การดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ Effectiveness QCC activity อบรมออนไลน์ Zoom

6 พฤษภาคม 2564


หลักการและเหตุผล

การควบคุมคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นบทบาทสำคัญยิ่งต่อโรงงานนั้นๆ ซึ่งหลักการควบคุมคุณภาพ ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปต่างจากอดีตมากและได้เกิดเครื่องมือในการควบคุมคุณภาพอยู่หลายวิธี เช่นQC Story , QCC (Quality control circle)และQC 7 Toolsหรือเครื่องมือจัดการคุณภาพ 7ชนิด ซึ่งเป็นเครื่องมือทางสถิติอย่างง่ายๆ ที่สามารถนำมาช่วยในการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง เป็นระบบและเป็นขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ค้นพบปัญหาที่แท้จริงจากข้อมูลที่มีอยู่เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในกระบวนการผลิตนั้นๆ ด้วย การลดปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหาที่ถูกต้อง ถือเป็นหน้าที่ของพนักงานและผู้บริหารทุกคน ดังนั้น ทุกคนต้องมีความรู้ จิตสำนึก การสังเกต หาสาเหตุ และหาแนวทางแก้ไขป้องกัน เพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งเป็นหนทางที่ใช้ในการปรับปรุง เพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิตขององค์กรให้ยั่งยืนได้นั่นเอง

               หลักสูตรนี้จึงเป็นการให้ความรู้ของการทำกิจกรรมกลุ่มQCCอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดของการทำระบบTQM (Total Quality Management)ตั้งแต่เรื่องของ คุณภาพในการทำงาน การค้นหาปัญหา การทำงานเป็นทีม องค์ประกอบของการดำเนินกิจกรรม ขั้นตอนต่างๆ รวมไปจนถึงการนำเสนอผลงาน ซึ่งหลักสูตรได้ถูกออกแบบ Workshopให้เข้าใจได้ง่าย ตั้งแต่ขั้นตอนการรวมกลุ่มไปจนถึงขั้นตอนทั้ง 7 ของการทำQC Storyที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงหลังการฝึกอบรม

 

วัตถุประสงค์

·      เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท

·      เพื่อทราบถึงเครื่องมือจัดการคุณภาพ ทั้ง 7ชนิด หรือ QC 7 Tools

·      เพื่อรู้แนวทางการประยุกต์ใช้กับการควบคุมคุณภาพการผลิตของหน่วยงานตนเองได้

·      เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม QCCอย่างเป็นระบบ

·      เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ

·      เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง

·       เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง

·       เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม

·       เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี

·      เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

 

 

หัวข้อการอบรม

1.องค์ประกอบของธุรกิจ ต้นทุน กำไร และรายได้

2. การลดต้นทุนการผลิต จากการทำงานประจำวัน

3. ปัญหาของการทำงานตามหลักการ4Mเพื่อใช้ในการทำกิจกรรม

4. ความหมายของคุณภาพในปัจจุบันและความอยู่รอดขององค์กร

5. ความเป็นมาและความหมายของระบบคุณภาพ ที่เกี่ยวข้องกับ QCC

6. เรียนรู้การใช้เครื่องมือQC 7 Toolsในการแก้ไขปัญหา

7.เทคนิคการทำQC Story7ขั้นตอน ให้ถูกต้องสมบูรณ์

               7.1 จัดตั้งกลุ่มและค้นหาหัวข้อปัญหา

7.2สำรวจสภาพปัจจุบัน

7.3วางแผนกิจกรรม

7.4 วิเคราะห์สาเหตุ

7.5 กำหนดแผนการแก้ไขและดำเนินการตามแผน

7.6ตรวจสอบผล

7.7กำหนดมาตรฐาน/จัดทำรายงาน

8.องค์ประกอบและหน้าที่ที่สำคัญของกลุ่มกิจกรรมQCC

               8.1 หัวหน้ากลุ่ม

               8.2 เลขานุการกลุ่ม หรือผู้ประสานงานกลุ่ม

               8.3 สมาชิกกลุ่ม

               8.4 ที่ปรึกษากลุ่ม

9.แนวคิดของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ด้วยPDCA

Workshop เรียนรู้ขั้นตอนการจัดทำกลุ่มคุณภาพQCC (Small group activity)

 

\

กลุ่มเป้าหมาย

หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป

 

รูปแบบการสัมมนา

1.             การบรรยาย                                         40%

2.             เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติWorkshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม          50%

3.             กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์             10 %

 

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

               1.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการใช้ QC Storyอย่างถูกต้อง

               2.ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการของ QCCไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               3.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น

               4.ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกเรื่องคุณภาพและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

               5.ผู้เข้าอบรมมีสำนึกการรักองค์กรมากขึ้น

 


วิทยากร


วิทยากร :อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์



สถานที่อบรม (VENUE)

อบรมออนไลน์ Zoom

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

6 พฤษภาคม 2564 13.00 - 17.00 น

จัดโดย

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 090 645 0992 , 089 606 0444

ค่าธรรมเนียม (FEE)

1900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 439 ครั้ง