การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ Project Feasibility Analysis

2 สิงหาคม 2565


หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และความกดดันจากการแข่งขันที่เข้มข้นเป็นเหตุให้งานต่างๆขององค์กรกลายเป็นงานในลักษณะเดิมที่ปฏิบัติกันในสายงานปกติขององค์กรมาเป็นงานในลักษณะโครงการมากขึ้นเรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และความต้องการของลูกค้าทำให้งานต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นงานประจำและงานที่ต้องทำซ้ำลดน้อยลง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้การบริหารโครงการ มาเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งของการบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการวิเคราะห์โครงการว่าโครงการนั้นมีความเหมาะสม มีความคุ้มค่า และมีความเป็นไปได้ที่จะมีโครงการนั้นอยู่หรือไม่ ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มโครงการใดๆ ก็ตาม เราควรจะต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการนั้นๆให้ดีเสียก่อน เพราะโครงการใหญ่ๆ ซึ่งใช้เวลานาน หรือต้องการเงินลงทุนสูง มักจะต้องขออนุมัติดำเนินการหรือขออนุมัติงบประมาณจากผู้มีอำนาจเสียก่อน ซึ่งผู้มีอำนาจจะพิจารณาจากรายงานการขออนุมัติถึงความเป็นไปได้ของโครงการเป็นสำคัญ ดังนั้นนอกจากจะต้องทำการวิเคราะห์ให้ดีแล้ว ยังจะต้องทำรายงานการขออนุมัติให้ดี และนำเสนอผลการวิเคราะห์โครงการให้ดีด้วย โครงการต่างๆจึงจะสามารถผ่านการพิจารณาอนุมัติจากผู้มีอำนาจได้นั่นเอง

 

สิ่งที่ได้รับจากการฝึกอบรม

1.    ได้เข้าใจถึงความจำเป็น และเห็นถึงความสำคัญของการทำ Project Feasibility Analysis

2.      ได้เข้าใจขั้นตอน และวิธีการในการทำ Project Feasibility Analysis

3.      ได้เข้าใจถึงวิธีการเขียนรายงานการขออนุมัติ และการนำเสนอผลการวิเคราะห์โครงการ

            

ระยะเวลาการฝึกอบรม  : 1 วัน (09.00-16.30.) 

หัวข้อการสัมมนา

1. หลักการ ความสำคัญและการเลือกโครงการ

2. ที่มาของการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ

3. ขั้นตอนในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ

   - ความเหมาะสม และความเป็นไปได้

   - ความคุ้มค่า

4.การวัดความคุ้มค่าของโครงการ

    - ส่วนที่วัดเป็นตัวเงินได้ (เชิงปริมาณ)

    - ส่วนที่วัดเป็นตัวเงินไม่ได้ (เชิงประสิทธิภาพ)

5. การพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ

   - ด้านคุณภาพ

    -ด้านการลงทุน

    - ด้านกลยุทธ์และเทคนิค

    - ด้านทรัพยากรและการปฏิบัติการ

    - ด้านเวลา

6.การเขียนรายงานการขออนุมัติโครงการ

7.เทคนิคการนำเสนอผลการวิเคราะห์โครงการ

                                                                                    

Assignment:

เตรียมโครงการล่วงหน้าของแต่ละกลุ่ม เพื่อฝึกปฏิบัติจริงในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ เขียนรายงานและนำเสนอรายงานการขออนุมัติโครงการในวันฝึกอบรม

 

วิธีการและรูปแบบการฝึกอบรม

1.บรรยาย 40%กิจกรรมการเรียนรู้60%

2.กิจกรรมกลุ่ม ทดลองปฏิบัติจริง

3.เรียนรู้จาก Caseจริง ขององค์กร เชื่อมโยงสู่การนำไปใช้งานจริง

4.ร่วมกันสะท้อนความคิด เรียนรู้ร่วมกัน

ผู้เข้าฝึกอบรม

ผู้ที่มีหน้าที่และเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ


วิทยากร


วิทยากร :อาจารย์สุกิจ ตรียุทธวัฒนา



สถานที่อบรม (VENUE)

สถานที่ โรงแรมโนโวเทล ซอยสุขุมวิท 20 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพ หรือเลือกอบรม Online ผ่าน Program Zoom

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

2 สิงหาคม 2565 9.00-16.00น.

จัดโดย

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 090 645 0992 , 089 606 0444

ค่าธรรมเนียม (FEE)

2500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 337 ครั้ง