สัมมนา Online : เคล็ดลับการเป็น DCC มือโปรตามระบบ ISO 9001:2015

29 มกราคม 2564

ISO 9001:2015เป็นระบบการบริหารคุณภาพตามมาตรฐานสากล ที่มุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า จากความมุ่งมั่นของผู้นำองค์กร ผ่านการควบคุมกระบวนการ การตรวจประเมินโดยต้องบันทึกเป็นเอกสารสารสนเทศเพื่อเป็นหลักฐานสำคัญ ข้อกำหนดของระบบการบริหารคุณภาพISO 9001:2015ได้กำหนดไว้ในข้อ 7.5.3เกี่ยวกับการควบคุมเอกสารสารสนเทศ เพื่อให้มั่นใจว่ามีเอกสารพร้อมและเหมาะกับการดำเนินการ การแจกจ่าย การเข้าถึง การค้นหา การจัดเก็บ การควบคุมการเปลี่ยนแปลง และการทำลาย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่ต้องมีผู้ทำหน้าที่และรับผิดชอบในการควบคุมเอกสารสารสนเทศให้เกิดประสิทธิภาพ

เจ้าหน้าที่ควบคุมเอกสาร (DCC)เป็นบุคลากรที่มีความสำคัญในการจัดการควบคุมระบบเอกสารสารสนเทศในองค์กรให้เป็นไปอย่างมีระบบ มีการกำหนดรหัสเอกสาร การออกเอกสารใหม่ การเปลี่ยนแปลง และยกเลิกเอกสาร การทำให้เอกสารมีความทันสมัยเป็นฉบับปัจจุบัน ไม่มีการนำเอกสารฉบับเก่ามาใช้ การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ครอบครองเอกสารแต่ละประเภท การจัดทำตารางการควบคุมเอกสาร การขออนุมัติทำลายเอกสารคุณภาพ

นอกจากนี้DCCยังทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยQMRในการขับเคลื่อนระบบการบริหารคุณภาพให้ประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี DCCที่เก่งต้องมีทั้งความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนด การควบคุมเอกสารสารสนเทศ และสามารถประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ให้เกิดความร่วมมือเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ผ่านการสื่อสารและการติดตามอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการประชาสัมพันธ์นโยบายคุณภาพ การติดตามผลวัตถุประสงค์และเป้าหมาย การตรวจติดตามภายใน การเตรียมข้อมูลสำหรับการประชุมทบทวนของฝ่ายบริหาร และการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการตรวจสอบจากภายนอก

 

วัตถุประสงค์ 

1.เพื่อให้เกิดความเข้าใจข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมเอกสารสารสนเทศ ความสำคัญและบทบาทหน้าที่ของDCC ในการดูแลควบคุมเอกสารให้มีความพร้อมและเหมาะสมกับการใช้เป็นหลักฐานในกระบวนการต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 

2.เพื่อให้DCCสามารถควบคุมเอกสารสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นผู้ช่วยQMRในการขับเคลื่อนระบบให้บรรลุผลตามข้อกำหนดของระบบการบริหารคุณภาพISO 9001:2015ด้วยการสื่อสารและประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งการตรวจติดตามภายใน การประชุมทบทวนของฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ 

3.เพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่อง และเกิดความร่วมมือประสานงานของทุกส่วนในองค์กร เพื่อให้บรรลุผลตามข้อกำหนดของระบบการบริหารคุณภาพISO 9001:2015

 

เนื้อหาหลักสูตร

บทที่1:หลักการบริหารงานคุณภาพของระบบISO 9001:2015 

· TimelineของระบบบริหารงานคุณภาพISO 9001:2015 

·หลักพื้นฐานของระบบบริหารงานคุณภาพ Quality Management Principle 

·วงจรPDCAกับระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015 

บทที่2:ข้อกำหนดของระบบISO 9001:2015  

·บริบทขององค์กรContext of the Organization 

·ความเป็นผู้นำLeadership 

·การวางแผนPlanning 

·การสนับสนุนSupport 

·การปฏิบัติการOperation 

·การประเมินสมรรถนะPerformance Evaluation 

·การปรับปรุงImprovement 

บทที่3:บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ควบคุมเอกสาร (DCC) 

·บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ควบคุมเอกสาร (DCC) 

·คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ควบคุมเอกสาร (DCC)มีอะไรบ้าง 

บทที่4:ระบบเอกสารสารสนเทศตามข้อกำหนดISO 9001:2015 

·ประเภทของเอกสารในระบบการบริหารคุณภาพ Kinds of Documentation 

·การจัดทำคู่มือคุณภาพ Quality Manual 

·เทคนิคการเขียนProcedure, Work Instruction 

·เทคนิคการกำหนดและการควบคุมแบบฟอร์ม Form 

·เทคนิคการกำหนดและควบคุมเอกสารสนับสนุน Support Documents 

บทที่5:เทคนิคการควบคุมเอกสารสารสนเทศ  

·เทคนิคการกำหนดรหัสเอกสารสารสนเทศแต่ละประเภท 

·เทคนิคการจัดทำบัญชีรายชื่อเอกสารสารสนเทศแต่ละประเภท 

·เทคนิคการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ครอบครองเอกสารสารสนเทศ 

·เทคนิคการออกเอกสารใหม่ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร 

·เทคนิคการขอยกเลิกเอกสาร การขออนุมัติทำลายและการทำลายเอกสาร 

·เทคนิคการจัดทำตารางการควบคุมเอกสารสารสนเทศ 

·เทคนิคการควบคุมเอกสารสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน 

บทที่6:การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ตามระบบISO 9001:2015 

·อะไรที่DCCจะต้องทำการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ตามระบบ ISO 9001:2015 

·ประเภทของการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 

·เทคนิคการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้บรรลุผลสำเร็จ 

บทที่7:การประสานงานและติดตามผลตามระบบISO 9001:2015 

·สิ่งที่DCCจะต้องประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ตามระบบISO 9001:2015 

·เทคนิคในการประสานงานกับหน่วยงานอื่นให้ประสบผลสำเร็จ 

·สิ่งที่DCCจะต้องทำการติดตามผลและสรุปรายงานตามระบบ ISO 9001:2015 

บทที่8:เทคนิคในการจัดทำ การติดตามผลและรายงานวัตถุประสงค์และเป้าหมาย 

·เทคนิคในการจัดทำวัตถุประสงค์และเป้าหมาย Objective & Target 

·เทคนิคในการติดตามและรายงานผลวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแต่ละหน่วยงาน 

บทที่9:เทคนิคในการตรวจติดตามภายในInternal Audit 

·เทคนิคในการจัดทำแผนการตรวจติดตามภายใน Internal Audit Plan 

·เทคนิคในการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ตรวจติดตามภายใน Lists of Internal Auditor 

·เทคนิคในการจัดทำAudit Check Lists 

·แบบฟอร์ม และตัวอย่างAudit Check Listsที่มีประสิทธิภาพ 

·เทคนิคในการสรุปผลการตรวจติดตามภายในและการออกเอกสาร CAR/PAR 

·เทคนิคในการปิดCAR/PARที่ถูกต้องตามระบบISO 9001:2015 

บทที่10:การประชุมทบทวนของฝ่ายบริหารManagement Review 

·ประเภทของข้อมูลที่ต้องนำเข้าในการทบทวนของฝ่ายบริหาร 

·เทคนิคในการจัดทำข้อมูลแต่ละประเภท 

·เทคนิคในการนำเสนอ และการรายงานต่อฝ่ายบริหาร 

·ประเภทของสิ่งที่ได้รับจากการทบทวนของฝ่ายบริหาร 

·เทคนิคในการบันทึกรายงานการประชุมทบทวนของฝ่ายบริหาร 

บทที่11:การเตรียมตัวรองรับการตรวจสอบจากภายนอก 

·สิ่งที่จะต้องเตรียมตัวก่อนการตรวจสอบจากภายนอก 

·การรับรองขณะทำการตรวจสอบจากภายนอก 

·การสรุปผลการตรวจสอบจากภายนอก 

บทที่12:การขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน 

·ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนองค์กร 

·การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยระบบการบริหารคุณภาพในยุคดิจิตอล 

·ก้าวต่อไปสู่ISO 9001 versionใหม่ 

ระยะเวลาการฝึกอบรม (Time)หลักสูตรONLINE 3ชั่วโมง เวลา13.00 16.00น. 

รูปแบบการอบรม (Methodology)

1. Zoom Online Meetingบรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา สนทนาและตอบข้อซักถาม 

2.เอกสารประกอบการบรรยายจะจัดส่งเป็นไฟล์ PDFให้ก่อนวันอบรม2-3วัน

 

อาจารย์กุหลาบ  เจียมจิตรพานิช

 

กำหนดการ    วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2564
สถานที่          Zoom Online Meeting
ราคา            1,500  บาท (ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม นิติบุคคลสามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%)


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130

www.knctrainingcenter.com

[email protected]
โทร. :02-157-9083,062-315-5283

วิทยากร

อาจารย์กุหลาบ เจียมจิตรพานิช



สถานที่อบรม (VENUE)

Online

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

29 มกราคม 2564 13.00-16.00 น.

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 02-157-9083, 062-315-5283

ค่าธรรมเนียม (FEE)

1500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 1594 ครั้ง