หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ได้มีการนำระบบการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากลเข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการกระบวนการในองค์กร เพื่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมาย ทิศทางและกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กร และสอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล ซึ่งระบบการบริหารจัดการที่ได้รับความเชื่อถือและการยอมรับระดับโลก ได้แก่ระบบการบริหารจัดการที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน International Organization for Standardization ซึ่งมีข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานสากลสำหรับแต่ละระบบ อาทิ
· ISO 9001:2015 ระบบการบริหารคุณภาพ Quality Management System
· ISO 14001:2015 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม Environmental Management System
· ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย Occupational Health & Safety Management System
· ISO 50001:2018 ระบบการจัดการพลังงาน Energy Management System
· IATF 16949:2016 ระบบการบริหารคุณภาพสำหรับกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์
"การจัดทำและควบคุมเอกสาร Document Control" นับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในการนำระบบการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐานสากลข้างต้นนี้มาประยุกต์ใช้ โดยมีข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารและการควบคุมเอกสาร ซึ่งระบุเป็นข้อกำหนด 7.5 ว่าด้วยเรื่องเอกสารสารสนเทศ Documented Information ของระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 เพื่อใช้เป็นหลักการและแนวปฏิบัติในการจัดทำเอกสาร และการปรับปรุงให้ทันสมัย Creating & Updating ตามข้อกำหนด 7.5.2 และการควบคุมเอกสารสารสนเทศ Control of Documented Information ตามข้อกำหนด 7.5.3 เพื่อใช้เป็นคู่มือการบริหารจัดการ Manual ระเบียบปฏิบัติงาน Procedure วิธีปฏิบัติงาน Work Instruction แบบฟอร์ม Form /บันทึก Record และเอกสารสนับสนุน Support Document สำหรับระบบการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากลอื่นๆ ก็มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าให้นำหลักการและแนวปฏิบัติเรื่องเอกสารสารสนเทศ Documented Information ข้อกำหนด 7.5 ของระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 นี้ ไปบังคับใช้ในหลักการและแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน
สำหรับหลักสูตร "การจัดทำและควบคุมเอกสาร Document Control สำหรับ ISO ทุกระบบ" นี้เป็นหลักสูตรที่จะช่วยให้ผู้เข้าอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องเอกสารสารสนเทศ Documented Information ของแต่ละระบบ อย่างครบถ้วนถูกต้อง ทั้งการจัดทำและการปรับปรุงให้ทันสมัย Creating & Updating การจัดทำคู่มือของระบบ ได้แก่ คู่มือคุณภาพ Quality Manual, คู่มือสิ่งแวดล้อม Environmental Manual และคู่มือระบบการบริหารจัดการอื่นๆ การเขียนระเบียบปฏิบัติงาน Procedure, วิธีปฏิบัติงาน (ขั้นตอนปฏิบัติงาน) Work Instruction, การกำหนดแบบฟอร์ม Form การกำหนดเอกสารสนับสนุน Support Document สำหรับแต่ละกระบวนการ รวมถึงการควบคุมเอกสาร Control of Documented Information การกำหนดรูปแบบ รหัสเอกสาร การจัดทำ Master List, Holder List การจัดทำและการใช้ใบร้องขอจัดทำเอกสารDocument Action Request ( DAR) การขอออกเอกสารใหม่ New Issue การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง Revise - Change การขอยกเลิกเอกสารในระบบ Cancelled Document การกำหนดตารางควบคุมบันทึกคุณภาพ การบันทึกการเปลี่ยนแปลงเอกสาร Revision Record การขออนุมัติทำลายเอกสารในระบบ เอกสารควบคุมและเอกสารไม่ควบคุม Control & Uncontrol Document การเก็บสำรองข้อมูล Back up และการจัดเก็บเอกสารทางอิเล็คทรอนิกส์
ในหลักสูตรนี้ ยังอธิบายความเหมือนและความแตกต่างในการจัดทำเอกสาร และการควบคุมเอกสารสารสนเทศของแต่ละระบบ พร้อมยกตัวอย่างและเทคนิคในการจัดทำและควบคุมเอกสารหลายระบบในคราวเดียวกันแบบควบรวม Integrated Document Control for Any ISO เพื่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการทำงาน สามารถจัดทำและควบคุมเอกสารหลายๆ ระบบในคราวเดียวกันด้วยบุคลากรชุดเดียวกัน เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรในทิศทางเดียวกัน และยังทำให้เกิดความพร้อมในการตรวจติดตามภายใน Internal Audit และการตรวจประเมินจาก Certify อีกด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจระบบเอกสารสารสนเทศ และสามารถจัดทำและการควบคุมเอกสารของแต่ละระบบได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ทั้งการกำหนดประเภทเอกสาร การกำหนดรูปแบบและภาษาที่ใช้ในเอกสาร การกำหนดรหัสเอกสาร การขอออกเอกสารใหม่ การแก้ไขเปลี่ยนแปลง การยกเลิกเอกสารในระบบ การจัดทำบัญชีรายชื่อเอกสารในระบบ การชี้บ่งความทันสมัยของเอกสาร การกำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดทำ การทบทวนและการอนุมัติเอกสารแต่ละประเภท เพื่อให้เกิดความพร้อมของเอกสารที่จำเป็นต้องมีในแต่ละกระบวนการอย่างถูกต้องครบถ้วน
2. เพื่อให้สามารถควบคุมเอกสารในระบบ ทั้งการเข้าถึง การค้นหา การจัดเก็บ การแจกจ่าย การใช้งาน การสำรองข้อมูล การขออนุมัติทำลายเอกสารแต่ละประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน สามารถบันทึก วิเคราะห์ ประเมินผลและสอบกลับได้
3. เพื่อให้บุคลากรในองค์กรสามารถจัดทำและควบคุมเอกสารสารสนเทศของแต่ละระบบได้ในคราวเดียวกัน ทำให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการบริหารจัดการอย่างถูกต้องครบถ้วนและเป็นการเตรียมพร้อมในการตรวจติดตามภายใน และตรวจประเมินจาก Certify อีกด้วย
เนื้อหาหลักสูตร:
บทที่ 1 : ระบบการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากล International Organization for Standardization
· ความเป็นมา ประเภท และ Time Line ของระบบการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากล
· ข้อกำหนดระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015
. กฎหมาย ข้อกำหนดของลูกค้าหรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 : ระบบเอกสารสารสนเทศ Documented Information สำหรับ ISO ทุกระบบ
· ความสำคัญ และความจำเป็นของระบบเอกสารสารสนเทศ Documented Information
· ประเภทของเอกสารสารสนเทศในระบบการบริหารจัดการสำหรับ ISO แต่ละระบบ
· หลักเกณฑ์ในการกำหนดรูปแบบ ภาษา รหัสเอกสารในระบบเอกสารสารสนเทศที่เหมาะสม
· การกำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดทำ การทบทวน และการอนุมัติเอกสารแต่ละประเภท
บทที่ 3 : การจัดทำคู่มือคุณภาพ คู่มือสิ่งแวดล้อม และคู่มือระบบบริหารจัดการสำหรับ ISO ทุกระบบ
· ความหมายและความสำคัญของคู่มือการบริหารจัดการ Manual สำหรับ ISO
· องค์ประกอบสำคัญที่ต้องมีในคู่มือการบริหารจัดการ Manual สำหรับ ISO
· รูปแบบการเขียนคู่มือการบริหารจัดการ Manual สำหรับ ISO
· ตัวอย่างในการจัดทำคู่มือการบริหารจัดการ สำหรับ ISO
· ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำคู่มือการบริหารจัดการ Manual สำหรับ ISO
· เคล็ดลับสำคัญของการจัดทำคู่มือการบริหารจัดการ Manual สำหรับ ISO ที่ดี
บทที่ 4 : การจัดทำระเบียบปฏิบัติงาน Procedure สำหรับ ISO ทุกระบบ
· ความหมายและความสำคัญของระเบียบปฏิบัติงาน Procedure
· องค์ประกอบสำคัญของการเขียนระเบียบปฏิบัติงาน Procedure
· รูปแบบการเขียนระเบียบปฏิบัติงาน Procedure
· ตัวอย่างของการเขียนระเบียบปฏิบัติงาน Procedure ที่ถูกต้อง
· ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการเขียน ทบทวน และอนุมัติ Procedure ที่เหมาะสม
· สรุปความเหมือนและความแตกต่างของระเบียบปฏิบัติงาน Procedure ของ ISO แต่ละระบบ
· เคล็ดลับสำคัญของการเขียนระเบียบปฏิบัติงาน Procedure ที่ดี
บทที่ 5 : การจัดทำวิธีปฏิบัติงาน - ขั้นตอนปฏิบัติงาน Work Instruction - WI สำหรับ ISO ทุกระบบ
· ความหมายและความสำคัญของวิธีปฏิบัติงาน (ขั้นตอนปฏิบัติงาน) Work Instruction
· องค์ประกอบสำคัญของการเขียนวิธีปฏิบัติงาน (ขั้นตอนปฏิบัติงาน) Work Instruction
· รูปแบบการเขียนวิธีปฏิบัติงาน (ขั้นตอนปฏิบัติงาน) Work Instruction
· ตัวอย่างของการเขียนวิธีปฏิบัติงาน (ขั้นตอนปฏิบัติงาน) Work Instruction ที่ถูกต้อง
· ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการเขียน ทบทวน อนุมัติวิธีปฏิบัติงาน Work Instruction ที่เหมาะสม
· สรุปความเหมือนและความแตกต่างของวิธีปฏิบัติงาน Work Instruction ของ ISO แต่ละระบบ
· เคล็ดลับสำคัญของการเขียนวิธีปฏิบัติงาน (ขั้นตอนปฏิบัติงาน) Work Instruction ที่ดี
บทที่ 6 : การจัดทำแบบฟอร์ม Form และบันทึก Record สำหรับ ISO ทุกระบบ
· ความหมายและความสำคัญของแบบฟอร์ม Form
· องค์ประกอบสำคัญของการกำหนดแบบฟอร์ม Form
· รูปแบบการกำหนดแบบฟอร์ม Form ที่ดี
· ตัวอย่างของการกำหนดแบบฟอร์ม Form ที่ถูกต้องสำหรับ ISO
· ความหมายและความสำคัญของบันทึก Record สำหรับ ISO
· ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดแบบฟอร์ม Form และบันทึก Record
บทที่ 7 : เอกสารสนับสนุน Support Document สำหรับ ISO
· ความหมายและความสำคัญของเอกสารสนับสนุน Support Document
· ประเภทของเอกสารสนับสนุน Support Document
· ตัวอย่างของเอกสารสนับสนุน Support Document สำหรับ ISO
· เคล็ดลับการควบคุมเอกสารสนับสนุน Support Document อย่างมีประสิทธิภาพ
บทที่ 8 : การควบคุมเอกสาร Document Control อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับ ISO ทุกระบบ
· เทคนิคในการควบคุมเอกสาร Document Control
· เทคนิคการจัดทำบัญชีรายชื่อเอกสาร Master List สำหรับ ISO
· ตัวอย่างของการจัดทำบัญชีรายชื่อเอกสาร Master List ที่ถูกต้อง
· เทคนิคการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ครอบครองเอกสารในระบบ Holder List ที่ดี
· เทคนิคในการ Update เอกสารสารสนเทศในระบบอย่างมีประสิทธิภาพ
บทที่ 9 : เทคนิคการออกเอกสารใหม่ การแก้ไขเปลี่ยนแปลง และการยกเลิกเอกสารโดยใช้ใบ DAR
· ความหมายและความสำคัญของใบ DAR
· ขั้นตอน เงื่อนไขและผลลัพธ์ในการใช้ใบ DAR
· ตัวอย่างการเขียนใบ DAR ที่ถูกต้อง
บทที่ 10 : เทคนิคการกำหนดตารางควบคุมเอกสาร สำหรับ ISO ทุกระบบ
· ความหมายและประโยชน์ของตารางควบคุมเอกสาร
· เทคนิคในการกำหนดตารางควบคุมเอกสารสำหรับ ISO
· ตัวอย่างตารางควบคุมเอกสารของระบบการบริหารที่ถูกต้อง เหมาะสม
บทที่ 11 : เทคนิคการขอทำลายเอกสารสารสนเทศ สำหรับ ISO ทุกระบบ
· สาเหตุที่ต้องมีการขออนุมัติทำลายเอกสารสารสนเทศในองค์กร
· ประเภทของเอกสารสารสนเทศที่มีการขออนุมัติทำลาย
· ขั้นตอนในการขอทำลายเอกสารสารสนเทศในองค์กร
· แนวทางปฏิบัติจริงในการขอทำลายเอกสารสารสนเทศ
· ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไขในการขอทำลายเอกสารสารสนเทศ
บทที่ 12 : เทคนิคการควบคุมเอกสารด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ สำหรับ ISO ทุกระบบ
· ประเภทเอกสารสารสนเทศในระบบอิเล็คทรอนิกส์
· การจัดทำและการควบคุมเอกสารในระบบอิเล็คทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ
· การกำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดทำ และควบคุมเอกสารในระบบอิเล็คทรอนิกส์
· ตัวอย่างของการควบคุมเอกสารสารสนเทศในระบบอิเล็คทรอนิกส์รับส่วนลดพิเศษ สมัคร 5 จ่ายแค่ 4 ท่านเท่านั้น
ดร.สวนีย์