การประยุกต์ใช้แนวคิด ไคเซ็น ในการทำงาน How to implementing Kaizen

14 พฤษภาคม 2564


หลักการและเหตุผล

ในโลกการแข่งขันทางอุตสาหกรรมปัจจุบัน องค์กรธุรกิจต่างมุ่งแสวงหาแนวทางการผลิต, การบริหารกระบวนการที่จะสามารถตอบโจทย์ทางด้านการแข่งขันได้  ทั้งเรื่องคุณภาพ ต้นทุนการผลิต และระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตจนถึงการส่งมอบ  ดังนั้นการบริหารการผลิตและการสีส่วนร่วม จึงมีความสำคัญอย่างมาก การบริหารจัดการได้ดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลย่อมจะทำให้ผลลัพธ์ Q C D (Quality, Cost, Delivery)เป็นที่พึงพอใจจนถึงเกินความคาดหมายของลูกค้าได้ ทำให้องค์กรสามารถแข่งขันได้และเติบโตอย่างยั่งยืน

ความสำเร็จทางด้านการบริหารงาน หมายถึงความสามารถในการผลิตสินค้าได้ตรงตามเป้าหมาย ทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด ความสามารถในการผลิตที่ถูกต้องนั้น ควรเทียบกับข้อสมมุติฐานที่กำลังการผลิตสม่ำเสมอ ตลอดระยะเวลาที่มีทั้งหมดของปีการปรับปรุงขบวนการทำงาน โดยใช้เครื่องมือที่ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ การปรับปรุงการทำงานด้วยตัวบุคคลากรภายในเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากบริษัทใดให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปรับปรุงงานด้วยKAIZEN ให้กับพนักงานแล้วนั้น ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เช่นลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาความเสียหาย ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไข การรอคอยงาน  การขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับบุคลากรภายในได้อีกด้วย

คุณลักษณะของไคเซ็นจะเน้นการปรับปรุงทีละเล็กละน้อยและเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยการปรับปรุงสามารถทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นทีมก็ได้การทำ ไคเซ็นให้ประสบความสำเร็จต้องมีทัศนคติที่ดีได้แก่ต้อง ละทิ้งความคิดเก่าที่ว่าไม่สามารถทำได้และคิดใหม่ว่าทุกอย่างสามารถทำได้ (Can do) ,อย่ายอมรับคำแก้ตัว ,ไม่ต้องแสวงหาความสมบูรณ์แบบของการปรับปรุงงานก่อนลงมือทำ ,ไม่จำเป็นต้องใช้เงินหรือทรัพยากรมากมายเพื่อทำการปรับปรุง, การปรับปรุงให้ดีขึ้นนั้นไม่มีจุดสิ้นสุดหรือไม่มีจุดจบเป็นต้น

โดยหลักสูตรนี้จะช่วยให้เข้าใจการแนวคิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น เรียนรู้วิธีการค้นหาจุดที่ควรปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานไคเซ็นแนวทาง/เทคนิคการปรับปรุงงาน ด้วยเครื่องมือต่างๆ โดยมีแนวทางประยุกต์ใช้ในงานของตนเองต่อไป ดังนั้นหากองค์กรได้มีการส่งเสริมสนับสนุนแนวคิด "การปรับปรุงงานด้วยKAIZEN"ดังที่กล่าวมาแล้ว องค์กรจะได้รับการพัฒนาโดยพนักงานทุกระดับและเป็นวัฒนธรรมในองค์กรอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ถึงแนวคิดและวิธีการประยุกต์การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องด้วย ไคเซ็น
2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานและลดต้นทุนในการทำงาน
3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

 

หัวข้อการอบรม (3ชั่วโมง)

1.หลักการเขียนข้อเสนอแนะของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน
วัตถุประสงค์:เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงหลักการเบื้องต้นในการนำไคเซ็น มาใช้ในองค์กร รวมถึงการเขียนข้อเสนอแนะวิธีการปรับปรุงงาน
2.ขั้นตอนและเครื่องมือในการปรับปรุงงานด้วยKaizen
วัตถุประสงค์:เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงขั้นตอนในการปรับปรุงงานและเครื่องมือที่ก่อให้เกิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น

3.ประเภทของ ไคเซ็นในการปรับปรุงงานในองค์กร
วัตถุประสงค์:เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้ถึงประเภทและลักษณะของการปรับปรุงงานของ KAIZEN

4.วิธีการปรับปรุงงานโดยความคิดสร้างสรรค์ตามหลัก เลิก/ลด/เปลี่ยน (ECRS)
วัตถุประสงค์:เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้ถึงเทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบได้อย่างเหมาะสม

5.Workshopกิจกรรม : "คิดอย่างKAIZEN"

 

กลุ่มเป้าหมาย

หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป

 

รูปแบบการสัมมนา

1.      การบรรยาย                              40%

2.      เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติWorkshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม     50%

3.      กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์        10 %

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานไคเซ็นอย่างถูกต้องชัดเจน

2.พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงงานเพื่อยกระดับคุณภาพประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการทำงานอย่างต่อเนื่อง

3.สามารถนำไคเซ็นไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของตนเองอย่างถูกต้อง

4.พนักงานสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับปรุงร่วมกับกิจกรรมหรือโครงการปรับปรุงต่างๆได้อย่างเหมาะสม


วิทยากร


วิทยากร :อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์



สถานที่อบรม (VENUE)

อบรมออนไลน์ Zoom

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

14 พฤษภาคม 2564 13.00 - 16.00 น

จัดโดย

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 090 645 0992 , 089 606 0444

ค่าธรรมเนียม (FEE)

1500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 602 ครั้ง