หลักการและเหตุผล
ปัจจัยหนึ่งที่เป็นแรงจูงใจพนักงานให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งเสริมขวัญกำลังใจนั่นคือ "ค่าตอบแทน" ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน เงินพิเศษหรือสวัสดิการ ซึ่งการบริหารค่าตอบแทนให้มี ประสิทธิภาพ หรือที่เรียกว่าการบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์นั้นอาจพิจารณาในมิติของรูปแบบขององค์กร เช่น การแข่งขันในตลาด การจ้างแบบตลอดชีพ หรือแบบจูงใจระยะสั้น ซึ่งล้วนมีองค์ประกอบการจ่ายค่าตอบแทนที่แตกต่างกัน (Compensation Mix)ทั้งนี้การบริหารค่าตอบแทนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามกลไกในการควบคุมและส่งเสริมพนักงานดังกล่าว ประกอบไปด้วยการจัดการภายใน4ด้าน คือ ความสอดคล้องภายในองค์กร (Internal Consistency)การแข่งขันภายนอกองค์กร (External Competitiveness)การส่งมอบงานของพนักงาน (Employee Contribution)และการจัดการงบประมาณ และการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์กร (Administration)
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารค่าตอบแทนขององค์กรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมและสามารถสร้างแรงจูงใจตลอดจนขวัญกำลังใจให้พนักงานได้ เพื่อที่องค์กรจะได้สามารถรักษาคนเก่ง คนดีไว้ในองค์กรได้อีกนาน ๆ อีกทั้งยังสามารถดึงดูดให้คนเก่ง คนดีต้องการเข้ามาร่วมงานกับองค์กรได้ หลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจในการวางแผนกลยุทธ์การบริหารค่าจ้าง ค่าตอบแทน (Compensation and Benefit) ให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานและความสามารถของบุคลากร
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
เมื่อสิ้นสุดการเรียนรู้ในหลักสูตรนี้แล้ว ผู้เข้ารับการอบรมกลุ่มเป้าหมายจะสามารถ...
1. อธิบายความหมายและความจำเป็นของการบริหารค่าตอบแทนและโครงสร้างเงินเดือนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
2. ลงมือประเมินค่างานตามตำแหน่งในองค์กร เพื่อกำหนดกรอบขอบเขตอัตราค่าจ้างเงินเดือนและค่าตอบแทนได้อย่างเหมาะสมกับระดับภารกิจงาน
3. วางแผนบริหารต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยคำนึงความสามารถในการจ่ายขององค์กรตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมค่าใช้จ่ายขององค์กรในอนาคตได้ในระยะยาว
ขอบเขตสาระการเรียนรู้
1. เหตุผลและความจำเป็นของการจัดทำกลยุทธ์บริหารค่าตอบแทน
2. ผู้กำหนดค่าตอบแทนและเงินเดือนคือใคร?
3. กลยุทธ์การบริหารค่าตอบแทนและโครงสร้างเงินเดือน
4. การเชื่อมโยงกลยุทธ์บริหารค่าตอบแทนกับการบริหารงานบุคคล
4.1การปรับอัตราเงินเดือนเมื่อเลื่อนตำแหน่ง
4.2 การกำหนดอัตราเงินเดือนกับเส้นทางความก้าวหน้า (Career Path)
4.3 การขึ้นเงินเดือนประจำปี
5. การลงโทษโดยการหักค่าตอบแทน (ค่าขาดงาน, มาสาย ฯลฯ)
วิธีการ
บรรยายประกอบตัวอย่าง 25%
กิจกรรมระดมความคิด 35%
ฝึกปฏิบัติ 30%
ระยะเวลาและกำหนดการ
ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการฝึกอบรมหลักสูตรนี้คือ 2 วัน (12 ชั่วโมง) ดังรายละเอียดกำหนดการต่อไปนี้
วัน/เวลา |
หัวข้อการฝึกอบรม |
วันแรก |
|
08.30 - 09.00 น. |
ลงทะเบียน |
09.00 - 10.30 น. |
เกริ่นนำภาพรวมของหลักสูตร การบรรยายแบบมีส่วนร่วม หัวข้อ "การบริหารค่าตอบแทนและเงินเดือนคืออะไร ทำไมต้องทำ?" |
10.30 - 10.45 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
10.45 - 12.00 น. |
กิจกรรมระดมความคิดและนำเสนอ หัวข้อ "เป้าหมายของการบริหารค่าตอบแทนและเงินเดือน" |
12.00 - 13.00 น. |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 - 14.30 น. |
การบรรยายประกอบตัวอย่างสาธิต หัวข้อ "ขั้นตอนและหลักการบริหารค่าตอบแทนและเงินเดือน" |
14.30 - 14.45 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
14.45 - 16.00 น. |
กิจกรรมระดมความคิดและนำเสนอ หัวข้อ "กลยุทธ์การบริหารค่าตอบแทนและโครงสร้างเงินเดือน" สรุปการเรียนรู้ประจำวัน |
|
|
วันที่สอง |
|
08.30 - 09.00 น. |
ลงทะเบียน |
09.00 - 10.30 น. |
สรุปเชื่อมโยงการเรียนรู้และกิจกรรมเตรียมความพร้อม การบรรยายแบบมีส่วนร่วม หัวข้อ "การเชื่อมโยงกลยุทธ์บริหารค่าตอบแทนกับการบริหารงานทรัพยากรบุคคล" |
10.30 - 10.45 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
10.45 - 12.00 น. |
การฝึกปฏิบัติ หัวข้อ "การกำหนดกลยุทธ์บริหารค่าตอบแทนและโครงสร้างเงินเดือนจากกรณีศึกษาที่กำหนดให้" |
12.00 - 13.00 น. |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 - 14.30 น. |
การฝึกปฏิบัติ หัวข้อ "การกำหนดกลยุทธ์บริหารค่าตอบแทนและโครงสร้างเงินเดือนจากกรณีศึกษาที่กำหนดให้" (ต่อ) |
14.30 - 14.45 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
14.45 - 16.00 น. |
การนำเสนอผลการปฏิบัติและให้ข้อเสนอแนะ หัวข้อ "การกำหนดกลยุทธ์บริหารค่าตอบแทนและโครงสร้างเงินเดือนจากกรณีศึกษาที่กำหนดให้" สรุปการเรียนรู้ |
หมายเหตุ: กำหนดการดังกล่าวเป็นเพียงโครงร่างเบื้องต้นเท่านั้น สามารถปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมตามสถานการณ์ได้อย่างยืดหยุ่นและไม่ส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์การเรียนรู้แต่อย่างใด
สถานที่ โรงแรมโนโวเทล ซอยสุขุมวิท 20 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพ **สถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลง
18 - 19 พฤษภาคม 2566 9.00 น. – 16.00 น.
บริษัท ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เบอร์ติดต่อ : 090 645 0992 , 089 606 0444
6500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)