เตรียมความพร้อม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับคน HR (Personal Data Protection Act – PDPA)

23 มีนาคม 2564

หลักการและเหตุผล

จากการที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจในเกือบทุกด้าน ส่งผลให้การเก็บข้อมูล การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลทำได้โดยง่าย และก่อเกิดประโยชน์ อีกด้านหนึ่งก็อาจสร้างความเดือดร้อนหรือความเสียหายได้ หากนำข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหาประโยชน์ หรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับความยินยอม ดังนั้น องค์กรต่าง ๆ จำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้มีความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องตามสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบตามกรอบกฎหมาย ที่เรียกว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019)หรือPDPA)

 

กฎหมายฉบับนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อองค์กรเท่านั้น ยังส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลอีกด้วย จึงควรที่นายจ้าง /HR /ลูกจ้าง ต้องศึกษาและปฏิบัติให้ถูกต้อง

 

วัตถุประสงค์การฝึกอบรม

1.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

2.เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการเตรียมความพร้อมของนายจ้าง /HRเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามกฎหมาย อาทิ การให้ความยินยอม กระบวนการเพื่อรองรับการใช้สิทธิอื่น ๆ ของเจ้าของข้อมูล

3.นายจ้าง /HRสามารถจัดทำนโยบาย และกำหนดกระบวนการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน (Personal Information)ให้สอดคล้องกับกฏหมายได้

 

หัวข้อการอบรม

Øเหตุผลและความเป็นมาของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

Øสาระสำคัญของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

o "ข้อมูลส่วนบุคคล" คืออะไร และใครคือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

oการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหมายถึงอะไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร มีข้อยกเว้นอย่างไร?

oหน่วยงานใดในองค์กรเกี่ยวข้องกับ PDPAบ้าง?

oผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Controller)ผู้ประมวลลข้อมูลส่วนบุคคล (Processor)และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)คือใคร?มีบทบาทหน้าที่อย่างไร?

oสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

oหลักการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ในการเก็บข้อมูล ใช้ข้อมูล เปิดเผยข้อมูล

oความรับผิดชอบตามกฎหมาย ทั้งโทษทางแพ่ง โทษทางอาญา และโทษปรับทางปกครอง

Øขอบเขตการใช้บังคับบริษัทในประเทศไทย บริษัทในต่างประเทศที่มีการบริการลูกค้าในไทย ต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎหมายนี้

Øสิ่งที่องค์กรควรเตรียมความพร้อม เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้

Øแนวปฏิบัติเพื่อการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Guideline on Data Protection Impact Assessment)ตามขอบเขตของDPIA

Øกรณีศึกษา/ตัวอย่างนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Policy)

Øกรณีศึกษา/ตัวอย่างเอกสารแจ้งข้อมูลการประมวลผลข้อมูล (Privacy Notice)

ภาคปฏิบัติฝ่ายบุคคล

Øผลกระทบและการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน (Personal Information)ของฝ่ายHR

Øข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานและเอกสารอะไรบ้างในฝ่ายบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายฉบับนี้

Øบทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับนายจ้าง และฝ่ายบุคคล ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562ตั้งแต่การกำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ การกำหนดเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล /การรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร

oนายจ้างมีสิทธิเรียก เก็บรักษา ใช้ ข้อมูลของพนักงานได้ทุกกรณีหรือไม่?ข้อมูลใดเรียกเก็บได้ ข้อมูลใดเรียกเก็บไม่ได้?

oข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน กรณีใด/ประเภทใดบ้าง ต้องขอความยินยอม กรณีใด/ประเภทใด ไม่ต้องขอความยินยอมตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

oเทคนิควิธีการดำเนินการด้านขอความยินยอม จากลูกจ้างเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อใช้ในการปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงาน

o HR Privacy Policyคืออะไร?และกรณีศึกษา/ตัวอย่าง การร่างนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (HR Privacy Policy)สำหรับพนักงาน

oบริษัทจะแจ้งHR Privacy Policyให้พนักงานทราบได้ด้วยวิธีใดได้บ้าง?

oกรณีศึกษา/ตัวอย่าง การจัดทำหนังสือขอให้ลูกจ้างส่งข้อมูลส่วนบุคคล

oกรณีศึกษา/ตัวอย่าง การปรับปรุงสัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แบบฟอร์มเอกสารที่เกี่ยวข้องในฝ่ายบุคคล

Øปัญหาชวนคิด (Quiz)ที่เกี่ยวเนื่องกับ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ

oนายจ้างมีสิทธิขอดูหลักฐานการป่วยของพนักงานได้หรือไม่ ?

oใบสมัครที่ต้องให้ระบุข้อมูล เช่น ผู้อ้างอิง ผู้คํ้าประกัน ฯลฯ ต้องขอความยินยอมจากผู้ที่ถูก อ้างอิงหรือไม่?

oประวัติอาชญากรรม ประวัติสุขภาพของผู้สมัครงานหรือของลูกจ้าง เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่?จะต้องจัดการข้อมูลเหล่านี้อย่างไร ?

oการประเมินผลการทำงาน หรือความเห็นของผู้ประเมินต่อการทำงานของลูกจ้าง เป็นข้อมูลส่วนบุคคลได้หรือไม่ นายจ้างจะเปิดเผยต่อบุคคลอื่นที่สอบถามมาได้หรือไม่

oลูกจ้างยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในสัญญาจ้าง ความยินยอมดังกล่าว ถือเป็นความยินยอมตามกฎหมายแล้วหรือไม่?

oลูกจ้างจะยกเลิกการให้ความยินยอม ทำได้หรือไม่ มีวิธีการอย่างไร และต้องให้นายจ้างตกลงยอมให้ยกเลิกด้วยหรือไม่?

oพนักงานสามารถปฎิเสธการให้ข้อมูล หรือขอลบข้อมูลบางส่วนได้หรือไม่?

oการสแกนลายนิ้วมือพนักงาน เพื่อใช้บันทึกการมาทำงาน และควบคุมบุคคลเข้า-ออกสำนักงาน เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่?จะต้องจัดการข้อมูลเหล่านี้อย่างไร?

oฯลฯ

Øถาม-ตอบ อภิปรายแลกเปลี่ยนปัญหาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม เจ้าของกิจการ ฝ่ายบุคคล ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยขัอมูลส่วนบุคคล ของพนักงาน

 

อาจารย์พงศา  บุญชัยวัฒนโชติ

 

โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ สุขุมวิท 20

 

บุคคลทั่วไป ท่านละ3,900บาท

สมาชิก ท่านละ3,500 บาท

ลงทะเบียน3ท่านขึ้นไป ท่านละ3,200บาท

ลงทะเบียน5ท่านขึ้นไป ท่านละ2,900บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%**


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130

www.knctrainingcenter.com

[email protected]
โทร. :02-157-9083,062-315-5283

วิทยากร

อาจารย์พงศา บุญชัยวัฒนโชติ



สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ สุขุมวิท20

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

23 มีนาคม 2564 09.00-16.00

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 02-157-9083, 062-315-5283

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 461 ครั้ง