“การวางแผนการผลิตและควบคุมกำลังการผลิตสำหรับงานอุตสาหกรรม”
(Capacity and Production Planning for Industry)
12 กุมภาพันธ์ 2568
09.00– 16.00 น.
** Online/Onsite
หลักการและเหตุผล
การวางแผนกำลังการผลิต (Capacity Planning) เป็นกระบวนการในการจัดหาทรัพยากรการผลิตที่จำเป็นต่อการทำให้บรรลุตามแผนการผลิต (Priority Plan) ที่ได้วางไว้สำหรับช่วงระยะเวลาหนึ่งในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงวิธีการที่สามารถทำให้กำลังการผลิตมีอยู่พร้อม ซึ่งขึ้นอยู่กับเครื่องจักรและ/หรือกำลังคน โดยอาจพิจารณาถึงกำลังการผลิตในช่วงเวลาปกติ ล่วงเวลา จำนวนกะการทำงานรวมทั้งจากหน่วยผลิตอื่น ๆ ในโรงงาน และจากแหล่งภายนอก (Outsources) แผนการผลิตจะไม่สามารถนำไปดำเนินการได้ หากปราศจากกำลังการผลิตที่เพียงพอ
การวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planning and Control) เป็นหลักการในการกำหนดคุณค่าของการดำเนินงานผลิตและกำจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตออกไปได้อย่างเหมาะสม ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง และทำให้เวลาการผลิตสั้นลงหรือเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นโดยใช้เวลาเท่าเดิมหรือลดลง รวมถึงสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด การวางแผนการผลิตที่ดีจะทำให้สามารถติดตามงานการผลิตและควบคุมการผลิตให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาการผลิตและส่งมอบที่ไม่ทันหรือไม่ครบถ้วนได้ ที่สำคัญแผนการผลิตที่ดีจะทำให้เราทราบถึงปัญหาก่อนที่มันจะเกิดและถูกป้องกันมิให้ปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้นมาอีกได้อีก
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสามารถผลิตสินค้าได้ทันเวลาและส่งมอบให้กับลูกค้าได้อย่างครบถ้วน และเพื่อสามารถจัดระเบียบการไหลของงานในระบบผลิต และติดตามการทำงานนั้นว่าเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ เพื่อที่จะได้สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา หรือเป็นการเตรียมและจัดการทรัพยากรและความต้องการ ตลอดจนทางเลือกต่าง ๆให้เกิดความพร้อมสำหรับการผลิต
2. เพื่อให้บรรลุตามแผนการที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีความสามารถในการปฏิบัติการผลิตได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ในทุกขั้นตอนรายละเอียดอย่างครบถ้วน
3. เพื่อสามารถผลิตสินค้าได้ตามแผนที่ต้องการด้วยต้นทุนที่ต่ำอย่างเหมาะสม รวมถึงรู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการกำลังการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
หัวข้อการบรรยายและWorkshop
1. การวางแผนกำลังการผลิต (capacity planning)
1.1 ความหมายของกำลังการผลิต (Capacity)
1.2 การบริหารกำลังการผลิต (Capacity Management)
1.3 การวางแผนกำลังการผลิต (Capacity Planning)
1.4 การควบคุมกำลังการผลิต (Capacity Control)
1.5 กำลังการผลิตที่นำไปใช้ได้ (Capacity Available)
1.6 ความต้องการกำลังการผลิตหรือภาระงาน (Capacity Required or Load)
1.7 เวลาที่ใช้ทำงาน (Available Time)
1.8 การวัดกำลังการผลิต (Measuring Capacity)
1.9 กระบวนการในการวางแผนกำลังการผลิต (The Process of Capacity Planning)
1.10 ประสิทธิภาพของการวางแผนกำลังการผลิต
2. Material Requirement Planning (MRP)
2.1 การจัดทำตารางและแผนการผลิตหลัก (Master Planning Schedule: MPS)
2.2 สูตรการผลิต (Bill of Material: BOM) และ MRP (Material Requirement Planning)
2.3 การคำนวณแผนความต้องการวัตถุดิบ MRP (Material Requirement Planning)
3. ความหมายของการวางแผนและควบคุมการผลิต และคำจำกัดความที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและ
ควบคุมการผลิต
3.1 ความสำคัญของการผลิตและกระบวนการควบคุมการผลิต
3.2 หลักพื้นฐานและความสำคัญของระบบการผลิต
3.3 องค์ประกอบที่สำคัญของการวางแผนการผลิต
3.4 ขั้นตอนหลักของการวางแผนการผลิต
3.5 ขั้นตอนและรายละเอียดของการวางแผนการผลิต
3.6 ข้อกำหนดของการวางแผนและควบคุมการผลิต
3.7 การกำหนดเป้าหมายการบริหารจัดการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
4. การควบคุมการผลิต (Production Control)
4.1 องค์ประกอบของการควบคุมการผลิต
4.2 วัตถุประสงค์ของการควบคุมการผลิต
4.3 หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการผลิต (Functions involved in Production Control)
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
ผู้จัดการโรงงาน/ ผู้บริหารระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร ฝายวางแผนการผลิต ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้า วิศวกร