ผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ Real estate
Developer คือใคร ?
คือนักลงทุนซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอสังหาริมทรัพย์โดยได้ผลกำไรสูงสุด นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีทั้งแบบผู้ประกอบการและองค์กร
บริษัทอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่สร้างบ้านและที่อยู่อาศัยอื่นๆ
ก็นับเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
เนื่องจากสามารถสร้างรายได้และการงอกเงยมูลค่าจากสินทรัพย์ในครอบครองอยู่ได้ผู้พัฒนาโครงการ
ต้องใช้ความรู้ความสามารถในด้านการประเมินศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ในการริเริ่มโครงการ
ด้านกฎหมาย ด้านกายภาพ ด้านการตลาด และด้านการเงิน
เพื่อให้มีสามารถดำเนินโครงการได้ประสบความสำเร็จ
และสามารถผลิตโครงการใหม่เข้าสู้ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง
Project Feasibility Studyคืออะไร เขาดูอะไรบ้างในการศึกษาความเป็นไปได้ ของการพัฒนาโครงการ ตัวอย่างเช่นการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาคอนโดมิเนียมให้ความสำคัญกับอะไร
เป็นการศึกษาเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ในการดำเนินการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งการดูแลเรื่องทำเลที่ตั้ง และพื้นที่เป็นหลัก เช่น ขนาด ความกว้าง หรือรูปร่างของลักษณะที่ดิน
โดยศึกษาจากข้อดี และข้อเสีย หรือโอกาสในการอุปสรรคของ ทำเลที่ตั้ง สภาพทางกายภาพ ลักษณะดิน ความลาดชัน ความสูงของที่ดิน การถามดิน ค่าถมดิน สิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งพิจารณาได้จากการเข้าถึงของสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ และอื่นๆ
กฎหมายที่จำเป็น
สำหรับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นั้นมีอยู่ไม่มาก แต่ทุกข้อล้วนสำคัญ
และไม่อาจละเลยได้ ได้แก่
พระราชบัญญัติการผังเมือง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
รายงานการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ EIA
กฎหมายเฉพาะทาง
กฎหมายพัฒนาพื้นที่
โครงการเวนคืน
การหาศักยภาพของที่ดิน
ต้องใช้วิธีการประเมิน โดยใช้ วิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน(Cost
approach to value)
หลักสำคัญคือ "มูลค่าของสิ่งหนึ่ง =
ต้นทุนในการหาสิ่งอื่นที่เทียบเคียงได้มาทดแทน" วิธีการก็คือ
เราเริ่มที่การประมาณการต้นทุนในการสร้างอาคารทดแทนตามราคาปัจจุบัน
แล้วหักลบด้วยค่าเสื่อม (ถ้ามี) บวกด้วยมูลค่าตลาดของที่ดิน
ก็จะได้มูลค่าของทรัพย์สินนั้น
เช่น โรงงานอายุ10ปี ถ้าสร้างใหม่จะใช้เงิน10
ล้านบาท เราหักค่าเสื่อม20%หรือปีละ2%
(สมมติให้อาคารมีอายุขัย50ปี)
ก็แสดงว่าอาคารตามสภาพปัจจุบันมีมูลค่า8ล้าน
สำหรับที่ดินที่ตั้งโรงงานเป็นเงินอีก10ล้าน (500ตารางวา แถวนี้ขายตารางวาละ20,000บาท)
ดังนั้นมูลค่าทรัพย์สินจึงเป็นเงิน18ล้านบาท เป็นต้น
ข้อสังเกตสำคัญก็คือ วิธีนี้ ส่วนมากใช้สำหรับโรงงานหรืออาคารที่สร้างขึ้นเฉพาะ กรณีบ้านจัดสรรใช้วิธีการเปรียบเทียบตลาดจะเหมาะสมกว่า และในภาวะที่ราคาทรัพย์สินตกต่ำ แต่ต้นทุนวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น บางครั้งต้นทุนที่คำนวณได้อาจจะแพงกว่ามูลค่าตลาดเสียอีก ทำให้การประเมินด้วยวิธีนี้ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงได้
สามารถวิเคราะห์ได้จากเศรษฐศาสตร์มหาภาค สภาพเศรษฐกิจ ทั้งจุลภาค และมหภาค ที่มีผลต่อแนวโน้มของกำลังซื้อ และต้นทุนในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ และยังสามารลงมือศึกษาได้จากปัจจัยต่างๆ อันได้แก่
-การสำรวจข้อมูลด้านประชากรศาสตร์
-การศึกษาแผนพัฒนาเมืองที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม
-การสำรวจปริมาณคนผ่านทาง
-การสำรวจทั้งคุณภาพและปริมาณ
-การตรวจสอบความต้องการ ตรวจตราหาคู่แข่ง บนทำเลที่น่าสนใจ
-การขอข้อมูลจากหน่วยงานราชการ ศูนย์วิจัยต่างๆ
และการสำรวจลงพื้นที่ด้วยตนเอง
การลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงความคุ้มค่า และสภาพคล่องทางการเงินในขณะนั้น รวมถึงในอนาคตด้วย ซึ่งอาจใช้ข้อมูลทางการตลาดมาตั้งสมมติฐานเพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน ได้แก่
-อัตราการเช่า
-รายละเอียดการชำระเงิน
-การประมาณค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการด้วย เช่น
การประมาณการผลตอบแทนโครงการเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจ
อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่า การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์
จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ที่ไม่มีทุนไม่สามารถทำธุรกิจนี้ได้
ดังนั้น การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ที่จะให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
Tag: นักพัฒนาอสังหาฯ ,นักลงทุน, ลงทุนสร้างบ้านขาย, นักพัฒนาอสังหาฯ, นักลงทุน, Real estate
Developer, พัฒนาโครงการอสังหาฯ, Feasibility Study, Project Feasibility
Study, เจ้าของที่ดิน, เจ้าของโครงการ,นักลงทุนมือใหม่,อสังหาฯ มือใหม่,นักธุระกิขมือใหม่,มือใหม่หัดลงทุน,นักพัฒนามือใหม่,อสังหา ฯ ทำเงิน,พัฒนาโครงการ,นักลงทุนอสังหา ฯ