บทนำ
"การจัดทำงบประมาณ" นับเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารองค์กรธุรกิจ ซึ่งจะต้องมีการวางแผนการจัดทำงบประมาณให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ นโยบาย วัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร เพื่อให้สามารถบรรลุผลทั้งกำไร ความพึงพอใจของลูกค้า และมีอัตราการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี้การจัดทำงบประมาณจะต้องครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนงบประมาณรายได้ งบประมาณรายจ่าย งบประมาณแสดงฐานะการเงิน งบประมาณกระแสเงินสด และงบประมาณการลงทุน
ดังนั้นการจัดทำงบประมาณจะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของผลสัมฤทธิ์ ความเหมาะสม และความร่วมมือของทุกหน่วยงานร่วมกันพิจารณาจัดทำงบประมาณอย่างรอบคอบและมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงหลักการจัดทำงบประมาณ ความสำคัญในการบริหารและการควบคุมงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้สามารถจัดทำงบประมาณให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ นโยบาย และเป้าหมายขององค์กร ทั้งงบประมาณรายรับตามแผนการขาย และงบประมาณรายจ่ายทั้งในส่วนของต้นทุนการผลิต ต้นทุนการจัดซื้อจัดหา ต้นทุนแรงงาน ต้นทุนโสหุ้ยการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน รวมถึงงบประมาณแสดงฐานะการเงิน งบประมาณกระแสเงินสด และงบประมาณการลงทุนได้อย่างเหมาะสม
3. เพื่อให้สามารถทำการบริหารและควบคุมงบประมาณให้มีผลสัมฤทธิ์ตามงบประมาณที่กำหนดไว้ ทั้งงบประมาณรายรับ งบประมาณรายจ่าย งบประมาณกำไร ได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร
4. เพื่อให้สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรในองค์กร ลูกค้า และนักลงทุนในความมั่นคงและการเติบโตขององค์กรด้วยการจัดทำงบประมาณการลงทุนและการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ
หลักสูตรนี้เหมาะกับ
1. กรรมการบริหาร, รองกรรมการบริหาร,ผู้จัดการทั่วไป, ผู้จัดการโรงงาน
2. ผู้จัดการฝ่ายบัญชี,ผู้จัดการฝ่ายขาย,ผู้จัดการฝ่ายบุคคล,ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ
3. ผู้จัดการฝ่ายผลิต,ผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุง, ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ
4. หัวหน้างาน,ซุปเปอร์ไวเซอร์ของทุกๆ สายงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลงบประมาณ
วิธีการฝึกอบรม
1. บรรยายเนื้อหา, ตัวอย่างประกอบ และ Workshop
2. Pre-test, Post-test
เนื้อหาหลักสูตร:
บทที่ 1: งบการเงินตามหลักการบัญชีและมาตรฐานการบัญชี
· หลักการบัญชี และมาตรฐานการบัญชี
· งบการเงินคืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง
· งบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล) คืออะไร ประกอบด้วยรายการอะไรบ้าง
· งบแสดงผลการดำเนินการ (งบกำไรขาดทุน) คืออะไร ประกอบด้วยรายการอะไรบ้าง
· เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจรายการในงบการเงิน
บทที่ 2: เทคนิคการอ่านและวิเคราะห์งบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล) อย่างถูกต้อง
· วิธีการอ่านและวิเคราะห์สินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล)
· รายการเงินสดและเงินฝากธนาคาร
· รายการลูกหนี้การค้า และลูกหนี้อื่น
· รายการสินค้าคงเหลือ ครอบคลุมวัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูป
· รายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น และรายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
· รายการการสินทรัพย์ถาวร วิธีการจัดทำทะเบียนบัญชีทรัพย์สิน
· หลักการคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ถาวร
· รายการหนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น รายการหนี้สินไม่หมุนเวียน
· ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนจดทะเบียน กำไรสะสมหรือขาดทุนสะสม
บทที่ 3: เทคนิคการอ่านและวิเคราะห์งบแสดงผลการดำเนินงาน งบกำไรขาดทุน
· รายรับ/รายได้ หลักเกณฑ์การรับรู้รายรับ/รายได้
· ประเภทของค่าใช้จ่าย ประกอบด้วยอะไรบ้าง
· วิธีการคำนวณกำไรและขาดทุน
บทที่ 4: กลยุทธ์ธุรกิจ Business Strategy กับการจัดทำงบประมาณ Budget
· ความสำคัญ และประโยชน์ในการจัดทำงบประมาณ
· หัวใจหลักในการจัดทำงบประมาณประจำปี
· การวางกลยุทธ์ธุรกิจ Business Strategy
· การวิเคราะห์ความได้เปรียบในการแข่งขัน Five Forces Model
· การกำหนดทิศทางธุรกิจจากการวิเคราะห์ความเสี่ยง Risk Management
· การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร Objective & Target
· การปรับ Mindset และการสร้างความมุ่งมั่นให้กับผู้บริหาร
บทที่ 5: การวางแผนและกลยุทธ์ในการจัดทำงบประมาณ
· กระบวนการและขั้นตอนในการจัดทำงบประมาณ
· ปัจจัยในการวางแผนการจัดทำงบประมาณ
· การกำหนดแผนการจัดทำงบประมาณประจำปี
· การกำหนดผู้รับผิดชอบ กรอบเวลาและตัวชี้วัดในการจัดทำงบประมาณ
· ข้อมูลที่ต้องจัดเตรียมก่อนการจัดทำงบประมาณ
บทที่ 6: เทคนิคการจัดทำงบประมาณรายรับ
· การจัดทำงบประมาณรายได้จากการขายตามแผนการตลาด
· การจัดทำงบประมาณรายได้อื่น
· การกำหนดตัวเลขงบประมาณรายได้ที่เหมาะสม
· เทคนิคการสร้างรายได้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายประจำปี
บทที่ 7: เทคนิคการจัดทำงบประมาณรายจ่าย
· ประเภทของรายจ่ายที่ต้องจัดทำงบประมาณ
· การจัดทำงบประมาณต้นทุนการผลิต ต้นทุนแรงงาน โสหุ้ยการผลิต
· การจัดทำงบประมาณต้นทุนของการจัดซื้อจัดหา
· การจัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
· การคำนวณหาจุดคุ้มทุน Break Even Point
· เทคนิคการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพื่อให้มีผลกำไรตามเป้าหมาย
บทที่ 8: เทคนิคการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่าย
· การกำหนดกลยุทธ์ในการลดต้นทุน และการควบคุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
· การกำหนดกลยุทธ์ในการขจัด ลด ละ เลิกค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
· วิธีการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
· วิธีการควบคุมสินค้าคงเหลือ จำนวนที่ควรเก็บสต๊อค วิธีการตรวจนับสต๊อค
· วิธีการควบคุมดูแลการสั่งซื้อที่มีประสิทธิภาพ ไม่ซื้อมากเกินไป
บทที่ 9: เทคนิคการควบคุมงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
· วิธีการติดตาม ตรวจวัดและประเมินผลความสอดคล้องกับงบประมาณ
· การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับงบประมาณ Budget Meeting
· การวิเคราะห์ปัจจัยของความสำเร็จและการบรรลุผลตามงบประมาณ
· การวิเคราะห์สาเหตุของผลที่ไม่เป็นไปตามงบประมาณ และการปรับปรุงแก้ไข
บทที่ 10: เทคนิคการบริหารงานให้เป็นไปตามงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
· การปรับเปลี่ยนการบริหารให้ได้ตามงบประมาณรายรับ
· การปรับเปลี่ยน กลยุทธ์ เทคนิคการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
· การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของการปรับรายได้ และค่าใช้จ่าย
· หลักในการพิจารณาปรับเปลี่ยนงบประมาณ เมื่อมีเหตุปัจจัยที่มีนัยสำคัญ
· เคล็ดลับสู่ความสำเร็จในการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
บทที่ 11: การจัดทำงบประมาณกระแสเงินสด
· หลักการและความสำคัญของการจัดทำงบประมาณกระแสเงินสด
· วิธีการจัดการกระแสเงินสด Cash Flow เงินไหลเข้า-เงินไหลออก เพื่อเงินไม่ขาดมือ
· เทคนิคการกำหนดเงื่อนไขการชำระเงิน ทั้งฝ่ายเจ้าหนี้และฝ่ายลูกหนี้
· วิธีการจัดทำงบประมาณกระแสเงินสดที่มีประสิทธิภาพ
บทที่ 12: การจัดทำงบประมาณการลงทุน
· ที่มาของการจัดทำงบประมาณการลงทุน
· ปัจจัยหลักในการจัดทำงบประมาณการลงทุน
· วิธีการจัดทำงบประมาณการลงทุนที่เหมาะสมตามยุทธศาสตร์ขององค์กร
Workshop:
· Workshop #1 กิจกรรมกลุ่มย่อยโดยแบ่งทีม เพื่อเน้นทดสอบความเข้าใจรายการในงบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุนให้ถูกต้อง
· Workshop #2 กิจกรรมกลุ่มย่อยโดยแบ่งทีม ในการจัดทำงบประมาณประจำปี ทั้งงบประมาณรายรับและงบประมาณรายจ่ายให้สอดคล้องและเป็นไปตามนโยบาย วัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร
อาจารย์กุหลาบ เจียมจิตรพานิช
โรงแรมเซนต์เจมส์ สุขุมวิท ซ.26
บุคคลทั่วไป ท่านละ3,900บาท
สมาชิก ท่านละ3,500 บาท
ลงทะเบียน3ท่านขึ้นไป ท่านละ3,200บาท
ลงทะเบียน5ท่านขึ้นไป ท่านละ2,900บาท
**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%**