หลักการและเหตุผล
การวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ (FMEA)เป็นข้อกำหนดหลักในขณะนี้ที่ผู้ผลิตและส่งมอบ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีการบริหารคุณภาพในองค์กรภายใต้ระบบบริหารคุณภาพISO/TS 16949ใช้ในการบริหารและวางแผนระบบการผลิตของผู้ส่งมอบ โดยใช้กลวิธีเชิงวิเคราะห์ในขณะการออกแบบผลิตภัณฑ์DFMEA (องค์กรที่มีหน้าที่ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์) และ/หรือ ในขณะการออกแบบกระบวนการPFMEA (ทุกองค์กรที่มีการผลิตและบริการ) โดยผู้เกี่ยวข้อง (คณะทำงานที่ประกอบด้วยตัวแทนจากหลายแผนก) ร่วมกันประชุมในการนำกลวิธีวิเคราะห์ไปใช้เป็นแนวทางเพื่อประกันแต่เนิ่นๆ ต่อขอบเขตที่อาจเป็นไปได้ว่าข้อขัดข้องด้านศักยภาพและกลไก/สาเหตุที่ก่อตัวขึ้นในการสร้างปัญหา จะได้รับการพิจารณาและกำหนดมาตรการดำเนินการ
เพื่อให้คุณภาพของชิ้นส่วนที่ได้รับมอบมีคุณภาพและ มีความปลอดภัยต่อพนักงานประกอบของลูกค้าและผู้ใช้ (ผู้ขับขี่ยานยนต์) และสอดรับกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า
วัตถุประสงค์
§ หลักการวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ (FMEA) และนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างถูกต้อง
§ ความแตกต่างระหว่างDFMEAและPFMEA
§ เข้าใจหลักการคำนวณผลระดับคะแนนความเสี่ยง (Risk Priority Number)
§ เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของ คณะทำงาน (Crosse Function Team )การวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ (FMEA)และใครบ้างที่ควรร่วมเป็นคณะทำงาน
หัวข้อเรียนรู้ : หลักสูตร1วัน เริ่มตั้งแต่เวลา09.00-16.00 น. (6ชม.)
§ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับFMEA
§ วัตถุประสงค์ของFMEA
§ ความหมายหมายของFMEA
§ ประเภทของFMEA
§ การประยุกต์ใช้FMEA
§ คำศัพท์/นิยาม/หลักการของFMEA
§ ภาพรวมการวิเคราะห์แนวโน้มลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบของกระบวนการ
§ แนวคิดและเทคนิคของDesign FMEAและวิธีการนำไปใช้กับขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์
§ รวมถึงตัวอย่างคำแนะนำในการนำDesign FMEAไปใช้ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการ
§ แนวคิดและเทคนิคของProcess FMEAและวิธีการนำไปใช้กับขันตอนการออกแบบกระบวนการ
§ ผลิตภัณฑ์รวมถึงตัวอย่างคำแนะนำในการนำProcess FMEAไปใช้ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการ
§ เกณฑ์การประเมินและให้คะแนนของค่าความรุนแรง, โอกาสเกิดและการตรวจจับตามคู่มือFMEAฉบับใหม่
§ แนวทางในการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ
อาจารย์บรรพต เทพฤทธิ์