การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ
แนวทางการบริหารความเสี่ยงจึงได้รับการยอมรับและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะส่งผล
ต่อการเป็นองค์กรที่มีระบบการกำกับดูแลที่ดี ซึ่งจะส่งผลต่อการก้าวไปสู่องค์กรที่มีความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานการบริหารความเสี่ยง
บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหาร
และบุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงตามหลักการบริหารตามมาตรฐานสากล
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงกลยุทธ์
กลวิธี และระบบการจัดการความเสี่ยง
- เพื่อให้ผู้เข้าการอบรมได้ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้แนวทางการนำการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรไปปรับใช้ในองค์กรของตน
อย่างเหมาะสมเทคนิคในการขยายฐานลูกค้าของสินค้าและบริการ
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสร้างความได้เปรียบและความสำเร็จด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยง
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้วิธีการทำงานเพื่อลดและขจัดความเสี่ยงในองค์กร
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบความเปลี่ยนแปลงของภาวะความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจถึงเหตุและผลที่ถูกต้องในบริหารความเสี่ยง
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้แผนที่ความเสี่ยง
(Risk Map)
หัวข้อการอบรม (Course Outline)
- ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง
และความจำเป็นที่องค์กรควรต้องปฏิบัติตามหลักการบริหารตามมาตรฐานสากล
ด้วยกลไกและระบบการจัดการ เช่น การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน
การบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management)
- บทบาทและหน้าที่
ที่บริษัทต้องปฏิบัติตามหลักการมาตรฐานสากล ประกอบด้วย
- อบรมบริการ การควบคุมภายใน (Internal Control)
- อบรมบริการ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
- อบรมบริการ
การบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรโดยรวม (Enterprise Risk Management)ฯลฯ
- ระบบงานการบริหารความเสี่ยง
2.1 การสร้างความตระหนัก
ให้ความสำคัญในงานบริหารความเสี่ยงตามหลักการบริหารตามมาตรฐานสากล
2.2ความรู้ และความเข้าใจ
ในงานระบบบริหารความเสี่ยง ประกอบ การระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)การวิเคราะห์ผลกระทบความเสี่ยงต่อผลประกอบการด้านต่าง
ๆ การจัดลำดับความเสี่ยงเพื่อการบริหารจัดการองค์กร (Risk Prioritization)และการกำหนดรูปแบบการจัดการความเสี่ยง
เพื่อเผชิญกับความไม่แน่นอน (Uncertainty)และการไม่ละทิ้งโอกาส
2.3กลยุทธ์วิธีการ
กระบวนการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Strategy & Treatment)หลักการ แนวปฏิบัติ
และขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย
- อบรมบริการ การวิเคราะห์ ความเสี่ยง
- อบรมบริการ การระบุความเสี่ยง
- อบรมบริการ การประเมินความเสี่ยง
- การจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยง
การจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยง
(Risk Management
Plan)กลไกและระบบเพื่อประกอบ
การจัดทำคู่มือบริหารความเสี่ยง
การสร้างความสนใจในการบริหารความเสี่ยง
- ระบบการบริหารความเสี่ยง
- การประเมินความเสี่ยง
- เทคโนโลยีใหม่ๆ และความรู้ "งูๆ
ปลาๆ" เป็นที่มาของความเสี่ยง
- องค์ประกอบของความสำเร็จที่ซ่อนอยู่ในความไม่ประมาท
- นโยบายบริหารความเสี่ยง
- วัตถุประสงค์การบริหารความเสี่ยง
- กระบวนการบริหารความเสี่ยง
และการทำแผนบริหารความเสี่ยง
- การพัฒนาทัศนคติในงานที่ปฏิบัติอย่างระมัดระวังเพื่อลดความเสี่ยง
- ปัจจัยเสี่ยงที่คอยส่งผลกระทบ
สร้างความเสียหาย หรือความล้มเหลวให้แก่องค์กร
- ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง
4.การใช้แผนที่ความเสี่ยง (Risk Map)
ความเข้าใจในเรื่องของRisk Mapเพื่อหาความสัมพันธ์ของRoot Causeจากปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อปัจจัยอื่น ๆ
ทั้งในระดับองค์กร เช่นStratigic
Risk - S, Operational Risk - O, Financial Risk/Reporting Risk - F, Compliance
Risk - CตามแนวทางของCOSO - ERMรวมถึงRoot Causeจากความเสี่ยงที่มีผลกระทบในระดับขั้นตอน
+ กระบวนการ + กิจกรรม ของ
จุดอ่อนในแต่ละกรอบข้างต้น
ที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับกรอบการควบคุมด้านอื่น ๆ ในทุกมุมมอง ทั้งด้านITและNon
- ITนั้น จะมีประโยชน์ต่อการบริหารความเสี่ยงเป็นอย่างมาก
ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าใจและควบคุมความเสี่ยงจากต้นเหตุที่แท้จริง
ก็จะสามารถควบคุมความเสี่ยงที่มีผลต่อเนื่องจากความเสี่ยงที่มาจากต้นเหตุนั้นได้เป็นอย่างมาก
และบางกรณีอาจได้ทั้งหมด
เกณฑ์การประเมินRisk Map
- การกำหนดสาเหตุของปัจจัยเสี่ยง
และกำหนดระดับความรุนแรงของสาเหตุนั้น
- การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงในระดับองค์กร
และความสัมพันธ์ของสาเหตุ (ต้นเหตุ ->ปลายเหตุ)
- การวิเคราะห์ผลกระทบทั้งเชิงการเงิน
และมิใช่เชิงการเงิน (กระทบมาก/น้อย) ระหว่าง
3.1.ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง
3.2.สาเหตุกับสาเหตุ
3.3.ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุ
- การนำRisk Mapไปใช้ในการกำหนดแผนการบริหารความเสี่ยง
ทุกกิจกรรมในแผนบริหารความเสี่ยง
จะต้องมีความสอดคล้องกับสาเหตุและจัดลำดับตามระดับความรุนแรงของสาเหตุ
รวมถึงความสัมพันธ์อื่นที่มากระทบต่อสาเหตุนั้น