พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act – PDPA)

15 มีนาคม 2564


ปัจจุบันนี้ มีการที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน และการดำเนินธุรกิจในเกือบทุกๆ ด้าน
บางครั้งส่งผลให้การเก็บข้อมูล การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลกระทำได้โดยง่าย และก่อเกิดให้ประโยชน์สูงสุดของการทำธุรกิจ แต่อีกด้านหนึ่งอาจสร้างปัญหาและความเดือดร้อนหรือความเสียหายได้ หากนำข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหาประโยชน์ หรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับความยินยอม
               ดังนั้น องค์กรต่าง ๆ จำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้มีความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องตามสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบตามกรอบกฎหมาย ที่เรียกว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.
2562 (Personal Data Protection ActB.E.2562 (2019)หรือPDPA)กฎหมายฉบับนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อองค์กรเท่านั้น ยังส่งผลต่อการบริหารงานบุคคล นายจ้างและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องงานบุคคล จะต้องศึกษาและปฏิบัติให้ถูกต้อง

วัตถุประสงค์การฝึกอบรม

1.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

2.เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการเตรียมความพร้อมของนายจ้าง /HRเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามกฎหมาย อาทิ การให้ความยินยอม กระบวนการเพื่อรองรับการใช้สิทธิอื่น ๆ ของเจ้าของข้อมูล

3.นายจ้าง /HRสามารถจัดทำนโยบาย และกำหนดกระบวนการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน (Personal Information)ให้สอดคล้องกับกฏหมายได้
4.สร้างความเข้าใจบทลงโทษถ้าละเมิด พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

หัวข้อการอบรม

1.เหตุผลและความเป็นมาของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.​2562
   ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  ข้อมูลส่วนบุคคลที่กฎหมายคุ้มครองมีอะไรบ้าง
   ข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องคุ้มครอง กับข้อมูลที่ต้องยกเว้นตาม พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

2.สาระสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
"ข้อมูลส่วนบุคคล" คืออะไรบ้างและใครคือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และต้องระวังอย่างไร
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหมายถึงอะไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร มีข้อยกเว้นอะไรบ้าง
?

หน่วยงานใดในองค์กรเกี่ยวข้องกับPDPAมีหน่วยงานไหน้าง

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลผู้ประมวลลข้อมูลส่วนบุคคล(Processor)และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)คือใคร?มีบทบาทหน้าที่อย่างไร สามารถกำหนดบทลงโทษได้หรือไม่

สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ในการเก็บข้อมูล ใช้ข้อมูล เปิดเผยข้อมูลมีอะไรทำได้บ้าง ความรับผิดชอบตามกฎหมาย ทั้งโทษทางแพ่ง โทษทางอาญา และโทษปรับทางปกครอง

3.ขอบเขตการใช้บังคับ

4.สิ่งที่องค์กรควรเตรียมความพร้อม เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้

5.แนวปฏิบัติเพื่อการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

6.กรณีศึกษา/ตัวอย่างนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Policy)

7.ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานและเอกสารอะไรบ้างในฝ่ายบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายฉบับนี้

8.จะกำหนดนโยบาย/ระเบียบปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานอย่างไร

9.บทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับนายจ้าง และฝ่ายบุคคล ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตั้งแต่การกำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ การกำหนดเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล/การรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร

นายจ้างมีสิทธิเรียก เก็บรักษา ใช้ ข้อมูลของพนักงานได้ทุกกรณีหรือไม่ข้อมูลใดเรียกเก็บได้ ข้อมูลใดเรียกเก็บไม่ได้?

ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน กรณีใด/ประเภทใดบ้าง ต้องขอความยินยอม กรณีใด/ประเภทใด ไม่ต้องขอความยินยอมตามพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

เทคนิควิธีการดำเนินการด้านขอความยินยอม จากลูกจ้างเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อใช้ในการปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงาน

10.ถาม-ตอบ อภิปรายแลกเปลี่ยนปัญหาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล


วิทยากร


วิทยากร ดร.ชยุตพงศ์ นิลอ่อน



สถานที่อบรม (VENUE)

Jasmine City Hotel ซอยสุขุมวิท 23 ใกล้ BTS อโศก กทม. ** สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง **

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

15 มีนาคม 2564 9.00-16.00 น.

จัดโดย

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 090 645 0992 , 089 606 0444

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 777 ครั้ง