หลักการและเหตุผล
ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งที่องค์กรต่างๆทุกประเภทธุรกิจกำลังเผชิญอยู่อย่างเข้มข้นในปัจจุบัน คือ ปัญหาในด้านทักษะความสามารถของบุคลากรในระดับต่างๆที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจและเป็นทักษะที่มีอิทธิพลต่อความอยู่รอดและการเติบโตขององค์กร อาการหนึ่งที่แสดงให้เห็นเชิงประจักษ์ถึงปัญหาการขาดทักษะความสามารถในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจซึ่งสังเกตได้ชัด คือ ความกลัวปัญหาของบุคลากร จนทำให้บุคลากรไม่มีความสนใจหรือความกล้าที่จะนำเสนอแนวคิดหรือวิธีการใหม่ๆหรือสิ่งใหม่ๆที่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากหวั่นเกรงว่าจะนำไปสู่ปัญหา อุปสรรคและความยากลำบากในการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้องค์กรพลาดโอกาสใหม่ๆที่อาจจะนำไปสู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดขององค์กรไปอย่างน่าเสียดายยิ่ง
การจัดการและการแก้ปัญหาในงานมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ มิฉะนั้นแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นอาจขยายความรุนแรงหรือกลับมาเกิดซ้ำอีก หลักสูตรนี้เน้นสร้างกระบวนการคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและขั้นตอนการแก้ปัญหาแบบขั้นต่อขั้น ทันทีที่พบปัญหาโดยเน้นการป้องกันการเกิดซ้ำ ปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action)"และ "ปฏิบัติการป้องกัน (Preventive Action)"ตามแนวทางของ8 Dรวมถึงการเลือกใช้เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดการพัฒนาความสามารถพนักงาน เชิงระบบ ให้พนักงานแสดงความคิด หรือสร้างสรรค์ ในการบ่งชี้ปัญหาและแนวทางแก้ไขได้ด้วยตนเอง
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1.ช่วยให้องค์กรพัฒนาระบบการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ
2.ฝึกอบรมการใช้เครื่องมืออันทันสมัยเพื่อช่วยยกระดับการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น
3.ปูพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน
4. เรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการหาสาเหตุของปัญหาในระยะสั้น
5.เรียนรู้วิธีการจัดการปัญหาเพื่อไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหา
6.สามารถใช้กระบวนการ 8Dมาเชื่อมโยงกับขั้นตอนการควบคุมลูกค้าร้องเรียน เพื่อนำมาทำให้เป็นระบบและดำเนินการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไข
7.เข้าใจถึงกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอนด้วย 8Dทั้งในภาคทฤษฏี และ ในเชิงประยุกต์ใช้กับงานจริง
หัวข้อการอบรม
Module 1: Discovery
Module 2: Dream
· นำปัญหาที่เกิดขึ้นมาจัดลำดับผลกระทบที่ได้รับ เพื่อหาทางออกของปัญหาหรือกำหนดเป็นสิ่งที่เราอยากจะให้ปัญหานี้หายไปในอนาคต ด้วยกระบวนทัศน์และเสริมสร้างทักษะวิธีการคิดแบบระบบ (System Thinking)ซึ่งเป็นวิธีการคิดรากฐานที่สำคัญในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจทางธุรกิจที่ซับซ้อนวิเคราะห์มิติของการเปลี่ยนแปลง
· กรณีศึกษาและ workshop เพื่อฝึกวางแผนการเปลี่ยนแปลงในองค์กร เช่นจากตนเอง ทีมงาน และองค์กร จากสิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริง
· เครื่องมืออย่างง่ายในการวิเคราะห์ปัญหา เช่น พาเรโต,แผนภาพก้างปลา, Why-why Analysis
· กระบวนการแก้ปัญหา 8D
Module 3: Design
· การเขียนสาเหตุและรากเหง้าของปัญหา...ใช้อะไรดี
· การแก้ไขปัญหาอย่างขุดรากถอนโคนไม่ให้เกิดอีกต่อไป...ทำอย่างไร
· การป้องกันการเกิดซ้ำอย่างเป็นระบบ...ทำอย่างไร
· การวัดผลลัพธ์การแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำ...วัดอย่างไร
· การประยุกต์ทำบทเรียนแห่งการเรียนรู้จากปัญหาให้เป็นปัญหาขององค์กร...ทำง่ายๆได้อย่างไร
· จัดตั้งทีมงาน
· ทำการศึกษาสภาพปัญหา
· ทำการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
· ทำการระบุพร้อมพิสูจน์สาเหตุรากเหง้า พร้อมระบุจุดหลบหนี
· ทำการเลือกและทวนสอบมาตรการแก้ไขปัญหาสำหรับสาเหตุรากเหง้าและจุดหลบหนี
· ทำการประยุกต์และทดสอบผลของมาตรการแก้ไขปัญหา
· ทำการป้องกันการเกิดซ้ำ
· การให้การยอมรับต่อทีมงานและรายบุคคลผู้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
Module 4: Destiny
· ร่วมมือกันลงมือทำในการแก้ปัญหา
· ปัญหาที่กำลังจะแก้ ใคร ส่วนงานไหนเข้าใจและรู้ลึกที่สุด
· กำหนดคนแก้ไข หรือส่วนงานที่ต้องรับผิดชอบ เพราะการแก้ปัญหาแบบเน้นการมีส่วนร่วม
ภาพรวมของการคิดที่ใช้รับมือกับการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
· กระบวนการคิด (Thinking Process)
· ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
· ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
· ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
· ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
· การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming)ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ
เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น
· หลักการคิดด้วยมิติ 4ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
· การดักจับความคิด (Idea spotting)
· กระบวนการจัดลำดับความคิด
· เทคนิค "สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น...ถ้ามันเป็นอย่างนี้...แล้วจะทำอย่างไร"
· เทคนิค "ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่...หรือสิ่งที่เป็นอยู่"
· เทคนิค "ตรงกันข้าม"
· เทคนิค "Mind Map"
รูปแบบหลักสูตร
1.การบรรยาย 40 %
2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติWorkshop 60%วิทยากร :อาจารย์อนุภาพ พันชำนาญ