การจัดการความรู้ในองค์กรเพื่อสร้างการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

2 ธันวาคม 2564


หลักการและเหตุผล

          การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM )ในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญที่บุคคลากรในองค์กรสามารพัฒนาตนเองโดยการสร้างความรู้จากการสร้าผลงานให้กับองค์กร  แต่หากความรู้ไม่ได้มีการจัดการให้เป็นระบบย่อมไม่ดีแน่ "คน"ถือเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญกับองค์กร เพราะ"คน" ได้รับความรู้มาจากประสบการณ์การทำงาน รวมทั้งวิธีปฏิบัติที่เกิดจากทักษะความสามารถส่วนบุคคลโดยสามารถรวบรวมผ่านวิธีการต่างๆ

               หากองค์กรต้องการอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องมีการจัดการกับสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ของบุคคลากรอย่างเป็นระบบ โดยการนำความรู้และประสบการณ์ของบุคคลกรที่ทรงประสิทธิภาพมาจัดการความรู้(Knowledge Management)มาเป็นเครื่องมือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และนำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาองค์กรให้มีความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนหลักสูตรการจัดการความรู้สู่นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนองค์กร( Knowledge Management: KM )เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อสร้างผู้นำพลังบวก เพื่อดึงศักยภาพของคนมาบรรจุไว้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดความคิดในการบริหารงาน การบริหารคน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เพิ่มประสิทธิผล และขีดความสามารถในการแข่งขันได้

 

 

 

 

วัตถุประสงค์ (Objective)

1.             เพื่อสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization)และการจัดการความรู้ (Knowledge Management)อย่างเป็นระบบเพื่อเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม และขีดความสามารถขององค์กร

2.             เพื่อให้บุคคลกร เรียนรู้ในการใช้เครื่องมือจัดการความรู้ รวมทั้งการจดทำแผนปฏิบัติการความรู้ในองค์กร

 

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม (Target Participants)

·      ผู้ทำงานเกี่ยวกับด้านบริหารคน บริหารงาน พัฒนาองค์กร

·      ผู้บริหาร ผู้นำทุกระดับ

 

เนื้อหาการบรรยาย (Key Contents)

                   ความสำคัญของการจัดการความรู้

                   โลกของการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป

                   ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับความรู้ในองค์กร

                   ความหมายของการจัดการความรู้

     (Knowledge Management)

                   ความสัมพันธ์ของข้อมูล สารสนเทศ ความรู้และปัญญา

                   วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้

                   เป้าหมายสูงสุดของการจัดการความรู้

                   ประเภทของความรู้

                   ทฤษฎีของการจัดการความรู้

                   7ขั้นตอนในกระบวนการแห่งการเรียนรู้

1)            การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)

 2) การสร้างและแสวงหาความรู้(Knowledge Creation and Acquisition)

  3)แนวทางการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ (Knowledge Organization)

 4)การประมวลการกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)

  5)การเข้าถึงความรู้(Knowledge Access)

  6)การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้(Knowledge Sharing) 

  7)การเรียนรู้(Learning)

ประโยชน์ของการจัดการความรู้

การประเมินผลการจัดการความรู้

ปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จในการจัดการความรู้

สรุปการเรียนรู้

 

ระยะเวลาการฝึกอบรม (Time)

·      9.00-16.00.

รูปแบบการการอบรม (Methodology)

บรรยายพร้อมการเรียนรู้แบบบูรณาการให้มีส่วนร่วมผ่านกิจกรรม Workshop ต่างๆ โดยใช้แนวทางการโค้ชและการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียน เพื่อฝึกการคิด การระดมสมอง การลองปฏิบัติจริง อันจะนำไปสู่การเข้าใจองค์ความรู้แบบเข้าใจด้วยตนเองและสามารถนำแนวคิดและแนวปฏิบัติไปประยุกต์ได้ สัดส่วนการบรรยายและภาคปฏิบัติ60 : 40


วิทยากร


วิทยากร :อาจารย์ชัญญชิตา ศรีชัย



สถานที่อบรม (VENUE)

อบรมออนไลน์ Zoom (อบรม 6 ชม.)

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

2 ธันวาคม 2564 9.00-16.00 น.

จัดโดย

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 090 645 0992 , 089 606 0444

ค่าธรรมเนียม (FEE)

2500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 356 ครั้ง