สภาวะปัจจุบันที่มีการแข่งขันทางด้านธุรกิจกันอย่างรุ่นแรง ทั้งจากภายในและต่างประเทศ ทำให้สถานประกอบการต่างๆ ที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตต้องการปรับตัวเป็นอย่างมาก การสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันโดยการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ (High Quality) ต้นทุนการผลิตต่ำ (Low Cost) และส่งมอบสินค้าได้ตรงกำหนดเวลา (On Time Delivery) จึงมีความจำเป็นอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ การเพิ่มศักยภาพบริหารการผลิตจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยสร้างความได้เปรียบขององค์กร โดยนำแนวคิดการบริหารจัดการระบบLEANมาใช้เพื่อควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพ โดยการลดโอกาสการสูญเสีย 7 ประการสำคัญที่มีอยู่ในองค์กร ได้แก่ ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินไป (Over Production Waste) ความสูญเสียจากการขนส่ง (Transportation Waste) ความสูญเสียจากการรอคอย (Waiting Waste) ความสูญเสียจากสินค้าคงคลัง (Inventory Waste) ความสูญเสียจากผลิตภัณฑ์บกพร่อง (Defects Waste) ความสูญเสียจากการเคลื่อนไหว (Motion Waste) และ ความสูญเสียจากกระบวนการมากเกินไป (Over processing Waste)
LEANคือ ปรัชญาในการผลิต ที่ถือว่าความสูญเปล่าเป็นตัวทำให้เวลาที่ใช้ในการผลิตยาวนานขึ้น และควรที่จะมีการนำเทคนิคต่างๆมาใช้ในการกำจัดความสูญเปล่าเหล่านั้นออกไป การผลิตแบบลีน คือ การใช้หลักการชุดหนึ่งในการระบุ และกำจัดความสูญเปล่าเพื่อส่งมอบสินค้าที่ลูกค้าต้องการทันเวลาที่ต้องการ "ลีน"คือ แนวทางที่จะพัฒนา จังหวะ (RHYTM),การไหล (FLOW) และ สมดุล (BALANCE) ในกระบวนการผลิตใดๆ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เข้าใจถึงเหตุผล และความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการผลิต เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รู้ถึงเทคนิคการลดต้นทุนในธุรกิจอุตสาหกรรม การวิเคราะห์เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพที่เหมาะสม รวมถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมรู้หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับระบบ LEAN
หลักสูตร"การเพิ่มศักยภาพจัดการบริหารกระบวนผลิตด้วยหลักการ LEAN"จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในด้านการผลิต ได้เข้าใจ และสามารถนำระบบLEANมาใช้ปฏิบัติได้จริง เพื่อพัฒนาศักยภาพในด้านการวางแผนการปฏิบัติงานให้ดี มีประสิทธิภาพ มีต้นทุนน้อยที่สุด และทำให้องค์กรมีโอกาสที่จะมีผลกำไรในการดำเนินธุรกิจได้
เนื้อหาของหลักสูตร
1. หลักการLEAN(LEAN Principles)
2. การวิเคราะห์ผลิตภาพด้วยแผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping)
3. การจัดสมดุลสายงาน (Line Balancing)
4. การผลิตอย่างต่อเนื่อง (Continuous Flow)
5. การลดความสูญเสีย7 ประการ (7 Wastes)
6. การทำงานอย่างเป็นมาตรฐาน (Standardized Works)
7. ระบบการผลิตแบบดึง (Pull System)
8. การปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิต (Single Minute Exchange of Dies:SMED)
9. การควบคุมคุณภาพด้วยหลักการQC 7 Tools
10.Total Productive Maintenance(TPM)
11. ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time)
12. กิจกรรม5ส.
13.Kaizen(การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง)
14.A3
15.Work Instruction
16.QCC(Quality Control Cycle)
วิธีการสัมมนาการบรรยาย การฝึกปฏิบัติ และร่วมอภิปราย
หมายเหตุ: หลักสูตรสามารถจัดเป็นIn-House Training
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
กลุ่มหลัก ผู้จัดการโรงงาน/ ผู้บริหารระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร ฝ่ายวางแผน ฝ่ายผลิต ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้า วิศวกร
อาจารย์ อนันต์ ดีโรจนวงศ์