัดโดย

บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 0846380438

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3000 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 539 ครั้ง