Reskill Team Management for Supervisory
ทักษะสมัยใหม่สำหรับหัวหน้างานในการบริหารทีมงาน (27 ส.ค. 62)
เมื่อโลกแห่งเทคโนโลยีเข้ามา Disrupt องค์กรมากขึ้นแทบจะทุกนาที เราจำเป็นต้องลุกขึ้นมา Up Skill ตัวเองให้ก้าวทันโลกยุคใหม่
“Reskill” จึงเป็นหัวใจสำคัญ เปรียบเสมือนเป็นทางออกในการบริหารทีมงานยุคใหม่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
Key Contents
• พลิกแนวคิดภาวะผู้นำกับหัวหน้างานยุคใหม่ “Leadership + Leadershift”
ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างานภายใต้สภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ดำเนินไปอย่างเหมาะสม ซึ่งต้องอาศัยทั้งภาวะผู้นำ (Leadership) และการปรับเปลี่ยนกรอบความคิด (Leadershift) รวมถึงได้ทราบมุมมองของลูกน้องถึงลักษณะของ “หัวหน้ายอดแย่และหัวหน้ายอดเยี่ยม” เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำของตนเอง
• แนวทางการวางแผนและการกำหนดเป้าหมาย “SMARTER Goal Setting”
ในฐานะที่ต้องบริหารจัดการงานและคน หัวหน้างานต้องสามารถกำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินงานได้อย่างชัดเจนและเหมาะสมโดยใช้หลัก SMARTER Goal Setting โดยให้สมาชิกในทีมของตนมีส่วนร่วม ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การปฏิบัติงานของลูกน้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
• หลักการวิเคราะห์ “Competency Analysis”เพื่อการสั่งงานและมอบหมายงานอย่างมีประสิทธิผล
การสั่งงานและมอบหมายงานจำเป็นต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานด้วย ดังนั้นหัวหน้างานจะต้องมีทักษะในการสั่งงานและมอบหมายงานให้กับลูกน้องอย่างเหมาะสม โดยใช้หลัก “Put the right man on the right job” ตามแนวทางการวิเคราะห์สมรรถนะการทำงาน (Competency Analysis)
• ปรับแนวคิดการสอนงานกับทีม ทั้ง “On the Job & Off the Job Training”
ในบางกรณีหัวหน้างานต้องสอนงานเพื่อให้ลูกน้องสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องทั้งปริมาณและคุณภาพที่กำหนด รวมถึงต้องตรวจสอบความเข้าใจของลูกน้องเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานด้วยว่าเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ การสอนงานมีทั้งรูปแบบของ On the Job และ Off the Job Training หากหัวหน้างานสามารถเลือกรูปแบบการสอนงานได้อย่างเหมาะสมก็จะส่งผลบวกต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้และการปฏิบัติงานของลูกน้อง
• ทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจแบบ “5 Why’s & Systems Thinking”
ในกรณีที่เกิดปัญหาการทำงาน หัวหน้างานจะต้องสามารถกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาและตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมเพื่อบรรเทาหรือยุติปัญหาเหล่านั้นโดยใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยวิเคราะห์ปัญหา เช่น การตั้งคำถามเพื่อหาสาเหตุของปัญหา (5 Why’s) , การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) เป็นต้น
• การติดตามและประเมินผลงานของทีมแบบ “Pitfall Factors and Performance Feedback”
หัวหน้าต้องทำการติดตามและประเมินผลงานของลูกน้องเป็นระยะๆ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้องสามารถปฏิบัติงานได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในการติดตามและประเมินผลงาน จะต้องระวังการติดกับดักต่างๆ (Pitfall Factors) ที่จะทำให้หัวหน้าขาดความน่าเชื่อถือ เช่น การมีอคติแบบต่อลูกน้องแบบบวกและลบ (Halo & Horn Effect) การประเมินผลงานแบบกลางๆ ไว้ก่อน (Central Tendency) เป็นต้น นอกจากนี้หัวหน้าต้องสามารถให้ข้อมูลป้อนกลับการทำงาน (Performance Feedback) แก่ลูกน้องได้อย่างเหมาะสมเพื่อเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานของลูกน้อง
• เทคนิคการสื่อสารสองทางกับทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ “Two Ways Communication Approach”
การสื่อสารเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารงานและบริหารคนให้บรรลุผลสำเร็จ การสื่อสารสองทาง(Two Ways Communication Approach) เป็นวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจที่ตรงกันถึงเป้าหมายและวิธีการปฏิบัติงานของหัวหน้างานและสมาชิกในทีม
• กลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจในการทำงานของทีมงาน “Employees Recognition”
แรงจูงใจในการทำงานมีหลายประเภท แต่แรงจูงใจที่สำคัญยิ่งในการทำงานเพื่อความสำเร็จก็คือแรงจูงใจที่หัวหน้างานมีให้กับทีมงานทุกคนในรูปของการให้เกียรติและตระหนักถึงคุณค่า (Employees Recognition) ซึ่งจะทำให้ทีมงานมีขวัญกำลังใจ และมีความมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
• จิตวิทยาในการทำงานเป็นทีม บริหารทีมกับคนรุ่นใหม่
Key Benefits
- แนวคิด ความสำคัญของบทบาทภาวะผู้นำกับการเป็นหัวหน้างานยุคใหม่ ว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายการดำเนินธุรกิจตามที่องค์กรกำหนดไว้
- เข้าใจถึงภารกิจของหัวหน้างานที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการแนวทางการวางแผนงาน
- การกำหนดเป้าหมายภารกิจของขององค์กรบรรลุผลสำเร็จ
- สามารถนำเครื่องมือต่างๆ ในแต่ละทักษะที่จำเป็นต่อการบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำเทคนิคการบริหารคนให้ปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังความสามารถและสร้างขวัญกำลังใจให้กับทีมงานได้