การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้า (Customer Demand Forecasting)

11 ตุลาคม 2567


หลักการและเหตุผล

        การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้านั้น มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากในธุรกิจการผลิตและการขายสินค้าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากมีความไม่แน่นอนหรือความแปรปรวนในความต้องการสินค้าของลูกค้าอยู่เสมอและผู้ผลิตไม่สามารถควบคุมหรือจัดการให้อยู่ในความควบคุมได้โดยง่าย โดยเฉพาะในปัจจุบันการแข่งขันการผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ามีความเข้มข้นและรุนแรงเป็นอย่างมาก ผู้ใดสามารถผลิตและขายสินค้าได้ตามที่ลูกค้าต้องการอย่างแท้จริงย่อมเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน ส่วนผู้ใดไม่สามารถผลิตและขายสินค้าให้กับลูกค้าได้ตามที่ลูกค้าต้องการก็จะต้องล่มสลายไปในที่สุด โดยมีปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้เกิดการล่มสลายได้เช่น ธุรกิจขาดความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการสินค้าของลูกค้า,สินค้าที่ผลิตล้าสมัยและไม่ตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริง,การแข่งขันด้านราคา,นวัตกรรมการผลิตสินค้าที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วจนธุรกิจปรับตัวตามไม่ทัน, การขาดความเอาใจใส่ของเจ้าของธุรกิจ,ปัญหาด้านการเงิน, ปัญหาด้านการผลิตและการวางแผนการผลิต ตลอดจนปัญหาด้านการจัดการโซ่อุปทาน

 

วัตถุประสงค์

1.       เพื่อสามารถผลิตสินค้าได้ใกล้เคียงปริมาณความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

2.       เพื่อสามารถผลิตและชายสินค้าตามปริมาณและเวลาที่ลูกค้าต้องการได้อย่างใกล้เคียงมากขึ้น

3.       ลดต้นทุนการผลิตสินค้าได้ โดยไม่ต้องผลิตสินค้าก่อนการส่งมอบทุกครั้ง ด้วยการลดเวลาการSetupเครื่องจักร และลดเวลาการใช้เครื่องจักรรวมถึงพนักงานในการผลิตสินค้านอกเวลา(Over time)

4.       ลดจำนวนเครื่องจักรในการผลิตในกรณีที่มีคำสั่งซื้อมากๆหรือบ่อยๆ

5.       ลดปริมาณสินค้าคงคลังลงได้ ด้วยการเพิ่มรอบการหมุนเวียนสินค้าได้เร็วขึ้น รวมถึงทำให้ต้นทุนการถือครองสินค้าต่ำลง

 

หัวข้อการอบรม

-     ความหมายและประโยชน์ของการพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้า

-     การกำหนดขอบเขตและระยะเวลาของการพยากรณ์อย่างได้ผล (Forecast Horizontal and Purpose)

-     ข้อมูลและขั้นตอนของการพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้า (Data Collection& Preparation and Process)

-     รูปแบบของความต้องการสินค้าของลูกค้า (Demand Trend)

-     การพยากรณ์ข้องมูลแบบเป็นฤดูกาล (Seasonal Trend Forecasting)

-     การกำหนดปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (Economic Order Quantity)

-     ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดค่า Stock levels (Factors to consider in determining stock levels)

-     การกำหนดค่า Safety Stockและรอบการสั่งซื้อที่เหมาะสม

 

ระยะเวลา      1 วัน จำนวนวันละ 6 ชั่วโมง เวลา 9.00- 16.00 น.

 

รูปแบบการฝึกอบรม    การบรรยาย, ให้คำปรึกษา แนะนำ,กรณีศึกษา 

 

กลุ่มเป้าหมาย  กลุ่มหลัก  ผู้บริหารระดับสูง/ระดับกลาง หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ ฝายปฏิบัติการผลิต, ฝ่ายวางแผนการผลิต ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ,ฝ่ายซ่อมบำรุง, ฝ่ายคลังสินค้า วิศวกร และฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 


สถานที่อบรม (VENUE)

สถานที่ @ โรงแรม แรมแบรนดท์ สุขุมวิท สุขุมวิท ซอย 18 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพฯ ** สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

11 ตุลาคม 2567 09.00-16.00 น.

จัดโดย

ดีทีเอ็นเทรนนิ่ง
เบอร์ติดต่อ : 096-669-5554 ,064-325-4946

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 38 ครั้ง