หลักการและเหตุผล
การเก็บข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของการดำเนินการปรับปรุง หรือแก้ปัญหาและปรับปรุงงานในด้านต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องการข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ ขั้นตอนต่อไปจะนำข้อมูลนั้นมาทำการวิเคราะห์เพื่อนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์เพื่อการตัดสินใจ หรือในบางกรณีเรามีกิจกรรมระดมสมองเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาหรือปรับปรุง ดังรายละเอียดที่กล่าวมาขั้นต้นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้เพื่อเก็บข้อมูล แสดงข้อมูลมาวิเคราะห์งานแก้ไขปัญหาหรือปรับปรุงแล้วนำข้อมูลนั้นมาเพื่อตัดสินใจในการทำงาน คือ 7QC Toolsหรือเครื่องมือคุณภาพ7อย่าง เป็นเครื่องมือที่มีความเหมาะสมในการวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขที่สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ให้ประสบความสำเร็จเพื่อไม่ให้กลับมาเกิดซํ้าที่มีความนิยมในกระบวนการควบคุมคุณภาพ ซึ่งอันประกอบด้วยCheck Sheet, Pareto Diagram, Cause and Effect Diagram, Histogram , Scatter Diagram , Graph และ Control Chartเครื่องมือทั้ง 7 อย่าง มีความสำคัญและการนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องเพื่อการปรับปรุง(Kaizen) อย่างเหมาะสม การเลือกใช้เครื่องมือแต่ละประเภทของการแก้ไขปัญหาจึงมีความจำเป็นที่ต้องใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของเครื่องมือนั้น ๆ เพื่อที่จะทำให้สามารถผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานผ่านการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างได้อย่างต่อเนื่องแล้วก็จะเกิดการสร้างวัฒนธรรมในองค์กรได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ / ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. สามารถเข้าใจแนวคิดและหลักการของ เทคนิค 7QC Toolsเพื่อการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้
ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคนิค 7QC Toolsเพื่อการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
ในด้านคุณภาพและการปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการผลิต
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะการประยุกต์ใช้เทคนิค
7QC Toolsเพื่อการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อการลด
ต้นทุนและเพิ่มผลผลิตอย่างเป็นระบบ
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำ
เทคนิค 7QC Toolsเพื่อการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ในการวิเคราะห์ปัญหา
อย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงเทคนิค 7QC Toolsเพื่อการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ที่ถูกต้องเหมาะสมในการ
ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานได้
หัวข้อสัมมนา
1. หลักแนวคิดและหัวใจสำคัญเกี่ยวกับ "ปัญหา,คุณภาพ และมาตรฐาน"
2. หลักความสำคัญของการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงงานด้วยจิตสำนึกแบบทุกคนมีส่วนร่วม
3. การสร้างความตระหนักและจิตสำนึกจากความท้าทายใน "ต้นทุนคุณภาพ" และ"การควบคุมคุณภาพ"
4. อะไรคือ ของมีตำหนิ (Defect) และมีปัจจัยเกิดขึ้นได้จากสาเหตุใด
5. แนวคิดกระบวนการแก้ไขปัญหาหรือการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (Kaizen Technique)
6.การค้นหาความสูญเปล่า(Wastes) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตเพื่อนำมาปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง(Kaizen)
7. คุณสมบัติเครื่องมือคุณภาพ7 อย่าง และขั้นตอนการใช้งานให้ประสบ ผลสำเร็จแก่องค์กร
7.1. ใบตรวจสอบ (Check Sheet)
7.2. แผนภู มิพาเรโต (Pareto Chart)
7.3. ฮิตโตแกรม (Histogram)
7.4. แผนภาพการกระจาย (Scatter Diagram)
7.5. แผนภาพสาเหตุ และผล (Cause and Effect Diagram)
7.6. กราฟ (Graph) เช่น กราฟแท่ง,กราฟเส้น ,กราฟวงกลม,กราฟเรด้า
7.7. แผนภูมิควบคุมคุณภาพ (Control charts)
8. ตัวอย่างกรณีศึกษาการดำเนินกิจกรรมที่ประสบผลสำเร็จ (Best Practice)
9. สรุปการเรียนรู้และถามตอบ
วิธีการฝึกอบรม (ทฤษฎี 30% เชิงปฏิบัติการ 70%)
- การบรรยาย-สาธิตเนื้อหาและทฤษฎีรวมทั้งชมภาพและวีดีทัศน์ประกอบ
- ตัวอย่างกรณีศึกษาสำหรับการฝึกปฏิบัติ
- กิจกรรมกลุ่มระดมสมอง
- กิจกรรมกลุ่ม(Workshop)
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
- ผู้บริหาร ผู้จัดการ วิศวกร หัวหน้างาน ที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ที่มีหน้าที่หรือผู้ได้รับพิจารณาให้รับผิดชอบงานที่ เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไป
ระยะเวลาการฝึกอบรม :1 วัน (เวลา 09.00 - 16.00 น.)
สถานที่ โรงแรมโนโวเทล ซอยสุขุมวิท 20 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพ หรือเลือกอบรมเป็นแบบ Online ผ่าน Program Zoom ได้
30 พฤษภาคม 2565 9.00-16.00 น.
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 090 645 0992 , 089 606 0444
2500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)