วัตถุประสงค์
ภายหลังจากการเรียนรู้ครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ จะมีการพัฒนาในเรื่องต่อไปนี้
1. ความรู้ ความเข้าใจ และสามารถอธิบายพฤติกรรมการข่มเหงลูกน้องในที่ทำงาน
2. ความรู้ ความเข้าใจ ถึงปัญหาหรือข้อเสีย และสิ่งที่เป็นผลกระทบจากปัญหาการข่มเหงลูกน้องในที่ทำงาน
3. ความรู้ ความเข้าใจ และฝึกทักษะการบริหารคนเพื่อลดปัญหาการข่มเหงกันในที่งาน
4. ร่วมวิเคราะห์และกำหนดแนวทางการลดปัญหาการข่มเหงกันในที่ทำงาน และเสริมทักษะการบริหารคนให้แก่ผู้บังคับบัญชา
5. การสำรวจข้อเด่น ข้อด้วยของตนเอง เพื่อวางแผน ปรับปรุงพัฒนาตนเองได้
หัวข้อการเรียนรู้
· สำรวจปัญหาระหว่าง "นาย" กับ "ลูกน้อง" ในองค์กรของเรา
· ลักษณะและพฤติกรรมของ "นาย" ที่ลูกน้องรักใคร่และทำงานด้วยใจ
· ทำความรู้จักปัญหาการข่มเหงกันที่ทำงาน (Power Harassment)
· ลักษณะของพฤติกรรมที่แสดงถึงการข่มเหงในที่ทำงาน
และผลกระทบการข่มเหงกัน
ในที่ทำงานต่อการทำงานและองค์กร
· กฎหมายไทยกับการข่มเหงในที่ทำงาน (Power Harassment)ที่ผู้บังคับบัญชาควรรู้
· แนวทางการลดปัญหาการข่มเหงในที่ทำงาน
* ทำความเข้าใจพื้นฐานพฤติกรรมของมนุษย์ และช่องว่างระหว่างช่วง
วัย (Generation Gap)
* การควบคุมอารมณ์(Control your Emotion)
*การสะท้อนผลกพฤติกรรมลูกน้องทางบวกด้วยAID Model)
* การสื่อสารกับลูกน้องในสถานการณ์ที่มีความเครียด หรือในสถานการณ์ที่ยากลำบาก
* บุคลิกภาพ การใช้น้ำเสียงและสายตาในการพูดคุยกับลูกน้อง
· สำรวจทักษะการบังคับบัญชา และวางแผนการพัฒนาทักษะของตนเอง
· สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ และถาม-ตอบ
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
พนักงานระดับผู้บังคับบัญชาที่เป็นหัวหน้างาน หรือผู้จัดการจากทุกสายงาน
วิทยากร
ดร.ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต
วิทยากรและที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคล และบุคลากร
พี่เลี้ยงด้านการพัฒนาบุคลากรให้กับองค์กรในธุรกิจบริการและโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง