การบริหารงานบุคคล กรณีสอบสวนความผิด กำหนดลงโทษทางวินัย หรือเลิกจ้าง

18 เมษายน 2565


วัตถุประสงค์

1.             เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงการออกระเบียนปฏิบัติ เพื่อมิให้พนักงานปฏิบัติตนผิดวินัยในการทำงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายแรงงาน

2.             เพื่อให้ผู้บริหาร-หัวหน้างาน-HR. ทราบเทคนิคการไกล่เกลี่ยปัญหา-การระงับข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นในองค์กร-การพิจารณาความผิดเพื่อลงโทษทางวินัยตามข้อบังคับฯกรณีใดลงโทษเป็นหนังสือเตือนหรือเลิกจ้างได้

3.             เพื่อทราบถึงการออกหนังสือเตือน-การออกหนังสือเลิกจ้างเขียนได้ดี ให้ครอบคลุมความผิดเพื่อให้มีผลในการต่อสู้คดีในศาล กรณีลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานต้องเขียนอย่างไร..

 หัวข้อการสัมมนา

               หมวด 1: การออกระเบียบปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารงาน

1.             ประเภท มาทำงานสายบ่อยๆทุกอาทิตย์-ทุกเดือน หัวหน้างานตักเตือนแล้วไม่สนใจ-ไม่ปรับตัวให้ดีขึ้นจนกลายเป็นที่หนึ่งของแผนกและมีเพื่อนร่วมงานตั้งฉายาให้ นายจ้างต้องจัดการอย่างไร..?

·        มีตัวอย่าง การเขียนระเบียบปฏิบัติการมาปฏิบัติงาน แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

2.             ลางานไม่ถูกระเบียบบ่อยๆ เช่น โทรลางาน-ไลน์ลางาน-ฝากเพื่อนลางานให้-ชอบลาย้อนหลังหรือยังไม่อนุมัติการลางานก็หยุดงานไป -หัวหน้างานปกครองไม่ได้จะต้องออกกฎเหล็กอย่างไร..?

·        มีตัวอย่าง การเขียนระเบียบปฏิบัติการลางาน แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

3.             หัวหน้างานกำหนดลงโทษทางวินัย เป็นหนังสือเตือน เพื่อให้การเตือนมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายแรงงานหรือการกำหนดความผิดลงในการเตือนต้องมีข้อความอย่างไร..?

·        มีตัวอย่าง การออกหนังสือเตือนการทำผิดวินัย แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

4.             ลางาน-หยุดงานมากหรือมีปัญหาเรื่องสุขภาพ  อยากเลิกจ้างก่อนเกษียณงาน ตามข้อบังคับในการทำงาน เพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลัง นายจ้างต้องทำอย่างไร..?

·        มีตัวอย่าง การออกหนังสือเลิกจ้างพนักงานกรณีนี้ แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

5.             ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ โควิด-19ระบาดอยากเลิกจ้างพนักงาน เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลังได้ นายจ้างต้องแจ้ง-ต้องจ่ายอย่างไร..?

·        มีตัวอย่าง การออกหนังสือเลิกจ้างกรณีนี้ แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมา

6.             กรณี ลูกจ้างลาออก จู่ๆ ก็ฟ้องศาลแรงงานซึ่งบรรยายฟ้องว่า ถูกบีบบังคับให้ลาออก นายจ้างต้องทำอย่างไร...แนวทางการแก้ปัญหาระยะยาว นายจ้างต้องกำหนดข้อห้ามไว้ในหนังสือลาออกอย่างไร..?

·        มีตัวอย่าง การออกหนังสือลาออกจากการเป็นลูกจ้าง แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

หมวด 2 : การพิจารณาความผิดเพื่อกำหนดลงโทษทางวินัยหรือเลิกจ้าง

7.             นายจ้างบอกเลิกจ้างหรือลูกจ้างลาออกจากงาน ด้วยวาจา-ด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิคส์-ทางอีเมล์   ทางไลน์-ทางโทรศัพท์ จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่..เพราะอะไร..?

·       ยกตัวอย่าง การออกจากงานในกรณีต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

8.             กรณีลูกจ้าง ทำผิดวินัยร้ายแรงแล้วออกจากงานไป นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง-ไม่จ่ายเงินประกันการทำงานให้ ทำได้ไหม..เพราะอะไร?

·        ยกตัวอย่าง การออกจากงานที่มีความผิดในกรณีต่างๆ  พร้อมคำอธิบาย

9.             ความผิดที่ผู้บริหาร-หัวหน้างานเป็นผู้ลงโทษพนักงานเป็นความผิดลักษณะใด..?

·        ยกตัวอย่าง การปฏิบัติตนผิดวินัยในการทำงาน พร้อมคำอธิบาย

10.     ความผิดที่ผู้บริหารงานบุคคล (HR.) เป็นผู้ลงโทษพนักงานเป็นความผิดลักษณะใด...?

·        ยกตัวอย่าง การปฏิบัติตนผิดระเบียบต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

11.     ฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติความปลอดภัยในการทำงานทำไม...มีกรณีเลิกจ้างได้และเลิกจ้างไม่ได้

·        ยกตัวอย่าง การทำผิดระเบียบปฏิบัติกรณีต่างๆ  พร้อมคำอธิบาย

12.     ฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติ ดื่มสุราหรือเสพสารเสพติดแล้วเข้ามาทำงาน ทำไม...มีกรณีเลิกจ้างได้และเลิกจ้าไม่ได้

·        ยกตัวอย่าง การทำผิดระเบียบปฏิบัติกรณีต่างๆ  พร้อมคำอธิบาย

13.     ทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงานในเวลาทำงานทำไม..เลิกจ้างได้และเลิกจ้างไม่ได้..?

·        ยกตัวอย่าง การทำผิดวินัยชกต่อยกันในกรณีต่างๆ  พร้อมคำอธิบาย

14.     ความผิดที่พิจารณากำหนดลงโทษทางวินัยเป็นหนังสือเตือน-หรือพักงานเป็นความผิดลักษณะใด..?

·        ยกตัวอย่าง การทำผิดในกรณีต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

15.     มีความผิดเกิดขึ้นและได้ออกหนังสือลงโทษทางวินัย กรณีผู้ถูกลงโทษไม่ยอมรับในหนังสือเตือน-หรือหนังสือสั่งพักงาน นายจ้าง-ผู้บริหาร-ต้องกำเนินการอย่างไร..?

·        ยกตัวอย่าง การทำผิดในกรณีต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

16.     เมื่อลูกจ้างลาออก-ถูกปลดออก-ไล่ออก หรือถูกเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง-เงินประกันการทำงานให้กับลูกจ้างเมื่อใด...เพราะ จะมีผลต่อการเสียค่าดอกเบี้ยและเสียเงินเพิ่มทุกๆ7วัน

·        ยกตัวอย่าง การจ่ายค่าจ้าง-เงินประกันการทำงาน พร้อมคำอธิบาย

17.     เมื่อลูกจ้างออกจากงานมีสิทธิได้รับ-วันลากิจได้รับค่าจ้าง-วันลาพักผ่อนประจำปี-วันลาพักผ่อนสะสมอย่างไร.?

·        ยกตัวอย่าง การออกจากงานในกรณีต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

18.     นายจ้างมีนโยบายแก้ไขข้อบังคับในการทำงาน เพื่อตัด หรือเพิ่มเติมในหมวดต่างๆต้องดำเนินการอย่างไร..?

·        ยกตัวอย่าง การแก้ไขในหมวดต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

19.     ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานหรือร้องต่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่แตกต่างกันอย่างไร..หรือในกรณีสวัสดิการการคุ้มครองแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่าย  นายจ้างไม่ให้-ไม่มี-ไม่หนี-ไม่จ่าย ต้องดำเนินการอย่างไร..?

·        ยกตัวอย่าง การสั่งให้จ่ายในกรณีต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

20.     กรณีมีคดีฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับตามฟ้องเป็นความผิดที่ถูกเลิกจ้างลักษณะใด..?

·        ยกตัวอย่าง กรณีถูกเลิกจ้างในกรณีต่างๆ  พร้อมคำอธิบาย

หมวด 3 : มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

21.     ลูกจ้างไม่ได้นำเงินจากการขายสินค้าเข้าเครื่องระบบ เซตเชียร์ภายในวันนั้นทันทีหลังจากปิดการขาย ตามระเบียบปฏิบัติ จะมีความผิดอย่างไร..?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

22.     อาศัยอำนาจหน้าที่ชักชวนหญิงที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา ออกไปเที่ยวในเวลาค่ำคืน นอกเวลาทำงานหากไม่ไปจะเสนอความเห็นไม่ผ่านการทดลองงาน จะมีความผิดอย่างไร..?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

23.     นำภาพถ่ายรูปเปลือยของหญิงที่ตนร่วมประเวณีอยู่-ที่ตนบันทึกไว้ ออกเผยแพร่ทางสื่อโซเชียล ซึ่งระบุว่าตนเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ แผนก....ได้กระทำนอกเวลาทำงาน-นอกสถานที่ทำงาน จะมีความผิดอย่างไร..?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

24.     ใช้ของแหลมมีคมกรีดรถยนต์ของ-ผู้บริหาร-หัวหน้างาน หรือเพื่อนร่วมงานที่จอดอยู่ ในที่นายจ้างจัดให้จนได้รับความเสียหาย จะมีความผิดอย่างไร..?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

25.     จ่ายค่าพาหนะให้ลูกจ้างไปทำงานนอกสถานที่ เป็นรายเดือน เป็นการให้ตามตำแหน่งงานเมื่อเลื่อนตำแหน่งงานจะมีสิทธิได้รับหรือไม่....ถือว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่...เพราะอะไร...?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

26.     ทำสัญญารับลูกจ้างเข้าทำงาน ลูกจ้างจึงลาออกจากงาน เพื่อมาทำงานด้วย เมื่อถึงวันทำงานนายจ้างบอกยกเลิกสัญญา(ไม่รับเข้าทำงาน) นายจ้างจะมีความผิดอย่างไร..?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

27.     การรับทรัพย์สินจากผู้มาติดต่องานกับนายจ้างไม่ว่าลูกจ้างจะเรียกรับหรือรับในกรณีใดๆ เป็นความผิดสถานใด..?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้  พร้อมคำอธิบาย

28.     คอมพิวเตอร์ที่ลูกจ้างใช้ในการทำงานซึ่งเป็นของนายจ้าง มีคลิปภาพเปลือยของชายและหญิงโดยไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้แจกจ่ายให้แก่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้อื่น เป็นความผิดสถานใด...?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

29.     ลูกจ้างรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมควรต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จะมีความผิดอย่างไร..?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

30.     ทำกิริยา-ท่าทางและด่าทอผู้บังคับบัญชาต่อลูกจ้างอื่น จะมีความผิดสถานใด.?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

31.     มีนโยบายให้ลูกจ้างออกจากงานโดยไม่มีความผิด โดยให้ผลตอบแทนตามกำหนด ลูกจ้างสนใจข้อตกลงจึงลาออกและทำบันทึกร่วมกันเพื่อประกอบกับหนังสือเลิกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องเพื่อเรียกร้องค่าต่างๆภายหลังหรือไม่..?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

32.     ลูกจ้างขออนุญาตออกไปทำธุระส่วนตัวนอกสถานที่ทำงานได้ดื่มสุราแล้วเข้ามาทำงานและไม่ได้ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จะมีความผิดสถานใด..?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

33.     ในเวลาทำงานลูกจ้างรับซื้อสลากกินรวม จะมีความผิดสถานใด...?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

34.     ทำสัญญาค้ำประกันเพื่อประกันความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างเมื่อลูกจ้างทำผิดและออกงานไปผู้ค้ำประกันจะมีความผิดร่วมและชดใช้ค่าเสียหาย ตามกฎหมายใหม่ในอัตราเท่าใด..?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

35.     กรณีประธานบริษัทฯพูดกับลูกจ้างว่าถ้าทำอย่างนี้ไม่ได้ ให้ลาออกไป เมื่อลูกจ้างออกจากงานในวันนั้นเลยจะได้รับสิทธิตามกฎหมายแรงงานอย่างไร..?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

36.     ลูกจ้างทำผิดอาญาต่อนายจ้างได้มีการเจรจากันตกลงกันว่า นายจ้างจะไม่ดำเนินคดีอาญาต่อลูกจ้าง ส่วนลูกจ้างจึงทำบันทึกว่าสลสิทธิจะไม่เรียกร้องสิ่งใดๆต่อนายจ้างและลาออกจากการเป็นพนักงานของบริษัทฯไป กรณีนี้ลูกจ้างฟ้องนายจ้างภายหลังเพื่อเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายแรงงานได้ไหม...เพราะอะไร...?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

37.     เมื่อนายจ้างเลิกจ้างได้หักค่าจ้างของลูกจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหายที่ลูกจ้างได้ทำขึ้น ทำได้ไหม...เพราะอะไร...?

·        มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

38.     เลิกจ้างไม่เป็นธรรมหมา

วิทยากร


วิทยากร อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า



สถานที่อบรม (VENUE)

สถานที่ โรงแรมโนโวเทล ซอยสุขุมวิท 20 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพ หรือเลือกอบรมเป็นแบบ Online ผ่าน Program Zoom ได้

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

18 เมษายน 2565 9.00-16.00 น.

จัดโดย

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 090 645 0992 , 089 606 0444

ค่าธรรมเนียม (FEE)

2500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 491 ครั้ง