1. การวิเคราะห์เส้นทางการผลิตสินค้าด้วยการสร้างสายธารแห่งคุณค่าการผลิต (Value Stream
Mapping) เพื่อระบุสิ่งที่มีคุณค่าและสิ่งที่เป็นความสูญเปล่าที่แฝงอยู่ในแต่ละขั้นตอนการผลิตได้อย่าง
ชัดเจน และตั้งเป้าหมายให้ลดลงหรือกำจัดให้หมดสิ้นไป
2. การวัดค่าCycle timeการผลิตสินค้าแต่ละชนิดอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง เพื่อทราบระยะเวลา
ผลิตสินค้าต่อหน่วย และตั้งเป็นเวลาเป้าหมายในการผลิตสินค้าที่ชัดเจนต่อไป
3. หลักผลิตแบบสมดุลการผลิตในการออกแบบตารางวางแผนผลิตประจำวันสัปดาห์รายวัน
เหมาะสม เพื่อสามารถใช้ทรัพยากรการผลิตได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม ซึ่งจะทำให้สามารถลด
เวลาการผลิตนอกเวลาหรือOvertimeได้ และสามารถแทรกงานการผลิตได้ขึ้นรวมถึงการใช้
วัตถุดิบและเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
4. ศึกษาและสร้างสูตรการผลิตสินค้า (Bill of Material:BOM) อย่างชัดเจน เพื่อนำไปสร้างตาราง
แผนการผลิตหลักMPS(Master Production Schedule) และแผนการใช้วัตถุดิบMRP(Material
ResourcePlanning)ที่มีประสิทธิภาพซึ่งจะทำให้เกิดฝ่ายวางแผนการผลิตที่มีหน้าที่ในการ
ออกแบบและประสานงานการผลิตกับฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายคลังสินค้าวัตถุดิบ ฝ่ายจัดซื้อ
ฝ่ายการเงิน รวมถึงฝ่ายขนส่ง เพื่อให้เกิดการบูรณาการ (Integrated) ด้านการวางแผนการผลิตที่มี
ประสิทธิภาพและทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างแท้จริง
5. ใช้หลักการการจัดลำดับงานและตารางการผลิต (Sequencing and Scheduling) ในการจัดลำดับ
งานการผลิตได้อย่างเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม เพื่อสร้างความพึงพอใจและเพิ่มศักยภาพในการ
ดำเนินงานให้กับลูกค้าได้
6. การใช้เครื่องมือต่างๆที่มีอยู่ในการจัดการแบบลีน (Lean Tools) เพื่อกำจัดความสูญเปล่าออกจาก
กระบวนการที่เป็นคอขวด(WasteinBottomneck)เพิ่มความรวดเร็วในการไหลของวัตถุดิบและ
สินค้าให้มากขึ้น (Material Flow) รวมถึงสร้างมาตรฐานการทำงาน (Standardized Work) ให้เกิด
ความสมบูรณ์แบบ (Perfection) ขึ้น
7. สร้างแผนการผลิตหลัก (Master Production Schedule:MPS) ซึ่งจะเน้นไปในเรื่องของแผนการ
ผลิตสินค้าสำเร็จรูปหรือกลุ่มของสินค้าสำเร็จรูปตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการหรือจากการพยากรณ์
ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถผลิตสินค้าและส่งมอบสินค้าได้อย่างครบถ้วน
ลดการมีDead Stockหรือสินค้าคงคลังที่ไม่เคลื่อนไหวลง ทำให้การใช้พื้นที่หรือขนาดของโรงงาน
ลดลงได้