พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับเบ็ดเสร็จในหลักสูตรเดียว (ปรับปรุงเนื้อหาล่าสุด 2566)

7 สิงหาคม 2567


หลักการและเหตุผล

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ฉบับที่1) ที่มีผลบังคับใช้มากว่า 20 ปีแล้ว  และมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วหลายครั้งอาทิเช่น ฉบับที่6 (พ.ศ.2560) หรือฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2562) ซึ่งมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในอีกหลายๆ ประเด็น ที่มีผลต่อสิทธิหน้าที่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และล่าสุดได้มีการประกาศใช้ พรบ. คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่8(พ.ศ. 2566) ให้สิทธิลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานนอกสถานที่/นอกเวลางาน (Work From Anywhere) บังคับใช้ 18เมษายน2566 ที่ผ่านมา

ปัจจุบันยังมีนายจ้างหลายราย ที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพรบ. คุ้มครองแรงงาน อันเนื่องมาจากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาหลายฉบับ หรือมีการปรับเปลี่ยนผู้รับผิดชอบ จึงขาดความต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดปัญหาและความเสียหายในภายหลัง หลักสูตรนี้จึงจัดขึ้นมาเพื่อสรุปรวบรวมประเด็นสำคัญตั้งแต่ ฉบับแรก จนถึงฉบับล่าสุด เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่องในทุกฉบับอยู่ในหลักสูตรเดียว

 

วัตถุประสงค์

1. ผู้เข้าอบรม ได้รู้และเข้าใจใน พรบ.คุ้มครองแรงงานทุกฉบับ

2. ผู้เข้าอบรมเข้าใจเจตนารมณ์ และ การปฏิบัติตาม กฎหมายแรงงาน และ สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างมี

   ประสิทธิภาพ

3.สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำแก่ผู้บริหารและหัวหน้างาน ในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับ

   กฎหมาย

 

 

เนื้อหาหลักสูตร 

1. แนวทางการบริหารงานบุคคล ยุคใหม่ให้สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร

2. สิทธิ หน้าที่และ ความรับผิดชอบของ นายจ้าง ลูกจ้าง หัวหน้างาน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

3. สรุปสาระสำคัญ ของ พรบ.คุ้มครองแรงงาน ตั้งแต่ฉบับที่1 ถึงฉบับที่ 4ที่ประกาศใช้มานานแล้ว

4. สรุปสาระสำคัญ ของ พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 5 พ.ศ.2560 อาทิ

·   การใช้แรงงานเด็กและเพิ่มเติมบทลงโทษนายจ้าง

5. สรุปสาระสำคัญ ของ พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 6 พ.ศ.2560 อาทิ

·  บทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างบางกลุ่มหรือบางประเภท เพื่อส่งเสริมการจ้างงานและการคุ้มครองแรงงาน

·   บทบัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุและการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ

·   การเตรียมการเรื่อง การเกษียณอายุพนักงาน เพื่อรองรับกฎหมายใหม่

6. สรุปสาระสำคัญ ของ พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ ( 7 ) พ.ศ.2562 มีประเด็นหลัก ๆ เช่น

·   การตีความตาม พรบ. ปี 2562 : ลากิจธุระอันจำเป็น,การกำหนดเงื่อนไขการลากิจ, การย้ายสถานประกอบกิจการ, ค่าชดเชย และอัตราค่าชดเชยใหม่,การแก้ไขข้อบังคับการทำงาน และอื่น ๆ

·   เพิ่มอัตราค่าชดเชยกรณีลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ตามมาตรา118

·    กำหนดจ่ายค่าจ้างต่างๆ ให้แก่ลูกจ้างชาย-หญิง ในลักษณะ คุณภาพ ปริมาณเดียวกัน เท่าเทียมกัน

      ตามมาตรา 53

·   แก้ไขเปลี่ยนแปลงกรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ ค่าชดเชย พิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยพิเศษ ตามมาตรา 120,120/1,120/2 

·   และสาระสำคัญอื่น ๆ อีกหลายประเด็น

7. สรุปสาระสำคัญ ของ พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ (8 ) พ.ศ.2566 มีผลใช้บังคับ18 เมษายน2566

    มีประเด็นหลัก ๆ เช่น

·     นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงให้ลูกจ้างนำงานไปทำที่บ้านหรือที่พักอาศัยของลูกจ้าง หรือตกลงให้ลูกจ้างทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใดๆ ได้

·     เมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานปกติแล้ว ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธในการติดต่อสื่อสารกับนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงาน

·     ลูกจ้างซึ่งทำงานดังกล่าว มีสิทธิและอยู่ภายใต้การคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานต่างๆ เช่นเดียวกับลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการของนายจ้างด้วย

·     และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการตกลง วัน เวลาทำงานปกติ เวลาพัก การลา ขอบเขตหน้าที่ของลูกจ้าง การกำกับควบคุมของนายจ้าง ภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์การทำงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่จำเป็น อันเนื่องจากการทำงาน

8. ทักษะและเทคนิคการบริหารวินัยพนักงานเชิงสร้างสรรค์

9. หลักการลงโทษทางวินัย การเลิกจ้างที่เป็นธรรม และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

workshop :ฝึกปฏิบัติการทดลองทำหน้าที่ตัดสินวินัยพนักงาน กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง

                  การวิเคราะห์ปัญหาวินัยพนักงานเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ

 

คุณสมบัติผู้เข้าอบรมสัมมนา

เจ้าหน้าที่บุคคล,ผู้จัดการ,หัวหน้างาน,ผู้บริหาร และผู้ที่สนใจ

 

วิธีการฝึกอบรม

oบรรยาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

oแลกเปลี่ยนประสบการณ์

oฝึกปฏิบัติ



สถานที่อบรม (VENUE)

สถานที่ @ โรงแรม แรมแบรนดท์ สุขุมวิท สุขุมวิท ซอย 18 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพฯ ** สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

7 สิงหาคม 2567 09.00-16.00 น.

จัดโดย

ดีทีเอ็นเทรนนิ่ง
เบอร์ติดต่อ : 096-669-5554 ,064-325-4946

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 85 ครั้ง