กลยุทธ์การลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)

26 เมษายน 2566


หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมการบริหารด้านคุณภาพส่วนหนึ่ง ก็คือ การลดของเสียขององค์กร ให้มีเป้าหมายลดของเสียลดลง และเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น แต่ใช้วัตถุดิบและกำลังคนในการผลิตเท่าเดิม จึงต้องมีวิธีการในการบริหารงานให้ของเสียที่จะผลิตในแต่ละครั้งเป็นศูนย์ เพื่อทำให้ผลกำไรขององค์กรมากขึ้น เนื่องจากเราสามารถลดต้นทุนในการที่ต้องนำของที่ผลิตเสียมาทำใหม่ ซึ่งจะสิ้นเปลืองทั้ง วัตถุดิบและกำลังคน นอกจากนี้ บริษัทยังต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่จำเป็นอีกด้วย

ปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมการผลิตต้องมีการปรับตัว เพื่อความอยู่รอด การทำของเสียให้เป็นศูนย์ จำเป็นมากสำหรับผู้ผลิต ที่สามารถลดต้นทุน ลดความสูญเสียโอกาสทางการผลิต และลดความสูญเปล่าได้ ทั้งยังสามารถสร้างมาตรฐาน และแนวความคิดที่สําคัญในการผลิตรวมถึงส่งเสริมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

วัตถุประสงค์  (Objective)

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและเข้าใจถึงการลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจถึงแนวความคิด วิธีการและเทคนิคการดำเนินการของ การลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)

3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้เรื่อง การลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานเพื่อลดความสูญเสียต่างๆ โดยไม่จำเป็น

5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง เพื่อลดความสูญเสียจากการทำงาน

 

เนื้อหาการบรรยาย (Key Contents)

1.ปัญหาด้านคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิตคืออะไร?

2.อะไรคือ ของเสีย (Defect) Vs.ความผิดพลาด (Mistake-Error)และมีปัจจัยเกิดขึ้นได้อย่างไร?

3.แนวคิดการเกิดของเสียและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดของเสีย

-แนวคิดและหลักการมุ่งสู่Zero Defect

- Zero Defectคืออะไร

-กลไกของการบรรลุเป้าหมายของเสียเป็นศูนย์

4.แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวกับการปรับปรุงงาน (Improvement)และการควบคุมสภาวะต่างๆ ในงานผลิต

·       การวางแผนปรับปรุงงานด้วยPDCAและหลักการปรับปรุงงานเบื้องต้นด้วยECRS

·       ระบบการมองเห็น (Visual System)

5.หลัก8ประการเบื้องต้น (8D)สู่การป้องกันความผิดพลาดเป็นศูนย์เพื่อให้ของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect)

6.กระบวนการตรวจสอบและดักจับความผิดพลาดที่ต้นเหตุ (Source inspection)ก่อนเกิดของเสีย

7.หลักการควบคุมไม่ให้เกิดความผิดพลาดและป้องกันความผิดพลาดจากการทำงาน (Mistake-Proofing)

8.แนวทางการจัดโปรแกรมปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement)

·       ให้ผู้บริหารมีความผูกพันต่อการจัดการคุณภาพอย่างชัดเจน

·        จัดตั้งทีมปรับปรุงคุณภาพโดยให้มีตัวแทนมาจากแต่ละฝ่าย

·        กำหนดให้มีการวัดคุณภาพ เพื่อแสดงปัญหาที่เป็นอยู่ หรือเป็นปัญหาที่อาจเกิดได้ในอนาคต

·        กำหนดต้นทุนคุณภาพและอธิบายวิธีการใช้ต้นทุนคุณภาพในฐานะที่ เป็นเครื่องมือในการจัดการ

·        ยกระดับการตระหนักถึงระดับคุณภาพ และความห่วงใยส่วนตัวต่อชื่อเสียงคุณภาพของบริษัทให้เกิดกับพนักงาน

9.วิเคราะห์และทำความเข้าใจสาเหตุของปัญหาโดยรวม

·       จัดการปัญหาที่เกิดจากมาตรฐานการทำงาน

·       แนวทางจัดการปัญหาที่เกิดจากคน

·       การอบรมผู้ปฎิบัติงานเพื่อการทำที่ถูกต้อง

·       การควบคุมโดยการมองเห็นเพื่อการทำที่ถูกต้อง

·       Poka Yokeเพื่อการผลิตของเสียเป็นศูนย์

·       กำหนดเป้าหมาย และกระตุ้นให้บุคคลและกลุ่มกำหนดเป้าหมายการปรับปรุงคุณภาพ

·       กระตุ้นให้พนักงานแจ้งปัญหาการปรับปรุงคุณภาพที่เขาประสบ แก่ ผู้บริหารเพื่อให้เกิดการรณรงค์แก้สาเหตุที่ผิดพลาดให้ได้ตามจุดมุ่งหมาย

·       ทำให้ทุกคนที่เข้าร่วมโปรแกรมยอมรับและเกิดความซาบซึ้ง

·       จัดตั้งกลุ่มที่ปรึกษาคุณภาพ เพื่อปรึกษาหารือกันเป็นประจำ

·       จัดทำโปรแกรมแบบเดิมซ้ำอีก

 10.สรุปการเรียนรู้และถามตอบ

 

ประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมได้รับ
1.ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและเข้าใจถึงการลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)

2.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจถึงแนวความคิด วิธีการและเทคนิคการดำเนินการของ การลด ของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)

3.ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้เรื่อง การลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานเพื่อลดความสูญเสียต่างๆ โดยไม่จำเป็น

5.ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง เพื่อลดความสูญเสียจากการทำงาน

 

 

 

รูปแบบหลักสูตร

1.          การบรรยาย                                   30 %

2.          เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติWorkshop 70%

 

แนวทางการการอบรม

1.          การอบรมมีทั้งการบรรยาย และทดลองปฏิบัติกรณีศึกษาเพื่อให้เห็นจริงในการทำ Coachingทำให้การอบรม เป็นไปอย่างสนุกสนาน

2.          การฝึกอบรมเป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่(Adult Learning)ซึ่งเน้นให้เกิดความคิด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเล็งเห็นประโยชน์ของเนื้อหาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง

 

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม

·       หัวหน้างาน

·       พนักงานทุกระดับ


วิทยากร


วิทยากร อาจารย์อนุภาพ  พันชำนาญ



สถานที่อบรม (VENUE)

Online by Zoom/ Onsite Training

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

26 เมษายน 2566 9.00 น. – 16.00 น.

จัดโดย

บริษัท ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เบอร์ติดต่อ : 090 645 0992 , 089 606 0444

ค่าธรรมเนียม (FEE)

2500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 398 ครั้ง