หลักการและเหตุผล
ในการออกแบบกระบวนการผลิตใหม่ (New Process)หรือปรับปรุงกระบวนการผลิต (Process Improvement)เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดความผิดพลาด ลดความบกพร่อง ลดของเสียในกระบวนการผลิต เพิ่มผลผลิต (Productivity)
"เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมคุณภาพ" = ต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือวัด (Measuring Tools)สูง
เพื่อการควบคุมคุณภาพชิ้นงานที่ถูกต้องและแม่นยำ
"เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการในกระบวนการผลิต" = ต้องประกอบชิ้นงานในสายการผลิตไม่ผิดพลาด ไม่ข้ามกระบวนการ (Skip Process)ท่าทางการเคลื่อนไหวถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomic)มีความแม่นยำในปฏิบัติงานแต่ละจุดเป็นไปตามเวลาที่กำหนดไว้ คือTakt Time, Cycle Time, Standard Timeเป็นต้น
DOJO Trainingจึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือด้านการฝึกอบรมพัฒนาเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมคุณภาพและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการในกระบวนการผลิตที่ทรงประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นมากกว่าการอบรม
"DO (โด)" = มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า วิธีการปฏิบัติหรือแนวทางปฏิบัติ
"JO (โจ)" = มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ห้องโถงหรือสถานที่ขนาดใหญ่
DOJO Trainingหมายถึง สถานที่ใช้สำหรับฝึกปฏิบัติ วิธีการต่างๆ เปรียบเสมือนเป็นโรงเรียน เมื่อพนักงานเข้ามาในสถานที่นี้พนักงานสามารถเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี รวมทั้งได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองจนเข้าใจและชำนาญ แล้วค่อยส่งพนักงานเข้าไปปฏิบัติงานตามจุดต่างๆ ซึ่งในOEMหรือโรงงานขนาดใหญ่จะสร้างสถานที่หรือห้อง DOJO Trainingไว้เฉพาะและจะใช้ฝึกอบรมพนักงานฝ่ายQCและฝ่ายผลิตในลักษณะนี้ ซึ่งระบบDOJO Trainingสามารถทำได้หลายรูปแบบและปรับใช้กับหน้างานได้หลากหลาย อาทิ เช่น
- Measurement & Inspection DOJO Training
- DOJO Genba process improvement simulation
- Process DOJO Training
วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
1.เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจแนวคิดในการทำDOJO Training
2.เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพและพฤติกรรมในการทำงานโดยใช้แนวทาง DOJO Training
3.เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดความผิดพลาด ลดความบกพร่อง ลดของเสีย
ในกระบวนการผลิต เพิ่มผลผลิต อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
4.เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานให้พนักงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เนื้อหาหลักสูตร : เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วยDOJO Training System
•กิจกรรมละลายพฤติกรรม
•วัตถุประสงค์และขอบเขตของ DOJO Training
•เทคนิคการสอนงานและประเมินประสิทธิภาพการทำงานพนักงานตามหลัก DOJO Training
•การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง Work Instruction (WI)กับการปฏิบัติงานของพนักงานในกระบวนการผลิตตามหลักDOJO Training
•ขั้นตอนการเขียนสคริป และถ่ายทำVDOเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการฝึกอบรมพนักงาน
ขั้นตอนการใช้เครื่องมือวัด (Inspection)เพื่อใช้ฝึกอบรมพนักงาน
ขั้นตอนต่างๆในกระบวนการผลิต
•การเขียนใบมาตรฐานการทำงาน (Standard Operation Sheet) SOS ==> Workshop
ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน (ขั้นตอนการทำงาน)
ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน (จุดสำคัญของงาน)
ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน (ระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน)
ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน (ด้านความปลอดภัย)
ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน (ความเรียบร้อยด้านคุณภาพ)
•การเขียนใบประเมินมาตรฐานการฝึกอบรมของพนักงาน DOJO Training System
•การออกแบบชุดคิท (Kit set Training)สำหรับฝึกอบรม
ชุดฝึกอบรมทักษะ ==>ความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือของพนักงาน (Eye Vs Hand)
ชุดฝึกอบรมทักษะ ==>การเดินของพนักงาน (Walking)
ชุดฝึกอบรมทักษะ ==>การนับเวลา (Time Counting)
ชุดฝึกอบรมทักษะ ==>ความสัมพันธ์ระหว่างหูกับมือ (Ear Vs Hand)
•การออกแบบลำดับผังขั้นตอนการอบรม
ชุดการบอร์ดการเรียน / การสอน
ชุดVDOประกอบการเรียน / การสอน
ชิ้นงานจริงSingle & Assembly Part
Functionl Part
การจำลองกระบวนการผลิตกระบวนการปฏิบัติงานเฉพาะจุด (Process Simulation)
•การกำหนดผู้ฝึกอบรม / ผู้ประเมิน / และเกณฑ์การยอมรับ
•วิธีการเก็บข้อมูลในแต่ละขั้นตอนเพื่อปรับปรุงแก้ไข
•ผู้เข้าอบรมร่วมกันระดมสมอง ทำกิจกรรมกลุ่มWork shopโดยจำลองกระบวนการผลิต และcase study +นำเสนอผลการวิเคราะห์และอภิปราย
ผู้ควรเข้ารับการอบรม
Øผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมยานยนต์,อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์,อุตสาหกรรมอื่นๆ
Øวิศวกรทุกส่วนงาน ผู้จัดการ ผู้บริหาร
Øหัวหน้างานQC/QA, R&D, New Model
Øช่างเทคนิค
Øบุคลากรที่เกี่ยวข้อง หัวหน้างาน
อาจารย์พิทักษ์ บุญชม
โรงแรมเซนต์เจมส์
บุคคลทั่วไป ท่านละ3,900บาท
สมาชิก ท่านละ3,500 บาท
ลงทะเบียน3ท่านขึ้นไป ท่านละ3,200บาท
ลงทะเบียน5ท่านขึ้นไป ท่านละ2,900บาท
**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม7%**บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 98/83 หมู่ที่
4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130
[email protected]
โทร. :02-157-9083,062-315-5283
อาจารย์พิทักษ์ บุญชม