หลักการและเหตุผล
เป็นการสนับสนุนให้พนักงานมีความรู้เกี่ยวกับจิตสำนึกด้านคุณภาพ จิตสำนึกที่ดีในการทำงาน มีความตระหนักในการปรับเปลี่ยนแนวคิดให้เกิดจิตสำนึกในการปฏิบัติงานเพื่อสร้างให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานด้วยจิตสำนึกที่ดี ลดของเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการ แนวความคิด มุมมองทางด้านคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และ ให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพของแต่ละส่วนงานและต่อธุรกิจ
๒. เพื่อให้เกิดความเข้าใจในแนวทางในการนำหลักการทางด้านคุณภาพและ มาประยุกต์ใช้กับกระบวนการภายใน และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิผลได้
๓. เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการและเทคนิคในภาพรวมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถควบคุมงานประจำด้วยตนเอง
หัวข้อการอบรม
๑. ความหมาย ความสำคัญของคำว่า"คุณภาพ"
ตัวชี้วัด :คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบภาคทฤษฎี
๒. ความท้าทายที่จำเป็นต้องมุ่งเน้นที่ "คุณภาพ"
ตัวชี้วัด : คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของลูกค้า
๓. ขอบเขตคำว่า "คุณภาพ"ครอบคลุมถึงอะไรบ้าง
ตัวชี้วัด : คะแนนเฉลี่ยความเข้าใจในกระบวนการผลิตในสินค้าแต่ละผลิตภัณฑ์
๔. ความเข้าใจคลาดเคลื่อนและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ "คุณภาพ"
ตัวชี้วัด : คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบภาคทฤษฎีและปากเปล่า
๕. แนวความคิดหลักเกี่ยวกับสินค้าที่ผ่านงานคุณภาพ
ตัวชี้วัด : เปอร์เซ็นต์ของสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานของแผนกคุณภาพ
๖. บัญญัติแห่งความจริง 10 ประการ เกี่ยวกับคุณภาพ
ตัวชี้วัด : คะแนนเฉลี่ยการรับรู้เกี่ยวกับงานคุณภาพ
๗. จิตสำนึกและจิตสำนึกคุณภาพคืออะไร
ตัวชี้วัด : คะแนนเฉลี่ยจากการปฏิบัติงานที่ไม่มีความผิดพลาดจากการปฏิบัติตามระบบงานคุณภาพ
๘. ผลกระทบจากการขาด จิตสำนึกคุณภาพ
ตัวชี้วัด : คะแนนเฉลี่ยจากการปฏิบัติงานที่มีความผิดพลาดจากการปฏิบัติตามระบบงานคุณภาพ
๙. พฤติกรรมของผู้มีจิตสานึกคุณภาพ
ตัวชี้วัด : ไม่มีความผิดพลาด จากการปฏิบัติงาน ไม่มีข้อร้องเรียน ไม่มีอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน
กลุ่มเป้าหมาย
พนักงานทั่วไป หัวหน้างาน หรือระดับผู้บังคับบัญชาขึ้นไป ทุกฝ่ายทุกระดับ
วิธีการอบรม
บรรยาย /Workshop
/กรณีศึกษา
วิทยากร อาจารย์สานุพันธ์ ใบศรี