หลักการและเหตุผล
หลายองค์กรได้นำแนวทางการสรรหาบุคลากรเชิงรุกหรือที่เรียกกันอย่างง่ายว่าการสรรหาเชิงรุก (Proactive
Recruitment) เข้ามาใช้เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการสรรหา คัดเลือกและประเมินผู้สมัครงานนั้นช่วยให้ได้คนที่ใช้ (the
right candidate) เข้ามาปฏิบัติงาน หลักสูตรนี้
ออกแบบมาเพื่อให้บุคลากรที่ทำงานด้านการสรรหาบุคลากรมองเห็นภาพของการทำงานสรรหาเชิงรุก
คุณลักษณะเชิงความรู้ ทักษะและพฤติกรรมของบุคลากรที่รับผิดชอบการทำงานสรรหาเชิงรุก
พร้อมเรียนรู้ลักษณะของงานสรรหาเชิงรุกเพื่อให้นำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของแต่ละองค์กร
ทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายของผู้ปฏิบัติงาน Recruiter ในทุกระดับที่มาเข้าร่วมเรียนรู้
อันจะเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ในภายหน้า
วัตถุประสงค์
-เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสรรหาเชิงรุกและแนวทางที่ควรดำเนินการให้เป็นการสรรหาเชิงรุก (Proactive Recruitment) รวมทั้งการวางแผนสรรหาบุคลากรจากแหล่งและช่องทางสรรหาต่าง ๆ
-นำเสนอและร่วมอภิปรายประเด็นปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาในงานสรรหาบุคลากรที่ประสบในองค์ก รต่าง ๆ เช่นการจัดการกำลังคน
-เรียนรู้จากคำแนะนำของวิทยากรที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ พร้อมแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices) ของหลายองค์กรชั้นนำในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่ใช่เข้าร่วมงาน
หัวข้อการอบรม
แนวโน้มในอนาคตการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรยุคใหม่
กระบวนการการสรรหาและคัดเลือกที่เป็นมาตรฐาน
การสรรหาเชิงรุกกับการสรรหาเชิงรับ (Proactive vs. Reactive Recruitment)
ทำ “10 อย่าง” ให้งานสรรหากลายเป็น "การสรรหาเชิงรุก" (Proactive Recruitment)
- คำถามที่ต้องตอบก่อนจะสรรหา และคัดเลือก
- เขียนข้อความโฆษณารับสมัครงานอย่างมืออาชีพ
- เลือกใช้สื่อสมัยใหม่เพื่อสร้างภาพลักษณ์การสรร
- การคัดเลือกผู้สมัครเบื้องต้น (Candidate Screening) และการจัดอันดับผู้สมัครงาน (Candidate Rating)
- เครื่องมือในการทดสอบและประเมินผู้สมัครงาน
+ ประเมินความรู้
+ การทดสอบทักษะ
+ การประเมินพฤติกรรมการทำงาน
- หลักในการตรวจสอบประวัติ (Reference Check)
- เทคนิคในการสัมภาษณ์ผู้สมัคร และฝึกปฏิบัติ (Interview Technique)
- ปรับปรุงแบบประเมินผลสัมภาษณ์
+ เกณฑ์ประเมินผลสัมภาษณ์
+ เกณฑ์คะแนนเพื่อคัดเลือกผู้สมัครงาน
ช่องทางสรรหาบุคลากรต่าง ๆ และการปรับปรุง แนวทางการสรรหาคน
- สื่อออนไลน์ (Online Media)
+ Website
+ Line/Line OA
- การประกาศรับสมัครภายใน (Internal Sourcing) และ Referral Program
- การรับสมัครจากกลุ่มจัดหางานต่าง ๆ
- การ Outsource งานและคนทำงาน
- การรับสมัครจากสถาบันการศึกษา
- การทำกิจกรรมพิเศษเช่น
+ Direct Sales
+ การแลกใบสมัคร
+ การเป็นสมาชิกชมรม/สมาคมวิชาชีพ
+ กิจกรรมทางสังคม/วิชาชีพ เป็นต้น
สิ่งที่ควรระวังกับการใช้ Social Media และสิ่งออนไลน์
สิ่งที่ควร "ทำ" และ "ไม่ควรทำ" ในกระบวนการรับสมัครพนักงานใหม่
วางแผนปรับปรุงงานของตนเองเพื่อให้เป็นงานสรรหาเชิงรุก พร้อมคำแนะนำจากวิทยากร
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และการนำไปปรับใช้งานต่อไป
ดร.ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต