หลักการและเหตุผล
จากกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565ตามข้อ43หนึ่งในนั้น คือ องค์กรต้องจัดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิค เมื่อมีพนักงานตั้งแต่20 - 49คน
ดังนั้น จป.เทคนิค ที่ได้รับมอบหมายจึงต้องได้รับการอบรม หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิค เพื่อให้ทราบบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบตามกฎหมายกำหนด และเพื่อให้ทราบแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมาย ในการอบรมจะมีการบรรยายให้ทราบรายละเอียดหัวข้อตามรายละเอียดด้านล่างนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
2. กฎหมายความปลอดภัยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
3. การประเมินอันตรายจากการทำงาน
4. การตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยจากการทำงาน และการปปรับปรุงสภาพงาน
5. การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการทำงาน
6. การฝึกปฏิบัติ
ดังนั้นทางองค์กรจึงจำเป็นต้องส่ง จป.เทคนิค เข้ารับการอบรมให้ครบถ้วนตามกฎหมายนี้ และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของกฎหมาย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ จป.เทคนิค เข้าใจบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบตามกฎหมาย
2. เพื่อให้ จป.เทคนิค มีความรู้ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
3. เพื่อให้ จป.เทคนิค เข้าใจกฎหมายความปลอดภัยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
4. เพื่อให้ จป.เทคนิค เข้าใจการประเมินอันตรายจากการทำงาน
5. เพื่อให้หัวหน้างาน เข้าใจการตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยจากการทำงาน และการปปรับปรุงสภาพงาน
6. เพื่อให้ จป.เทคนิค เข้าใจการป้องกันและควบคุมอันตรายจากการทำงาน
7. ฝึกปฏิบัติให้กับ จป.เทคนิค เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
กำหนดการอบรม
วันที่ 1
หมวดวิชาที่ 1ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค (3 ชั่วโมง)
(ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน
(ข) หลักการบริหารจัดการความปลอดภัยในการทำงาน
(ค) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
พักรับประทานอาหารกลางวัน
หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (3 ชั่วโมง)
(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานของกระทรวงแรงงาน
(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ
(ค) การตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
วันที่ 2
หมวดวิชาที่ 3การประเมินอันตรายจากการทำงาน (6 ชั่วโมง)
(ก) เทคนิคการชี้บ่งอันตราย
(ข) การประเมินความเสี่ยง
พักรับประทานอาหารกลางวัน
หมวดวิชาที่ 3
(ข) การประเมินความเสี่ยง (ต่อ)
(ค) การจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงและควบคุมอันตรายวันที่ 3
หมวดวิชาที่4การตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย จากการทำงาน และการปรับปรุงสภาพการทำงาน (6 ชั่วโมง)
(ก) การตรวจความปลอดภัย
(ข) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
(ค) การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน
พักรับประทานอาหารกลางวัน
หมวดวิชาที่4 (ต่อ)
(ง) การสอบสวน การวิเคราะห์ และการรายงานอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทำงาน
(จ) การปรับปรุงสภาพการทำงาน
(ฉ) การรวบรวมสถิติ การจัดทำรายงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน และเสนอแนะต่อนายจ้าง
วันที่ 4
หมวดวิชาที่ 5การป้องกันและการควบคุมอันตราย (3 ชั่วโมง)
(ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร
(ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า
(ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ
(ง) การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
(จ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ฉ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี
(ช) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์
(ซ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง
(ฌ) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
พักรับประทานอาหารกลางวัน
หมวดวิชาที่6การฝึกปฏิบัติ (9 ชั่วโมง)
(ก) การฝึกปฏิบัติการตรวจความปลอดภัยตามข้อกำหนดของกฎหมาย
(ข) การฝึกปฏิบัติการชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงและควบคุมอันตราย
วันที่ 5