หลักการและเหตุผล
ลายเซ็นเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่คิดว่าไม่ค่อยมีความสำคัญหรือไม่ค่อยมีผลอะไรกับชีวิตและการทำงาน จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับลายเซ็นมากนัก แต่ความเป็นจริงแล้วลายเซ็นที่เราเซ็นด้วยลายเส้นในรูปแบบต่างๆนั้นมีความสำคัญกับชีวิตและการทำงานที่มองข้ามไปไม่ได้ เพราะลายเซ็นเป็นการบ่งบอกถึงคำพูดที่อยู่ในใจ ถึงนิสัย พฤติกรรมที่แสดงออก รวมถึงระบบความคิด ความมีวิสัยทัศน์ของบุคคลนั้นได้เป็นอย่างดี ถ้าลายเซ็น ลายเส้นดี ย่อมส่งผลถึงในด้านดี มีความพร้อม สะท้อนถึงศักยภาพ ขีดความสามารถของบุคคลนั้น ถ้าลายเซ็น ลายเส้นไม่ดี ย่อมส่งผลในด้านลบเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝ่ายสรรหา หรือคัดสรรบุคลากรหรือผู้ประกอบการ
วัตถุประสงค์
มีความจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ เรียนรู้ ศาสตร์การวิเคราะห์ ลายเซ็น รูปแบบลายเซ็นที่เหมาะสมกับการคัดสรรบุคลากรให้ตรงตามศักยภาพ ความสามารถ ในตำแหน่งงานนั้นๆ ก่อนที่จะสรรหาพนักงานเข้าทำงานในองค์กร ให้ได้ตรงตามคุณสมบัติที่เหมาะสม คัดเลือกพนักงานที่ใช่สำหรับองค์กร รวมถึง การปรับเปลี่ยนแก้ลายเซ็น แก้พฤติกรรมให้ถูกต้อง ถูกใจ มีประสิทธิภาพมากขึ้นกับชีวิตและการทำงานของตนเองด้วยในเวลาเดียวกัน
ระยะเวลาการฝึกอบรม : 1วัน (09.00-16.00 น.)
09.00 - 12.00น.
1) กระบวนการทัศน์ในยุคธุรกิจที่มีผลต่อทรัพยากรบุคคล (HR)
2) Competency Conceptกับการการคัดสรรบุคลากร
3) เทคนิคการคัดสรรบุคลากร(Selection)
Workshop : Selection Problem
4) การคัดสรรด้วยหลักมานุษยวิทยาสมัยใหม่(D - I - S - C)
5) แบบประเมินเชิงจิตตรรกะวิทยา (จิตวิทยา+ตรรกะ)
(Psychologiora Power) -->9ลักษณะ
6) เจาะลึก:ลักษณะลายมือเขียนกับลักษณะงาน
7) เจาะลึก:ศาสตร์การวิเคราะห์ลายเซ็น
1) ความสำคัญของลายเส้นที่มีผลต่อลายเซ็น
2) รูปแบบและประเภทของลายเซ็นของบุคคลที่มีผลต่อการทำงาน
3) ลายเซ็นที่สมบูรณ์แบบอัจฉริยะ
4) โครงสร้างลายเซ็นที่ดี
5) ลักษณะลายเซ็นของแต่ละสายงานในการคัดสรรบุคลากร
6) รูปแบบลายเซ็นคนดัง เซเลป และลายเซ็นที่ประสบความสำเร็จ
7) ปรับเปลี่ยน ออกแบบ และแก้ไขลายเซ็น
8) การคัดสรรบุคลากรด้วยศาสตร์การวิเคราะห์ลายเซ็น
Workshop :ฝึกการใช้แบบประเมินเชิงจิตตรรกะวิทยา : Case Study
- การบรรยาย การระดมความคิดเห็น ตลอดจนการทำWorkshopรูปแบบกรณีศึกษา (Case Study)จากการทำงานจริง สรุป, ถาม-ตอบ
ผู้เข้าฝึกอบรม :หัวหน้างาน และพนักงานทุกระดับที่ต้องมีการคัดสรร และคัดเลือกบุคลากร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานทรัพยากรบุคคล(HR)
วิทยากร :อาจารย์สุกิจ ตรียุทธวัฒนา