วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้แทนในการเจรจาข้อเรียกร้องทราบถึงสิทธิ ของนายจ้าง สิทธิของลูกจ้าง ในกรณี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง การปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ. ศ. 2518 ต้องดำเนินการอย่างไร..
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้รับปฏิบัติได้จริงต่อการนำเสนอ นโยบาย การเรียนรู้เทคนิคในการเจรจาต่อรองข้อเรียกร้อง กรณีสหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง หรือนายจ้างยื่นข้อเรียกร้องสวน เพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ใช้หลักการเจรจาอย่างไร..ให้ตกลงกันได้ภายในองค์กร และทราบถึงการ จัดทำบันทึกข้อตกลงข้อเรียกร้องที่นายจ้างและสหภาพฯจัดทำขึ้นเพื่อแจ้งต่อหน่วยงานภาครัฐ ต้องกำหนดข้อความให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับสิทธิอย่างไร...
3. เพื่อให้นายจ้างผู้บริหารทราบถึง ในระหว่างข้อตกลงมีผลบังคับใช้ ในกรณีนายจ้างประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้นายจ้างไม่สามารถ จ่ายสวัสดิการ หรือปฏิบัติตามข้อตกลงได้ แนวทางการแก้ปัญหาที่ดี ต้องปฏิบัติ และดำเนินการอย่างไร...
*** หมวด:1การเขียนข้อเรียกร้อง,การเจรจาต่อรองและบันทึกข้อตกลง***
หัวข้อในการอบรม
1. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ให้สิทธินายจ้างกรณีจัดตั้ง เป็นองค์กร และมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีกรณีอะไรบ้าง..?
ยกตัวอย่าง : การจัดตั้ง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง พร้อมคำอธิบาย 2. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ให้สิทธิลูกจ้าง กรณีจัดตั้ง เป็นองค์กร และมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีกรณีใดบ้าง..? ยกตัวอย่าง :การจัดตั้งสหภาพแรงงาน จัดตั้งสหพันธ์แรงงาน และจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างแรงงาน พร้อมคำอธิบาย 3. สหภาพแรงงาน ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง เพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จะกระทำได้เมื่อใด.. และมีขอบเขตในการกำหนดข้อเรียกร้อง ตามกฎหมายหรือไม่... เพราะอะไร..? ยกตัวอย่าง: การยื่นข้อเรียกร้อง การกำหนดข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน พร้อมคำอธิบาย 4. กรณีนายจ้างมีนโยบายยื่นข้อเรียกร้องสวนต่อสหภาพแรงงาน เพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเดิมที่มีอยู่ หรือเพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานยื่นเข้ามาใหม่จะกระทำได้เมื่อใด..และมีขอบเขตในการกำหนดข้อเรียกร้องตามกฎหมายหรือไม่..เพราะอะไร..? มีตัวอย่าง : การกำหนดข้อเรียกร้องเพื่อยื่นสวนต่อสหภาพแรงงาน แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา พร้อมคำอธิบาย 5. การกำหนดตัวแทน ในการเจรจาข้อเรียกร้องของฝ่ายนายจ้าง พิจารณาจากคุณสมบัติอะไรบ้าง..? ยกตัวอย่าง: การพิจารณาจากตำแหน่งงาน ความพร้อมด้านต่างๆ พร้อมคำอธิบาย 6. การกำหนดที่ปรึกษา ในการเจรจาข้อเรียกร้องของฝ่ายนายจ้าง มีขอบเขตในการกำหนด และต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมายอะไรบ้าง..? ยกตัวอย่าง: การพิจารณาเพื่อกำหนดคุณสมบัติ ตามกฎหมาย พร้อมคำอธิบาย 7. เมื่อมีนายจ้างหรือสหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อกัน และได้มีการเจรจากันครั้งหนึ่งแล้ว การเลื่อนเจรจากันในครั้งต่อไป จะเลื่อนได้กี่ครั้ง แต่ละครั้งต้องห่างกัน กี่วัน มีบทบัญญัติไว้ตามลงกฎหมายหรือไม่..เพราะอะไร..? ยกตัวอย่าง: การรับข้อเรียกร้อง การเจรจากันครั้งแรก การกำหนดวันในครั้งต่อไป พร้อมคำอธิบาย
8. เทคนิคในการเจรจาข้อเรียกร้องของผู้แทนฝ่ายนายจ้างและการนำเสนอ นโยบายเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องวางกลยุทธ์อย่างไร...ถึงจะทำให้การเจรจาข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานตกลงกันได้ในองค์กรด้วยดี ยกตัวอย่าง: การนำเสนอเหตุผลข้อเรียกร้องในแต่ละข้อที่จะขอให้มีการเปลี่ยนแปลง พร้อมคำอธิบาย 9. เทคนิคในการเจรจา กรณีกำหนดให้จ่ายเงินโบนัสประจำปี ต้องเสนอเงื่อนไขให้ผู้มีสิทธิจะได้รับอย่างไร..? ยกตัวอย่าง: การนำเสนอ ให้ได้รับสิทธิ มากกว่ากำหนด และให้ได้รับน้อยกว่ากำหนด พร้อมคำอธิบาย 10. การนำเสนอข้อเรียกร้องที่ตกลงกันให้มีผลบังคับใช้ และมีระยะเวลา 3 ปี จะเกิดผลดีต่อองค์กร อะไรบ้าง..? ยกตัวอย่าง: การให้เหตุผล ข้อตกลงที่กำหนดเป็น 1 ปี แตกต่างจาก 3 ปี พร้อมคำอธิบาย 11. การจัดทำบันทึกข้อตกลงข้อเรียกร้องของนายจ้างกับสหภาพแรงงาน เพื่อนำไปจดทะเบียนต่อหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เป็นสภาพการจ้าง ต้องกำหนดข้อความให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับสิทธิอย่างไร..? มีตัวอย่าง: การจัดทำบันทึกข้อตกลง และการกำหนดสิทธิหรือเงื่อนไขการได้รับสิทธิ แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา พร้อมคำอธิบาย 12 . เมื่อเจรจาข้อเรียกร้องกับสหภาพแรงงานและตกลงกันได้แล้ว ในระหว่างที่จัดทำเอกสาร ก่อนที่จะนำไปจดทะเบียนต่อหน่วยงานภาครัฐ ในกรณี มีสมาชิกของสหภาพแรงงานไม่เห็นด้วยในข้อตกลงและคัดค้านรวมตัวกันชุมนุมก่อม็อบ ทำได้หรือไม่.เพราะอะไร..? ยกตัวอย่าง: การแก้ปัญหาของผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และการทำหน้าที่ของผู้แทนสหภาพแรงงาน พร้อมคำอธิบาย 13. ในกรณีนายจ้างเจรจาข้อเรียกร้องกับสหภาพแรงงานแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ กระบวนการแจ้งประนอมข้อพิพาทแรงงานต่อหน่วยงานภาครัฐ ต้องดำเนินการอย่างไร..? ยกตัวอย่าง: การจัดทำเอกสาร และขั้นตอนในการแจ้งประนอมข้อพิพาทแรงงาน พร้อมคำอธิบาย 14 . เมื่อมีการเจรจาข้อเรียกร้องระหว่างผู้แทนฝ่ายนายจ้างกับสหภาพแรงงานแล้ว กรณีไม่สามารถตกลงกันได้ นายจ้างมีสิทธิที่จะปิดงานหรือสหภาพแรงงานมีสิทธิที่จะชุมนุมนัดหยุดงาน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างไร..? ยกตัวอย่าง : การปฏิบัติตาม ขั้นตอนของสิทธิตามกฎหมาย พร้อมคำอธิบาย 15. กรณีองค์กรมีสหภาพแรงงาน 2 สภาพแรงงาน เช่น สหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชา และสหภาพแรงงานระดับปฏิบัติการ นายจ้างต้องปฏิบัติต่อ สหภาพแรงงานทั้ง 2 แห่งอย่างไร..? ยกตัวอย่าง: การยื่นข้อเรียกร้อง การเจรจา การบันทึกข้อตกลง การบังคับใช้ข้อตกลง พร้อมคำอธิบาย 16. ในระหว่าง ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ นายจ้างต้องปฏิบัติต่อผู้เกี่ยวข้องและสมาชิกของสหภาพแรงงานอย่างไร..? ยกตัวอย่าง: การจ่ายสวัสดิการ และการลงโทษทางวินัย หรือการเลื่อน ลด ปลด ย้าย สมาชิกของสหภาพแรงงาน พร้อมคำอธิบาย
17. ในระหว่าง ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ กรณีนายจ้างเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และไม่มีเหตุอันสมควร การเรียกร้องสิทธิของผู้มีสิทธิที่จะได้รับสวัสดิการตามที่ตกลงกันไว้จะร้องทุกข์ ได้ที่ไหนบ้าง..? ยกตัวอย่าง : การเรียกร้องสิทธิ ทางกฎหมายต่อหน่วยงานภาครัฐ พร้อมคำอธิบาย 18. ในระหว่างข้อตกลงมีผลบังคับใช้ กรณีบริษัทฯประสบปัญหาทางเศรษฐกิจสาเหตุจากโรคระบาด หรือเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติจนเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายร้ายแรง นายจ้างไม่สามารถจ่ายสวัสดิการให้กับลูกจ้างตามที่ได้ตกลงกันไว้ นายจ้างต้องปฏิบัติอย่างไร..? ยกตัวอย่าง : การแก้ปัญหาที่ดี เพื่อระงับ หรือ งด การจ่ายสวัสดิการและการบังคับใช้ พร้อมคำอธิบาย
19. กรณีบริษัทฯ มีโรงงานหลายแห่งซึ่งอยู่ตามสาขา ตั้งอยู่ห่างไกลกัน และเป็นชื่อบริษัทฯเดียวกัน ลูกจ้างมีสิทธิตั้งสหภาพแรงงานของแต่ละที่ที่อยู่ตามสาขาได้หรือไม่..กฎหมายให้สิทธิลูกจ้างหรือไม่.. เพราะอะไร..? ยกตัวอย่าง: องค์ประกอบในการจดทะเบียนจัดตั้งสหภาพแรงงาน พร้อมคำอธิบาย 20. การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง ในกรณี บริษัทฯ มีโรงงานหลายแห่ง การนับจำนวนพนักงาน เพื่อแต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง ให้ได้ตาม ส่วน ตามกฎหมายต้องนับจำนวน พนักงานอย่างไร.. ถึงจะแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกตัวอย่าง: บริษัทฯมีโรงงานอยู่ 3 แห่ง ซึ่งเป็นชื่อบริษัทฯเดียวกัน พร้อมคำอธิบาย 21. ทำไม..กรรมการบริหารสหภาพแรงงานต้องพยายามรับตำแหน่งกรรมการลูกจ้าง (คนเดียว ทำหน้าที่ 2 ตำแหน่ง เพราะอะไร ยกตัวอย่าง: การได้รับสิทธิ คุ้มครองทางกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ พร้อมคำอธิบาย &n
วิทยากร อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า