หลักการและเหตุผล
ปัญหาเป็นอาการสามัญประจำชีวิต ปัญหา หรือ สิ่งที่ต้องพิจารณาแก้ไข ย่อมมี สิทธิ์ที่จะเกิดขึ้นได้กับทุกองค์กร เป็นเรื่องปกติที่สามารถสร้างความไม่ปกติ ส่งผลเสียต่อองค์กร
และบุคลากรได้ทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาว ถ้ายังปล่อยปละละเลยให้ปัญหานั้นให้ยืดเยื้อต่อไป พนักงานจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจแนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาและการเลือกตัดสินใจให้ถูกทางอย่างมีหลักเก ณฑ์ที่จับต้องได้ เพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
สำนวนที่วิทยากรท่านแนะว่า “มองปัญหาได้กระจ่าง ตัดสินใจได้ประโยชน์” หมายถึง
ปรับแนวคิดการวิเคราะห์แก้ปัญหาแล้วเราจะพบว่าทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ไม่ยาก ข้อสำคัญอยู่ตรงที่ว่า
พนักงานจะต้องศึกษาเรียนรู้กุศโลบายในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ อย่างมีชั้นเชิง อย่างน้อยที่สุด
ทุกคนควรจะรู้และฉุกคิดตั้งแต่ก้าวแรกที่เจอปัญหาว่าเราควรจะมองแบถอยหลังไปก้าวหนึ่งก่อน มองจากต้นตอ
มองด้วยสายตาคนอื่น มองแบบยอมรับ มองแบบหักมุม หรือ มองแบบแจกแจง ทั้งนี้ นักแก้ปัญหาจะต้องเสริมสร้าง
คุณภาพอารมณ์ ให้ สอดคล้องกับคำสอนที่ว่า ไฟดับนั่งลง หายงงแล้วค่อยวิ่ง และ ใคร่ครวญเสียให้ดีก่อนจึงทำ?
สาระสำคัญ
ชุดความคิดเชิงบวกในการจัดการกับปัญหา
การเรียนรู้ไลฟ์สไตล์และหัวใจการแก้ปัญหา
ทัศนมิติ360องศาเพื่อใคร่ครวญตัดสินใจ
ลูกโซ่ 5Why ในการพินิจเบาะแสปัญหา
ลักษณะFEBปัญหาสากลและวิธีคลี่คลาย
กลเม็ดขจัดปัญหาสำคัญที่เป็นกับดักองค์กร
ไหวพริบในการจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้า
ทักษะการรับรุกเผชิญหน้ากับปัญหารายวัน
ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล