หลักการและเหตุผล
ในยุคที่ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่งและการแข่งขันในตลาดเป็นไปอย่างดุเดือด
ในแง่หนึ่งสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนตัวกระตุ้นให้ผู้ผลิตต้องการบริหารจัดการให้ดี
องค์กรหรือบริษัทต้องมีระบบการควบคุมจัดการที่มีประสิทธิภาพ
สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า
รวมทั้งทำให้องค์กรสามารถยืนอยู่ท่ามกลางการแข่งขันได้
เครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจ ที่เรียกว่า กลยุทธ์การบริหารต้นทุน (Strategic Cost Management)จึงถูกให้ความสำคัญ
เพื่อตอบสนองสถานการณ์ของตลาดในปัจจุบัน สิ่งที่เป็นมาตรวัดความสำเร็จอย่างหนึ่งของกลยุทธ์การผลิตคือ
การจัดโครงสร้างที่เหมาะสม การจัดลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ด้านต้นทุนที่เป็นเครื่องมืออันจะนำไปสู่ความสำเร็จของการผลิตซึ่งมีต้นทุนต่ำแต่คุณภาพสูง
ประกอบไปด้วยกลยุทธ์ที่สำคัญในปัจจุบัน อันได้แก่
1.ระบบการบริหารโดยกิจกรรม (Activity based management: ABM)เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารต้นทุนเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน
ซึ่งการวิเคราะห์กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน
ให้ผู้บริหารเข้าใจภาพรวมของธุรกิจ
และก่อให้เกิดกิจกรรมดังกล่าวต่อเนื่องกันไปทั่วองค์กร
ส่งผลให้เกิดการระบุต้นทุนและขจัดต้นทุนที่ไม่เพิ่มมูลค่า โดยการใช้
การทำกิจกรรมกลุ่มย่อย(Small group activity)ในแผนกต่างๆ
ผ่านกิจกรรม เช่น 5ส เพื่อการเพิ่มผลผลิต, ข้อเสนอแนะไคเซ็น, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพQCC
เป็นต้น ที่จะดึงศักยภาพการทำงานของพนักงงานออกมาใช้อย่างเต็มที่
2.การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management: TQM)การทำงานที่เป็นวัฒนธรรมขององค์กร
และสมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญและมีส่วนร่วม
ในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง
โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ความได้เปรียบในการแข่งขันและพัฒนาการที่ยั่งยืนขององค์การ
ซึ่งหากนำมาประยุกต์ใช้แล้วจะทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของสินค้า
และเป็นแนวทางที่สามารถใช้ลดต้นทุนได้
3.ระบบการผลิตแบบทันเวลา (Just-In-Time
Manufacturing System)ระบบนี้จะเน้นการดำเนินงานให้ทันเวลา
ไม่มีงานคงเหลือระหว่างขั้นตอน และการจัดส่งสินค้าจะจัดส่งเมื่อสินค้าผลิตเสร็จ
การผลิตแต่ละครั้งจะผลิตเมื่อลูกค้าสั่ง และจะไม่เหลือสินค้าสำเร็จรูปไว้ในคลัง
กรณีนี้จะลดความสิ้นเปลืองที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าใดๆ
ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการลดต้นทุน
4.ระบบการผลิตแบบลีน (Lean
Manufacturing)เน้นการไหลของงานอย่างต่อเนื่องโดยปราศจากการสูญเสียและความสิ้นเปลือง
ซึ่งมีหลักการอยู่ 5 ประการคือ 1. คุณค่าของสินค้า/การบริการ สู่ลูกค้า
2.การระบุสายธารแห่งคุณค่า ให้เกิดคุณค่าในตัวสินค้า 3.
การดำเนินการให้เกิดกระบวนการไหลอย่างต่อเนื่อง 4. กระบวนการดึงกลับจากความต้องการของลกค้า
ให้เกิดความสมดุลระหว่างการผลิตและการขาย 5.
การพยายามปรับปรุงแก้ไขไปสู่ความเป็นเลิศ พัฒนาระบบการผลิต
ลดระยะเวลาและต้นทุนการผลิต ตอบสนอง
4) กระบวนการดึงกลับจากความต้องการของลกค้า ให้เกิดความสมดุลระหว่างการผลิตและการขาย
5) การพยายามปรับปรุงแก้ไขไปสู่ความเป็นเลิศ พัฒนาระบบการผลิต ลดระยะเวลาและต้นทุนการผลิต ตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยที่องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนทุกสภาพแวดล้อมการแข่งขัน ด้วยการลดต้นทุนเพิ่มผลิตภาพ
ดังที่กล่าวมาการดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องแสวงหากำไรสูงสุด เพื่อเป็นผลตอบแทนต่อการทำงาน และกำไรของธุรกิจที่สมเหตุสมผลนั้น ก็เป็นรางวัลที่สังคมมอบให้กับองค์กรธุรกิจเพื่อเป็นการตอบแทนที่ธุรกิจได้ปฏิบัติตามพันธะกิจ และให้สิ่งที่ดีกับสังคม ซึ่งกลยุทธ์การลดต้นทุนการผลิต ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มผลกำไรขององค์กรธุรกิจ และเป็นกลยุทธ์ที่เน้นที่การสำรวจและแก้ไขจุดบกพร่องภายในองค์กรธุรกิจ ซึ่งกลยุทธ์นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อความอยู่รอดขององค์กรธุรกิจในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำ และเพื่อการเพิ่มศักยภาพของการแข่งขันในยุคที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง โดยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรธุรกิจจะต้องรู้ว่าจะสามารถเพิ่มรายได้และลดต้นทุนได้อย่างไร ซึ่งหลักการลดต้นทุนที่สำคัญก็คือ ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุด ทำให้ปริมาณน้อยลง หรือตัดงานที่ไม่จำเป็นออกไป อย่างไรก็ตามการลดต้นทุนต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพของสินค้า และการบริการที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ทราบหลักการลดต้นทุนในกระบวนการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อม ประกอบด้วย
1.1 ต้นทุนวัตถุดิบ
1.2 ต้นทุนแรงงาน
1.3 ต้นทุนค่าใช้จ่ายและค่าโสหุ้ย
1.4 ต้นทุนพลังงาน
1.5 ต้นทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อให้ทราบเทคนิคการลดต้นทุนที่เหมาะสมและสามารถทำได้เองเบื้องต้น
3. เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักและให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนอย่างจริงจัง
4. เพื่อสร้างแนวคิดในการเลือกใช้เครื่องมือในการลดความสูญเสียในการผลิต อย่างเป็นระบบ
5. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
6. เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
7. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม
หัวข้อการอบรมช่วงเช้า (09.00-12.00)
1. หลักการของระบบการผลิตปัจจุบันและอนาคต
2. ปัญหาของการทำงานที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต
3. กำไรของบริษัทเกิดขึ้นได้อย่างไร
4. องค์ประกอบที่สำคัญของการผลิต
5.หลักการลดต้นทุนในกระบวนการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อม
หัวข้อการอบรมช่วงบ่าย (13.00-16.00)
6.การสร้างกลยุทธ์การลดต้นทุนเพื่อสร้างผลกำไร
-กลยุทธ์ระบบการบริหารโดยกิจกรรม (Activity based management: ABM)
-กลยุทธ์การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management: TQM)
-กลยุทธ์การผลิตแบบทันเวลา (Just-In-Time Manufacturing System)
-กลยุทธ์การผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing)
7. รู้จักกิจกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
-5ส. เพื่อการเพิ่มผลผลิต
-Visual control
-เทคนิคการป้องกันของเสียเป็นศูนย์ด้วยPoka Yoke
-การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยไคเซ็น
-เทคนิคการระดมสมองด้วยกิจกรรมกลุ่มคุณภาพQCC
-แนวคิดของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มคุณภาพในการทำงานและสินค้า
Workshop1:แนวคิดของการปรับปรุงงาน
Workshop2:การส่งต่องานที่มีคุณภาพ
Workshop3:การระดมสมอง
Workshop4:การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
หมายเหตุ: หลักสูตรสามารถจัดเป็นIn-House Training
สำรองที่นั่ง หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณเล็ก
website:www.chosenthebest.com