สัมมนาออนไลน์ : นวัตกรรมและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Innovation & Continues improvement)

7 เมษายน 2563

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เป็นการแข่งขันในการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยใช้การสร้างหลักแนวคิดของบุคคลากร เพื่อให้สามารถเกิดการพัฒนาการทำงานที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานในการทำงาน การดึงศักยภาพที่สำคัญอีกด้านหนึ่งสำหรับบุคคลากรที่จะช่วยทำให้การทำงานในองค์กรประสบความสำเร็จมากขึ้น คือ ความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรมใหม่ๆในการทำงานและการปรับปรุงงาน ที่เกิดจากการนำเอาประสบการณ์ในการทำงานที่อยู่ในตัวเองมาคิดต่อยอด คิดนอกกรอบ และทำให้เป็นไปได้ ความสามารถด้านนี้ มีประโยชน์และคุณค่าให้เกิดขึ้นกับบุคคลากรทุกคน เพื่อสร้างผลงานที่น่าประทับใจให้เกิดขึ้นในองค์กร

 

ดังนั้น หลักสูตรนี้ จึงมุ่งออกแบบสร้างสรรค์เนื้อหาดี ๆ ที่ช่วยเสริมอาวุธและให้แนวทางดี ๆ ในการดึงศักยภาพของสมอง ในด้านความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรมในตัวคนทำงาน เพื่อช่วยทำให้เกิดสีสันและพลังของการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น และแน่นอนว่าเป็นทักษะที่เราต้องให้ความสำคัญในปัจจุบัน 

หากบริษัทใดให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปรับปรุงงานอย่างเป็นระบบให้รู้จักกับการคิดวิเคราะห์แก่พนักงานแล้วนั้น ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เช่นลดต้นทุนการทำงาน ลดปัญหาความเสียหาย ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไข การรอคอยงาน การขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และยังสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น จากการต่อยอดประสบการณ์ทำงานในปัจจุบันของบุคลากรภายในได้อีกด้วย

หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการใช้ทักษะการประยุกต์และปรับปรุงงานด้วย "นวัตกรรมและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง" ได้อย่างเป็นระบบและเห็นผลได้อย่างแน่นอน เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหากับพนักงานในระดับปฏิบัติการและฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ในการแก้ไขปัญหาประจำวันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 

 วัตถุประสงค์

   -เพื่อสร้างแนวคิดในการเลือกใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

   -เพื่อเสริมสร้างแนวคิดใหม่ๆ ด้านนวัตกรรมในการทำงาน

   -เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง

   -เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้หลักการCreative thinkingได้อย่างถูกต้อง

   -เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม

   -เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี

   -เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

 

หัวข้อการอบรม

1.ระบบการผลิตและงานบริการ 

2.ต้นทุน กำไร และความอยู่รอดขององค์กรในปัจจุบัน 

3.การดำเนินธุรกิจและกลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร 

4.กระบวนการในการคิดลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้งานประสบความสำเร็จ 

5.ความสำคัญของการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน 

6.ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรมในการทำงาน 

7.องค์ประกอบที่ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรมในการทำงาน 

8.ขั้นตอนการเกิดความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรมในการทำงาน 5ขั้น 

9.เทคนิคสำคัญที่ทำให้เกิดการปรับปรุงงานด้วย ECRS 

10.การประยุกต์ความคิดด้านนวัตกรรมและการปรับปรุงงานไปใช้ในงานและพัฒนาองค์กร 

-การคิดแก้ปัญหางานอย่างสร้างสรรค์ 

-การคิดสร้างสรรค์เพื่อการปรับปรุงงาน 

11.หลัก5ข้อ ในการแก้ไขปัญหาในการทำงานอย่างสร้างสรรค์ 

12.แนวคิดของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA 

Workshop1: Creative Team Work for improvement 

Workshop2: 1คน1ไอเดีย1นวัตกรรม 

Workshop3:พลังงานแห่งการประยุกต์ใช้การคิดอย่างสร้างสรรค์ ในการปรับปรุงงาน 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                1.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการวิเคราะห์ปัญหาอย่างถูกต้อง 

                2.ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการของInovation Thinkingไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

                3.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น 

                4.ผู้เข้าอบรมมีแนวคิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ 

                5.ผู้เข้าอบรมมีสำนึกการรักองค์กรมากขึ้น 

ระยะเวลาอบรม13.00-16.00 น. (3ชั่วโมง)

 

อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130

www.knctrainingcenter.com

[email protected]
โทร. :02-191-2509,062-315-5283

วิทยากร

อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์



สถานที่อบรม (VENUE)

Online

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

7 เมษายน 2563 13.00-16.00 น.

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 02-191-2509, 062-315-5283

ค่าธรรมเนียม (FEE)

1500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 475 ครั้ง