วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นายจ้างหรือผู้บริหารงานบุคคลทราบถึงการปรับปรุงหรือแก้ไขข้อบังคับในการทำงานให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน ที่มีการ Updateใหม่ ปฏิบัติให้ถูกต้องและไม่ขัดต่อกฎหมายต้องบรรจุข้อความลงในข้อบังคับฯในแต่ละหมวดอย่างไร..
2. เพื่อให้ผู้บริหารงานบุคคล หรือหัวหน้างานปฏิบัติงานในหน้าที่ หรือบริหาร จัดการ ในการใช้อำนาจตามหน้าที่ ให้เป็นไปตาม ข้อกำหนด ที่องค์กรได้กำหนดสิทธิของนายจ้างและ/หรือของลูกจ้างไว้ในข้อบังคับในการทำงาน อย่างถูกต้อง และเป็นธรรม
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหากรณีองค์กรได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากโรคโควิด-19 ระบาดในกรณีบุคลากรในองค์กรล้นงานจะแก้ปัญหาอย่างไร...จะปรับปรุงข้อบังคับในการทำงานให้นายจ้างได้ใช้สิทธิในการลดค่าใช้จ่ายในองค์กร หรือเลิกจ้างพนักงาน ต้องบริหารจัดการอย่างไรให้สอดคล้องกับข้อบังคับในการทำงานโดยไม่ให้ผิดกฎหมายแรงงาน
หัวข้อในการอบรม
หมวดที่ : 1 บททั่วไป " คำนิยาม " ตามข้อบังคับในการทำงานของบริษัทฯเอกชนมีความหมายอย่างไร..?
หมวดที่ : 2 การสรรหา การว่าจ้าง นายจ้างต้องกำหนดให้เป็นสัญญาจ้างปลายเปิด และ/หรือเป็นสัญญาจ้างปลายปิดอย่างไร..?
หมวดที่ : 3 วันทำงาน เวลาทำงาน เวลาพัก และวันหยุด ต้องกำหนดตามกฎหมาย และนโยบายขององค์กรอย่างไร..?
หมวดที่ : 4 การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด ต้องกำหนดให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดอะไรบ้าง..?
หมวดที่ : 5 การบันทึกเวลาทำงาน และการจ่ายค่าจ้าง การกำหนดหลักฐานในการจ่ายค่าจ้างต้องบริหารอย่างไร..?
หมด ที่ : 6 วันลา และวิธีปฏิบัติในการลาหยุดงาน ต้องกำหนดให้สิทธินายจ้างใช้ดุลพินิจในการอนุมัติตามตำแหน่งงานอะไรบ้าง..?
หมวดที่ : 7 หน้าที่ และวินัยของพนักงาน นายจ้างต้องกำหนดให้พนักงานปฏิบัติตาม และ/หรือกำหนดให้มีข้อห้ามอะไรบ้าง..?
หมวดที่ : 8 ความผิดที่ถูกลงโทษทางวินัยเป็นหนังสือเตือน พักการทำงาน หรือเลิกจ้าง ต้องกำหนดให้การลงโทษแตกต่างกันอย่างไร. หมวดที่: 9 การลงโทษทางวินัยพนักงาน องค์กรควรกำหนดและให้สิทธิตำแหน่งงานใดลงโทษทางวินัยพนักงานได้บ้าง..?
หมวดที่ : 10 การร้องทุกข์ของพนักงาน นายจ้างต้องกำหนดให้เป็นไปตามขั้นตอนตามตำแหน่งงานอย่างไร..?
อ.สมบัติ น้อยหว้า