หลักสูตร จิตวิทยาการบริหารและการจูงใจทีมงาน

19 กรกฎาคม 2561

Psychology for Management & Motivating Techniques

จิตวิทยาการบริหารและการจูงใจทีมงาน : วันที่ 19 ก.ค.61

            คุณเชื่อไหม ? การบริหารคนนั้นอยากยิ่งกว่าบริหารงาน องค์กรใดมีบุคลากรที่มีทัศนคติเชิงบวกต่อการทำงาน จะสามารถนำพาความสำเร็จมาให้แก่องค์กรได้ง่าย ดังนั้นจิตวิทยาการบริหารและการสร้างแรงจูงใจทีมงานสำหรับผู้บริหารทุกระดับ ผู้จัดการ หัวหน้างาน ผู้บังคับบัญชาระดับต้นถึงระดับสูง หรือผู้ที่สนใจ เรียนรู้ศาสตร์ด้านจิตวิทยาการบริหารที่หัวหน้างานยุคใหม่ต้องมี เพื่อบริหารคนทั้งผู้ร่วมงานและทีมงาน ซึ่งมีลักษณะของอุปนิสัยที่แตกต่างกันไปให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำงานเป็นทีม รวมถึงแนวคิดด้านการสร้างแรงจูงใจตั้งแต่การวิเคราะห์ทีมงาน ตลอดจนการใช้เครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจเพื่อมัดใจทีมงาน มีความสุขในการทำงานอย่างแท้จริง


Key Contents  

1. แนวคิดจิตวิทยากับการบริหารงานยุคใหม่

          ท่านจะได้เรียนรู้ถึงศิลปะเชิงจิตวิทยาการบริหารงาน องค์ประกอบ แนวคิดจิตวิทยาและกระบวนการเกิดแรงจูงใจ (Input Process Output) ที่ทำให้หัวหน้างานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

2. หลักจิตวิทยาในการบริหารทีมงาน

          ท่านจะได้เรียนรู้การปรับเปลี่ยนเจตคติ (Cognitive Component) เชิงบวกต่อองค์การ ตนเอง ผู้อื่น งานที่ทำ รวมถึงวิธีการจัดการอารมณ์ตนเอง และเข้าใจอารมณ์ผู้อื่นหรือทีมงานให้เกิดความสุขในการ

                    • ทำงานร่วมกันมากยิ่งขึ้น

                    • การปรับเปลี่ยนเจตคติและการสร้างความคิดเชิงบวก

                    • เจตคติที่ดีต่อองค์การ

                    • เจตคติต่อตนเองและผู้อื่น 

                    • เจตคติต่องานที่ทำ 

                    • การจัดการอารมณ์ตนเอง และเข้าใจอารมณ์ผู้อื่นหรือทีมงาน

3.การค้นหาตนเอง เพื่อปรับปรุงอุปนิสัยที่ดีในการทำงาน

          ท่านจะได้เรียนรู้ทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการของมาส์โลว์ (Maslow's hierarchy of needs Theory) เพื่อค้นหาความต้องการของตนเองและผู้อื่นอย่างเป็นลำดับขั้น

                    • ความต้องการประจักษ์ตน

                    • ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น

                    • ความต้องการความรักความเป็นเจ้าของ

                    • ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย

                    • ความต้องการด้านร่างกาย

4.การวิเคราะห์ทีมงานเชิงจิตวิทยาเพื่อเพิ่มความไว้ใจแบบ Teamwork

          ท่านจะทราบถึงหลักการวิเคราะห์ทีมงานเชิงจิตวิทยาการบริหาร และเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์เมื่อต้องอยู่ร่วมกันในองค์กร ทำอย่างไรให้มัดใจทีมงาน ทำอย่างไรให้ไว้ใจเรา

5.เทคนิคการสร้างแรงจูงใจในการทำงานแก่ทีมงาน

          ท่านจะได้เข้าใจถึง 3 เทคนิคในการสร้างแรงจูงใจ รวมถึงประเภทของแรงจูงใจในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ ที่มีความสัมพันธ์กันอันก่อให้เกิดผลการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

                    • 3 เทคนิคในการสร้างแรงจูงใจ

                                        การปรับเปลี่ยนความคิด

                                        การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

                                        การปรับเปลี่ยนความรู้สึก

                    • ประเภทของแรงจูงใจในการทำงาน (แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์)

6 .ครื่องมือของหัวหน้างานยุคใหม่ในการสร้างแรงจูงใจแก่ทีมงาน

          ท่านจะสามารถนำเครื่องมือเชิงจิตวิทยาไม่ว่าจะเป็น 5 P. for Best Attitude , Hypothesis of Theory และ A-B-C Theory ไปประยุกต์ใช้สร้างแรงจูงใจแก่ทีมงาน รวมถึงองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

                    • 5 P. for Best Attitude

                    • Hypothesis of Theory

                    • A-B-C Theory


Key Benefits  

1. ทราบถึงแนวคิด หลักจิตวิทยาในการบริหารทีมงานยุคใหม่

2. สามารถค้นหาตนเอง และวิเคราะห์ทีมงานในเชิงจิตวิทยา เพื่อนำมาพัฒนาทีมงานทุกมิติให้เกิดประสิทธิภาพ

3. เข้าใจถึงเทคนิคการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้แก่ทีมงาน

4.สามารถนำเครื่องมือต่างๆ มาสร้างแรงจูงใจให้ทีมงาน และนำไปปรับใช้กับองค์กรได้อย่างเหมาะสม



คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม

บุคคลทั่วไปและผู้ที่สนใจ

วิทยากร

ผศ.ดร.ปรัชญา ปิยะมโนธรรม

ผู้อำนวยการสำนักพิมพ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง 

วิทยากรที่ปรึกษา ศูนย์พัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ



สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรม สวิสโซเทล เลอคองคอร์ด (รัชดาภิเษก)

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

19 กรกฎาคม 2561 09:00 น. - 16:00 น.

จัดโดย

ศูนย์พัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ (Strategic)
เบอร์ติดต่อ : 02-5592146-7, 085-4858826

ค่าธรรมเนียม (FEE)

6,800 บาท (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 3699 ครั้ง