การวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE)

9 ตุลาคม 2567


หลักการและเหตุผล

ในธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักในการผลิตมักไม่ได้สนใจหาวิธีการใช้และบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง ผลที่ตามมา ก็คือเครื่องจักรเสียบ่อย ต้องเสียเวลาซ่อมและเวลาการผลิต เครื่องจักรไม่มีสมรรถนะการทำงานที่ดี ผลิตชิ้นงานออกมาไม่ได้ตามข้อกำหนดอย่างสม่ำเสมอ สัมพันธภาพที่ไม่ดีระหว่างหน่วยงานผลิต และหน่วยงานซ่อมบำรุง ทำให้เกิดการแก้ไขงานที่มีผลทำให้ต้นทุนสูง การส่งมอบไม่ทันเวลา ซึ่งส่งผลให้ขาดความสามารถในการแข่งขัน

เทคนิคที่สามารถช่วยทำให้เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ (Zero Breakdown)เป็นเทคนิคการบำรุงรักษาที่เป็นความร่วมมือระหว่างพนักงานหน่วยซ่อมบำรุง และพนักงานหน่วยผลิตซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่นิยมใช้ในประเทศต่าง ๆ คือการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งสามารถทำให้ใช้เครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิผล ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาและผลิตสินค้าได้คุณภาพและปริมาณตามความต้องการของลูกค้า

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อให้ทราบแนวคิด และหลักการของประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร

เพื่อให้ทราบถึงความสูญเสียหลัก6ประการที่ส่งผลต่อ OEE

เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในองค์กรในการวัดวิเคราะห์ และปรับปรุงOEEได้อย่างถูกต้อง

 

หัวข้อการอบรม

แนวคิด และหลักการของการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance: TPM )

ความสูญเสีย6ประการของเครื่องจักร

การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness: OEE )

การนำOEEไปประยุกต์ใช้กับเครื่องจักรแบบต่างๆ

การวิเคราะห์ และปรับปรุงOEEโดยใช้หลักการคำนวณค่า MTBF&MTTR

แนวทางการปรับปรุงลดความสูญเสีย6ประการของเครื่องจักร

กรณีศึกษา

 

ระยะเวลาในการฝึกอบรม  อบรม 1 วัน ระยะเวลา  6  ชั่วโมง

ผู้ควรได้รับการฝึกอบรม

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ ทีมพัฒนาธุรกิจ ผู้จัดการ หัวหน้างานLine Leaderพนักงานของบริษัทและผู้สนใจจะประกอบธุรกิจของตนเอง



สถานที่อบรม (VENUE)

สถานที่ @ โรงแรม แรมแบรนดท์ สุขุมวิท สุขุมวิท ซอย 18 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพฯ ** สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

9 ตุลาคม 2567 09.00-16.00 น.

จัดโดย

ดีทีเอ็นเทรนนิ่ง
เบอร์ติดต่อ : 096-669-5554 ,064-325-4946

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 17 ครั้ง