ระบบการบริหารคุณภาพISO 9001:2015มีการกำหนดเกี่ยวกับระบบเอกสารสารสนเทศไว้ในข้อกำหนดที่
7.5เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรได้พิจารณาเอกสารสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการมีประสิทธิภาพของระบบการบริหารคุณภาพ
โดยพิจารณาขอบเขต และประเภทของกิจกรรมในแต่ละกระบวนการ ความซับซ้อน
และความสัมพันธ์ในระหว่างกระบวนการ
เพื่อให้มีการสร้างและปรับปรุงเอกสารสารสนเทศที่ทันสมัย ตามข้อกำหนดที่7.5.2ด้วยรูปแบบของเอกสาร ภาษาที่ใช้
การชี้บ่งประเภทและชื่อเอกสาร ชื่อหน่วยงาน หมายเลขอ้างอิง
และวันที่ที่มีผลบังคับใช้ รวมถึงการทบทวนและการอนุมัติ ตามความเหมาะสมและเพียงพอ
นอกจากนี้ระบบการบริหารคุณภาพISO 9001:2015ยังให้ความสำคัญกับการควบคุมเอกสารตามข้อกำหนดที่ 7.5.3เพื่อให้มั่นใจว่า เอกสารมีความพร้อม และเหมาะสมกับการใช้งานในสถานที่และเวลา เมื่อมีความจำเป็น เอกสารจะได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอจากความสูญเสียการเป็นความลับ จากการใช้งานที่ไม่เหมาะสม หรือจากการสูญเสียความถูกต้อง ดังนั้นการควบคุมเอกสารสารสนเทศตามระบบ ISO 9001:2015จึงมีความสำคัญอย่างมาก ในอันที่จะต้องดำเนินการอย่างถูกต้องและเพื่อให้มั่นใจว่า เอกสารสารสนเทศในระบบจะต้องมีการแจกจ่าย การเข้าถึง การค้นหา และการใช้งานที่เหมาะสม การจัดเก็บ และการถนอมรักษา รวมถึงการที่จะสามารถอ่านออกได้ การควบคุมการเปลี่ยนแปลงเอกสาร การเก็บรักษาและการทิ้งทำลายเอกสาร
ทั้งนี้ระบบการควบคุมเอกสารในระบบการบริหารคุณภาพISO 9001:2015นี้ ยังรวมถึงเอกสารสารสนเทศที่มาจากแหล่งภายนอก ซึ่งองค์กรพิจารณาว่ามีความจำเป็นสำหรับการวางแผนและการปฏิบัติงานของแต่ละกระบวนการ ก็ต้องได้รับการชี้บ่งและมีการควบคุมตามความเหมาะสมตามระบบการบริหารคุณภาพISO 9001:2015อีกด้วย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความสำคัญของการควบคุมเอกสารในระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015เข้าใจการจัดทำ และการปรับปรุงระบบเอกสารสารสนเทศ ตั้งแต่การกำหนดรหัสเอกสาร การกำหนดรูปแบบเอกสาร วิธีกำหนดชื่อและประเภทเอกสารในระบบ วิธีการชี้บ่งความทันสมัย การปรับปรุงแก้ไขเอกสาร
2.เพื่อให้สามารถควบคุมเอกสารในระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจในความพร้อมและความเพียงพอ เหมาะสมของเอกสารกับการใช้งานในแต่ละกระบวนการ
3.เพื่อให้สามารถทำการแจกจ่าย การเข้าถึง การค้นหา การใช้งาน การเก็บรักษาระบบเอกสารสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.เพื่อให้สามารถทำการควบคุมเอกสารสารสนเทศในระบบตั้งแต่ การออกเอกสารใหม่ การเปลี่ยนแปลงแก้ไข การยกเลิกเอกสาร และการขอทำลายเอกสารในระบบได้อย่างถูกต้อง เพี่อป้องกันมิให้เกิดความสับสนหรือความเสียหายที่อาจเกิดจากการควบคุมเอกสารที่ไม่ดีเพียงพอ
วิธีการฝึกอบรม
1.บรรยายเนื้อหาหลักทฤษฎี
2.อธิบายตัวอย่างประกอบที่ชัดเจน
3. Workshopเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติงานจริงได้
4. Pre-test, Post-test
หลักสูตรนี้เหมาะกับ
1. DCCเจ้าหน้าที่ดูแลระบบเอกสาร,เจ้าหน้าที่ควบคุมเอกสาร
2. QMRตัวแทนฝ่ายบริหารมือใหม่ หรือQMRที่ต้องการทบทวนเคล็ดลัยการควบคุมเอกสารสารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพ
3.หัวหน้าฝ่าย,หัวหน้าแผนกของแต่ละหน่วยงาน
4.ผู้บริหาร,ผู้จัดการฝ่าย,ผู้จัดการแผนก
เนื้อหาหลักสูตร
บทที่1:หลักการบริหารงานคุณภาพของระบบISO 9001:2015
TimelineของระบบบริหารงานคุณภาพISO 9001:2015
·หลักพื้นฐานของระบบบริหารงานคุณภาพ Quality Management Principle
·วงจรPDCAกับระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015
บทที่2:ข้อกำหนดของระบบISO 9001:2015
·บริบทขององค์กรContext of the Organization
·ความเป็นผู้นำLeadership
·การวางแผนPlanning
·การสนับสนุนSupport
·การปฏิบัติการOperation
·การประเมินสมรรถนะPerformance Evaluation
·การปรับปรุงImprovement
บทที่3:ระบบเอกสารสารสนเทศDocumented Information
·ความสำคัญและความจำเป็นของระบบเอกสารสารสนเทศ
·ประเภทของเอกสารสารสนเทศในระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015
·หลักการในการกำหนดประเภทเอกสารสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อป้องกันความสับสน
·เทคนิคในการกำหนดรหัสเอกสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
บทที่4:หลักการจัดทำระเบียบปฏิบัติงานProcedureที่ถูกต้อง
·ระเบียบปฏิบัติงานProcedureคืออะไร
·องค์ประกอบสำคัญของระเบียบปฏิบัติงาน Procedureที่ต้องมี
·เทคนิคในการจัดทำระเบียบปฏิบัติงาน Procedureที่ถูกต้อง
·เคล็ดลับในการจัดทำระเบียบปฏิบัติงาน Procedureที่มีประสิทธิภาพ
·ปัจจัยหลักและประเด็นที่ต้องทบทวน Procedureก่อนอนุมัติใช้
· Workshop #1:จัดทำ ระเบียบปฏิบัติงานของกระบวนการหลักในองค์กร
บทที่5:เทคนิคการจัดทำวิธีปฏิบัติงานWork Instructionที่ถูกต้อง
·วิธีปฏิบัติงานWork Instructionคืออะไร
·องค์ประกอบสำคัญของวิธีปฏิบัติงาน Work Instruction
·เทคนิคในการจัดทำวิธีปฏิบัติงาน Work Instructionที่ถูกต้อง
·เคล็ดลับในการจัดทำวิธีปฏิบัติงาน Work Instructionที่มีประสิทธิภาพ
·ปัจจัยหลักและประเด็นที่ต้องทบทวน Work Instructionก่อนอนุมัติใช้
· Workshop #2:จัดทำ วิธีปฏิบัติงานของกระบวนการหลักในองค์กร
บทที่6:เทคนิคการกำหนดแบบฟอร์มFormที่ถูกต้องเหมาะสม
·อะไรคือแบบฟอร์มในระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015
·เทคนิคในการจัดทำและกำหนดแบบฟอร์ม Formที่ถูกต้องและเหมาะสม
·เคล็ดลับในการเชื่อมโยงแบบฟอร์มกับ ProcedureและWork Instruction
บทที่7:เคล็ดลับในการควบคุมเอกสารสารสนเทศ
·เทคนิคในการจัดทำMaster Listsที่ถูกต้อง
·เทคนิคในการจัดทำบัญชีผู้ครอบครองเอกสาร Holder Listsที่ดี
·เทคนิคในการupdateเอกสารสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ
บทที่8:เทคนิคการเปลี่ยนแปลงแก้ไขและยกเลิกเอกสารสารสนเทศโดยใช้ใบDAR
·อะไรคือ ใบDAR
·เมื่อไหร่ที่ต้องใช้ใบ DAR
·ขั้นตอนการใช้ใบDAR
·เมื่อออกใบDARแล้ว ใครต้องทำอะไรต่อ
·อะไรคือOutcomeของใบDAR
บทที่9:เทคนิคการกำหนดตารางการควบคุมเอกสารในระบบISO 9001:2015
·ตารางการควบคุมเอกสารในระบบ ISO 9001:2015คืออะไร
·ประโยชน์ที่ต้องมีการจัดทำตารางการควบคุมเอกสารในระบบ ISO 9001:2015
·เทคนิคการกำหนดตารางควบคุมเอกสารที่ถูกต้องตามระบบ ISO 9001:2015
บทที่10:เทคนิคในการขอทำลายเอกสารสารสนเทศในระบบISO 9001:2015
·สาเหตุที่ต้องมีการขอทำลายเอกสารสารสนเทศในองค์กร
·ประเภทของเอกสารสารสนเทศที่ต้องมีการขอทำลาย
·เทคนิคและขั้นตอนในการขอทำลายเอกสารสารสนเทศในระบบ
·แนวทางปฏิบัติจริงในการทำลายเอกสารสารสนเทศ
·ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไขปัญหาในการขอทำลายเอกสารสารสนเทศ
บทที่11:เคล็ดลับการควบคุมเอกสาร ตามระบบISO 9001:2015ที่ยั่งยืน
·ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมเอกสารสารสนเทศในระบบ
·เคล็ดลับสู่การควบคุมเอกสารตามระบบ ISO 9001:2015ที่ยั่งยืน
บทที่12:กลยุทธการควบคุมเอกสาร ตามระบบISO 9001:2015ในยุคดิจิตอล
·แนวทางการวางกลยุทธการควบคุมเอกสารให้ทันโลกยุคดิจิตอล
·หัวใจสำคัญ และKey Successในการควบคุมเอกสารด้วยสื่อโซเชียล
·เคล็ดลับการเตรียมความพร้อมสำหรับการควบคุมเอกสารใน versionใหม่
อาจารย์กุหลาบ เจียมจิตรพานิช
โรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท26
บุคคลทั่วไป ท่านละ3,900บาท
สมาชิก ท่านละ3,500 บาท
ลงทะเบียน3ท่านขึ้นไป ท่านละ3,200บาท
ลงทะเบียน5ท่านขึ้นไป ท่านละ2,900บาท
**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%**
บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 98/83 หมู่ที่
4ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12130
[email protected]
โทร. :02-157-9083,062-315-5283
อาจารย์กุหลาบ เจียมจิตรพานิช