หลักการและเหตุผล
วินัยขององค์กร เปรียบเสมือนมาตรฐานของคนดีที่องค์กรปรารถนาให้สมาชิกในองค์กรปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติ เพื่อให้สังคมภายในองค์กรนั้นดำรงอยู่อย่างมีความสุข และมีความยุติธรรม เมื่อมีเหตุที่สมาชิกในองค์กรถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย หรือมีพฤติการณ์ที่อาจคาดหมายได้ว่ามีสมาชิกในองค์กรกระทำผิดวินัย โดยทั่วไปแล้วหากมีกรณีที่อาจเข้าข่ายการทำผิดวินัยร้ายแรง หรือพฤติการณ์ที่ยังไม่มีความแน่ชัดว่าการกระทำดังกล่าวนั้น ผู้ใดกระทำความผิด หรือกระทำความผิดในเรื่องใด การสอบสวนหาข้อเท็จจริง เป็นกระบวนการที่สำคัญที่จะทำให้สมาชิกในองค์กรนั้น ๆ ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม องค์กรจึงควรมีกระบวนการสอบสวนทางวินัยที่ยุติธรรม รวดเร็ว ปราศจากอคติ และสามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้อย่างเหมาะสมกับความผิดนั้น หรือไม่ให้เกิดการลงโทษผิด
เพื่อให้มั่นใจว่า องค์กรมีการปฏิบัติอย่างยุติธรรมต่อพนักงาน และมั่นใจว่า "จะไม่มีพนักงานคนใดถูกลงโทษทางวินัย โดยปราศจากการตรวจสอบหรือรับฟังพยานหลักฐานที่เหมาะสมและเป็นธรรม" จึงควรมีการกำหนดมาตรการทางวินัย ซึ่งผู้ปฏิบัติงาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคล คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยหรือตัวแทนขององค์กรควรมีความรู้และเทคนิคเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับองค์กร
เนื้อหาหลักสูตร
1. ความหมายของกระบวนการสอบสวนทางวินัย องค์กรทำไมถึงจำเป็นต้องมีกระบวนการนี้
2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสอบสวนทางวินัย และการลงโทษพนักงาน
3. การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย
4. การออกหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้องเพื่อกระบวนการสอบสวนทางวินัย
5. การแจ้งข้อกล่าวหา การกำหนดประเด็น
6. เทคนิคการสอบสวน และการบันทึกการสอบสวน
7. การพักงานระหว่างสอบสวน
8. การสรุปข้อเท็จจริงและการลงโทษทางวินัย
9. การสอบสวนทางวินัย แตกต่างกับ การสอบสวนเรื่องราวร้องทุกข์อย่างไร