การวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหา (Root Cause Failure Analysis)

28 สิงหาคม 2567


หลักการและเหตุผล

ความเข้าใจเรื่องของปัญหาและความผิดปกติ (Problem & Abnormal)ปัญหา คือ การปฏิบัติงานหรือการกระทำใด ๆก็ตามที่นอกเหนือจากที่เราต้องการ ณ เวลาใด ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

             ความผิดปกติ (Abnormality) คือ ความไม่เป็นไปตามธรรมชาติของกระบวนการที่เคยเป็นมา เช่น การออกนอกพิกัดควบคุมของแผนภูมิควบคุม (Control Chart)

             ความไม่ตรงข้อกำหนด (Nonconformity) คือ ความไม่เป็นไปตามความต้องการที่ระบุของผลิตภัณฑ์ (Specified requirement)

             ความบกพร่อง (Defect) คือ ความไม่เป็นไปตามความต้องการในการใช้งานผลิตภัณฑ์ของลูกค้า (Non - Fulfillment of a usage requirement)

        ด้วยการวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหา(Root Cause Failure Analysis : RCFA)ซึ่งเป็นขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญของการค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อ

    1. กำจัดต้นเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดความผิดปกติหรือความผิดพลาด

    2. จัดการผลที่ตามมาของปัญหาดังกล่าว และป้องกันมิให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นได้อีก

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างหลักการ จิตสำนึกสำหรับแนวคิดในการแก้ไขปัญหาเพื่อลดความสูญเสียในการผลิตและบริการอย่างเป็นระบบ

2. เพื่อส่งเสริมสร้างให้พนักงานเกิดแนวคิดการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบที่ชัดเจน พิสูจน์

 ได้ ประเมินผลได้ในเชิงคุณภาพและปริมาณ

3. สามารถนำเทคนิคการค้นหาและการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ไปใช้งานได้อย่างแท้จริงและอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับทั้งลูกค้าและผู้บริหารภายในองค์กร

4. เพื่อสร้างผลประกอบการให้ได้มากขึ้น ลดต้นทุนการดำเนินงานทั้งการผลิตและบริการ ลดระยะเวลา เพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพได้อย่างต่อเนื่องไม่มีวันสิ้นสุด

 

หัวข้อเนื้อหา   

 1. แนวคิดการวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหาการหาสาเหตุที่แท้จริง(Root Cause Failure Analysis) 

 2. ความเข้าใจเรื่องของปัญหาและความผิดปกติ(Problem & Abnormal)

 3.ระดับความสำคัญของRCFA (RCFA Significance)

 4.ขั้นตอนการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่รากเหง้า (RCFA Steps)

 5.กระบวนการวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหา (RCFA Process)

 6.วิธีการแก้ไขปัญหาแบบRCFA ได้อย่างยั่งยืน

 7.การทำRCFAและTotal data quality management

 8. ความรู้เบื้องต้นของระบบการดำเนินการแก้ไขปัญหา(Corrective Action Process)

 9. ข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เกี่ยวของต่อมุมมองด้านการแก้ไขและป้องกันปัญหา

 10. เทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาด้วยเครื่องมือ QC 7 Tools

 11. การประยุกต์ใช้ 5 Genและ 5Whyในการวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหา

 12. เทคนิคการวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหาด้วยFMEA (Failure Mode and Effects Analysis)

 13. การประยุกต์ใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา (RCFA Tools)

 14.เทคนิคการระดมสมองและการพิจารณา ตัดสินใจ และการอบรม เรียนรู้ ของพนักงานเพื่อแก้ไข

     ปัญหาในหน่วยงานให้ประสบความสำเร็จ

 15. กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ (Case Study and Best Practice)

ระยะเวลาอบรม          1 วัน วันละจำนวน 6 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.

วิทยากร                   อาจารย์อนันต์ ดีโรจนวงศ์

รูปแบบการฝึกอบรม     การบรรยาย,ให้คำปรึกษา,กรณีศึกษา



สถานที่อบรม (VENUE)

สถานที่ @ โรงแรม แรมแบรนดท์ สุขุมวิท สุขุมวิท ซอย 18 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพฯ ** สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

28 สิงหาคม 2567 09.00-16.00 น.

จัดโดย

ดีทีเอ็นเทรนนิ่ง
เบอร์ติดต่อ : 096-669-5554 ,064-325-4946

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 47 ครั้ง