หลักสูตร จิตวิทยาการบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management)
อาจารย์สุกิจ ตรียุทธวัฒนา
ที่มาของหลักสูตร
ความขัดแย้ง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกๆที่ ทุกสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลด้วยกันเองหรือเกิดจากมูลเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่สามารถขยายวงกว้างไปอย่างรวดเร็วและสามารถก่อความรุนแรงของเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้หรือเรียกได้ว่าสถานการณ์ของความรุนแรงจากระดับง่ายไปสู่สถานการณ์ที่เป็นระดับที่ยากขึ้น จนกลายเป็นปัญหารุนแรงที่เป็นความยากลำบากในการบริหารจัดการให้ความขัดแย้งเบาบางลงหรือดีขึ้นมาได้ ความขัดแย้งเกิดขึ้นในทุกระดับของพนักงานที่อยู่ในองค์การ จึงมีความสำคัญ และความจำเป็นที่พนักงานทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารก็ตามจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในเรื่องของจิตวิทยาการบริหารความขัดแย้ง ถ้าสามารถบริหารจัดการได้ก็จะทำให้เหตุการณ์หรือสถานการณ์บรรเทาและกลับคืนสภาพดีเหมือนเดิม หรืออาจจะถึงขั้นปรับเปลี่ยนสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสความสำเร็จได้ดีกว่าเดิมอีก มีความสัมพันธ์ การประสานงาน และการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระยะเวลาการฝึกอบรม : 1 วัน (09.00-16.00 น.)
หัวข้อบรรยาย
09.00 - 12.00 น.
1) อะไรคือที่มาทำให้เกิดความขัดแย้ง
2) ทำความเข้าใจกับความขัดแย้ง
3) ประโยชน์ของความขัดแย้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแนวคิด
4) การวิเคราะห์และประเมินความขัดแย้งให้ถูกต้องและชัดเจน
5) สมมติฐานเบื้องต้นในการจัดการความขัดแย้งโดยภาพรวม
6) การจัดการอารมณ์และความโกรธที่มีต่อผู้อื่น
7) หลักการทั่วไปในการแก้ไขความขัดแย้ง
8) Workshop : วิเคราะห์การแก้ไขความขัดแย้ง
13.00 - 16.30 น.
9) การเอาชนะความขัดแย้งด้วยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
10) วิธีการลดหรือแก้ไขความขัดแย้ง - รูปแบบและกลยุทธ์
11) การจัดการความขัดแย้งระหว่างคุณกับคนอื่น
12) การจัดการความขัดแย้งของคนอื่น
13) การจัดการความขัดแย้งในทีมงาน
14) การบริหารความขัดแย้งแบบ Conflict Management
15) วิเคราะห์สถานการณ์จริงกับ Conflict Management
16) Workshop : Conflict Management - Case
วิธีการและรูปแบบการฝึกอบรม
- การบรรยาย
- กรณีศึกษา(Case Study)
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และฝึกปฏิบัติร่วมกัน (Workshop)
- สรุป และ ถาม - ตอบคำถาม
ผู้เข้าฝึกอบรม
เหมาะสำหรับผู้บริหาร ที่ปรึกษา พนักงานทุกระดับในองค์การ หรือ บุคคลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำไปพัฒนา และฝึกอบรมและบุคคลทั่วไปที่สนใจในด้านการบริหารความขัดแย้ง
อาจารย์สุกิจ ตรียุทธวัฒนา