การวิเคราะห์สาเหตุเพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกันด้วย PDCA และ 8Ds PDCA & 8Ds with RCA for Long-Term probl

15 มกราคม 2563

หลักการและเหตุผล

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เป็นการแข่งขันในการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้า ทำให้สามารถได้กำไรในการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งง่ายกว่าการขึ้นราคาสินค้ามาก การปรับปรุงขบวนการผลิต โดยใช้เครื่องมือที่ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบนั้น ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ

การบริหารงานแบบทุกคนมีส่วนร่วมเป็นแนวทางการบริหารที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นแบบอย่างเฉพาะของแต่ละองค์กร ซึ่งต้องดึงศักยภาพของบุคลากรออกมาให้ได้มากที่สุด ผ่านประสบการณ์ในการทำงาน การระดมสมอง การทำงานเป็นทีม และมีสภาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการรับการแสดงความสามารถของบุคคลากรเหล่านั้นด้วย  ซึ่งแนวทางนี้ ทุกคนจะต้องสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง (Autonomous) คนไทยเองก็มีศักยภาพ ในการแก้ปัญหาได้ดี แต่มักชอบแก้ปัญหาที่อาการหรือปลายเหตุมากกว่าแก้ที่สาเหตุรากเหง้า ดูได้จากปัญหาต่างๆ ที่แก้ไปแล้วจะกลับมาเกิดซ้ำอีก  นั่นอาจเป็นเพราะเราไม่มีวิชาที่สอนเรื่องนี้โดยตรง หรืออาจไม่ค่อยมีเวลาค้นหาสาเหตุ เพราะต้องการผลที่รวดเร็ว หลักสูตรนี้ จะช่วยให้ท่านเข้าถึงขั้นตอนและเทคนิคในการแก้ปัญหาการแสวงหาข้อเท็จจริง เพื่อนำมาวิเคราะห์สาเหตุที่เป็นรากเหง้าสมกับเป็นนักแก้ปัญหา มืออาชีพต่อไป ความหมายรวมคือการเปรียบเทียบระหว่าง จุดประสงค์(สิ่งที่ต้องการ)กับวิธีการ(วิธีที่จะทำให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ) วิธีการต่างเกินไปน้อยเกินไปหรือไม่สม่ำเสมอก็จะทำให้เกิดความสูญเปล่าได้ทั้งสิ้น ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ว่าจะมีแนวทางป้องกันแก้ไขด้วยวิธีการง่ายๆ ได้อย่างไรและสามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลเกิดประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานเพิ่มขึ้น 

         หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการทำงานได้อย่างเป็นระบบทั้งหลักการ PDCS ,8Ds report, Fish bone diagramและWhy why analysisได้อย่างเห็นผลแน่นอน เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหากับพนักงานในระดับปฏิบัติการและฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ในการแก้ไขปัญหาประจำวันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


วัตถุประสงค์

·       เพื่อสร้างแนวคิดในการเลือกใช้เครื่องมือในการลดความสูญเสียในการทำงานอย่างเป็นระบบ

·       เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ

·       เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง

·        เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างคุณภาพในการทำงานได้อย่างถูกต้อง

·        เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม

·        เพื่อเข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคในการแก้ปัญหาที่สาเหตุรากเหง้า

·       เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี

·       เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

 

หัวข้อการอบรม 

- หลักการของระบบการผลิตและงานบริการ

- ปัญหาของการทำงานที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและต้นทุนในองค์กร

-ความสำคัญของการส่งงานให้กับ"ลูกค้าภายใน"และ"ลูกค้าภายนอก"

- แนวคิดการแก้ปัญหาและลักษณะของปัญหา

- หลักการและความหมายของ"คุณภาพ"และ"จิตสำนึกคุณภาพ" ของคนที่ผลิตงาน
-การสำรวจสภาพปัจจุบันของปัญหาด้วยหลัก 5 Gen.

- เทคนิคการหาสาเหตุรากเหง้าด้วย 5 whyและปัจจัย4Mในการทำงาน
-เทคนิคการประยุกต์ใช้ why-why และแผนภูมิก้างปลา

-การตัดสินใจแก้ไขปัญหาและป้องกัน

-ความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา
-เทคนิคการระดมสมองเพื่อแก้ไขปัญหาในหน่วยงาน

- วงจรการแก้ไขปัญหาที่หน้างานด้วยหลักการ 8Ds และPDCA

-ตัวอย่างการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

Work shop: "เราเป็นใคร"เพื่อให้ตระหนักรู้ในการทำงานเป็นทีมร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา

Work shop: "ทำงานให้ไวและได้คุณภาพผ่านการทำงานเป็นทีม"

Work shop: "การทำงานเป็นทีมเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพอย่างเป็นระบบ"


รายละเอียดหลักสูตรอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิ๊ก http://www.hrdzenter.com/

สำรองที่นั่ง ติดต่อเพิ่มเติมได้ที่   คุณธนนันท์    0906450992 , 0896060444,Line : hrdzenter

www.hrdzenter.com ,E-mail: [email protected] , [email protected],  www.facebook.com/hrdzenter, 

IG : hrd_zenter


วิทยากร

อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์



สถานที่อบรม (VENUE)

Arize Hotel ซอยสุขุมวิท 26 กทม.

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

15 มกราคม 2563 09.00 - 16.00

จัดโดย

บริษัท ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 089-606-0444 , 090-645-0992

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 621 ครั้ง