ปัจจุบันการประกอบธุรกิจการส่งออก
และนำเข้ามีการแข่งขันกันอย่างมาก ทั้งในด้านเทคโนโลยี่การผลิต และสารสนเทศ
ปัจจัยการลดต้นทุนการผลิต
รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาธุรกิจการส่งออก-นำเข้า
เพื่อให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการต่างประเทศได้เป็นอย่างดี
เงื่อนไขการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ
ในแต่ละประเทศมีกฎเกณฑ์การส่งมอบที่มีการเรียกคล้ายคลึงกันแต่ความหมายของแต่ละเงื่อนไขมีความแตกต่างกัน
ดังนั้นเพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง และมีความเข้าใจไม่ตรงกัน สภาหอการค้านานาชาติ (International
Chamber of Commerce-ICC)จึงได้ออกกฎเกณฑ์การส่งมอบสินค้าที่เรียกว่า
Incotermsเพื่อเป็นมาตรฐานให้ผู้ประกอบการส่งออก
และนำเข้าได้เข้าใจถึงภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ได้มีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ทุก
10ปี และตั้งแต่ปี คศ.2020สภาหอการค้านานาชาติ (ICC)ได้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข
และกฎเกณฑ์การส่งมอบสินค้าใหม่ โดยมีการกำหนดเรื่องการส่งมอบใบตราส่งสินค้าทางเรือ
และเอกสารการประกันภัยให้กับคู่ค้า
รวมทั้งภาระความรับผิดชอบในการส่งมอบสินค้าของผู้ขาย และการรับสินค้าของผู้ซื้อให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อลดข้อโต้แย้ง
และความไม่เข้าใจจากกฎเกณฑ์การส่งมอบสินค้าในปีเก่า ๆ ที่ผ่านมา
ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจส่งออก
และนำเข้า รวมทั้งผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำข้อตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
จึงมีจำเป็นต้องมีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าฉบับปรับปรุงใหม่ดังกล่าว
เพื่อให้สามารถรู้ภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบของตนในการกำหนดราคาซื้อ/ขาย
สินค้าได้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล และช่วยไม่ให้เกิดความเสียเปรียบในทางคดี
หากเกิดการฟ้องร้องขึ้นในอนาคต
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เพื่อเป็นพื้นฐาน
และแนวทางในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจความหมาย
ความเป็นมาและความสำคัญของข้อตกลงการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ (Incoterms
® 2020)ตามมาตรฐานสากลที่กำหนดโดยสภาหอการค้านานาชาติ
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เกิดความรู้
ความเข้าใจถึงชนิดของเอกสารที่ต้องส่งมอบให้คู่สัญญาตามข้อกำหนดในIncoterms
®2020
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจถึงวิธีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
รวมทั้งบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้รับการขนส่ง (Carrier)ผู้ขาย และผู้ซื้อ
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจหลักการสำคัญของ
Incoterms ® 2020ที่ใช้ในปัจจุบัน
รวมถึงประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้Incoterms 2020ของแต่ละข้อตกลงดังกล่าว
- เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพ
และการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์การส่งมอบสินค้าที่เป็นมาตรฐานสากล
ให้เพิ่มมากขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรในภายภาคหน้า
หัวข้อการบรรยาย
- สาระสำคัญของกฎเกณฑ์ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ
- (International
Commercial Terms - Incoterms ® 2020)
- หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ซื้อ
และผู้ขายในการส่งมอบสินค้า
- การโอนความเสี่ยง
และความรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่จุดรับมอบสินค้าในแต่ละเงื่อนไขของIncoterms
®2020
- ความสำคัญของจุดส่งมอบสินค้าของผู้ขาย
- สาระสำคัญ
และการเปลี่ยนแปลงเทอมการส่งมอบสินค้า (Trade Terms)ตามกฎเกณฑ์ของIncoterms ® 2020
- เอกสารการค้าระหว่างประเทศ (Shipping
Documents) ที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของIncoterms®2020
- เทคนิคการเลือกใช้Incoterms ®2020ให้เหมาะสมกับการเจรจาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
- ประเด็นกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของ
Incoterms
- ข้อควรระวังข้อบังคับในแต่ละเทอมนั้นขัดต่อกฏระเบียบของศุลกากรหรือไม่อย่างไร
- ภาระหน้าที่ ของผู้ซื้อและผู้ขาย ทั้ง11เทอมที่ต้องรับผิดชอบ
- ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่สำคัญสุด
ในแต่ละข้อตกลงจนครบทั้ง11เทอม
- Critical
Pointsและการเจรจาต่อรองเพื่อลดค่าใช้จ่าย
และลดความเสี่ยง
- กฏระเบียบและภาระพิธีการศุลกากร
เกียวข้องกับINCOTERMS
- ภาระความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ
มูลค่าเอาประกัน ในเทอมCIFและCIP
- การใช้INCOTERMS Rulesในเอกสารทางการค้าระหว่างประเทศ
- ตัวอย่างกรณีศึกษา/คำพิพากษาที่เกี่ยวกับINCOTERMS
- ถาม - ตอบ
·
ลงทะเบียนOnline คลิ๊ก !!
·
บริษัท เทสส์ เทรนนิ่ง จำกัด
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร ผู้ประกอบการธุรกิจส่งออก และนำเข้า ผู้ประกอบการตัวแทนออกของ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี และบุคคลทั่วไปที่มีแนวคิดที่จะประกอบธุรกิจการนำเข้า- ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ และตัวแทนออกของ
สถานที่อบรม (VENUE)
อบรมออนไลน์
วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)
26 กรกฎาคม 2566 09.00-16.00
จัดโดย
ฝึกอบรม บริษัท เทสส์ เทรนนิ่ง จำกัด
เบอร์ติดต่อ : TEL : 02-577-5369, 098-8209929
ค่าธรรมเนียม (FEE)
2500
(ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
ผู้เข้าชม: 225 ครั้ง