หลักการและเหตุผล
การส่งออกและนำเข้าสินค้าในปัจจุบันมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นตามการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศและของโลก ประกอบกับการค้าวิถีใหม่NEW NORMAL เป็นการค้าในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสะดวก รวดเร็ว ผู้ปฏิบัติต้องมีความพร้อมในการประกอบธุรกิจอย่างชาญฉลาด ทันสมัย ตามการค้าของโลกที่เปลี่ยนไปเร็วมาก
สิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเข้า-ส่งออก, นักธุรกิจ,ผู้ผลิต,ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อต่างประเทศ, นายหน้าหรือตัวแทนการค้า,รวมทั้งพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวและผู้สนใจทั่วไป จำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้ในเรื่องของการค้ายุคใหม่ที่นำเอาระบบLogistics & Supply Chainมาบริหารจัดการให้ได้รับประโยชน์สูงสุดเพื่อให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างสะดวกและได้รับผลสำเร็จคุ้มค่ากับการลงทุน
การประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันมีความแตกต่างจากอดีตมากมาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นเพราะนโยบายการตอบรับของรัฐบาลไทยส่วนหนึ่งและเป็นการเปลี่ยนแปลงจากนานาชาติอีกส่วนหนึ่งนอกจากนั้นนโยบายการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศไทยกับนานชาติก็ทำให้ระบบภาษีอากรลดลงเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการค้าและก็ตามมาด้วยกฏระเบียบที่ต้องปฏิบัติที่เป็นกลไกให้การเปิดเสรีทางการค้าเป็นไปตามวัตถุประสงค์
สำหรับประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปฏิบัติสำหรับการจัดเก็บภาษีใหม่หมดจากระบบพื้นฐานเดิมที่เป็นแบบ Manual ได้พัฒนากลายมาเป็นระบบ EDI (Electronic Data Interchange) และในปัจจุบันก็ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นระบบไร้เอกสารที่เรียกว่า ebXMLพร้อมกันนี้ภาครัฐยังได้สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกร่วมมือกันพัฒนาเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันเช่นการขออนุมัติหรืออนุญาตหรือแม้หนังสือรับรองต่างๆ ทางอิเลกทรอนิกส์โดยใช้ระบบNSW : National Single Window โดยมีศูนย์กลางคือกรมศุลกากร ซึ่งเป็นการปฎิบัติงานที่ได้ผลดีโครงการนี้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายเป็นอย่างดีทำให้เกิดความสะดวกในการปฏิบัติงาน อีกทั้งทุ่นเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำงานมากขึ้นเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าของประเทศอย่างยิ่ง
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอนพิธีการนำเข้าและส่งออก อีกทั้งกฎเกณฑ์ระเบียบปฎฺบัติรวมทั้งภาษีอากรซึ่งรวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างที่พึงได้รับจากการนำเข้าและส่งออกทั้งมวลเป็นผลให้การทำการค้าคล่องตัวมากขึ้น แต่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ก็คือกฎระเบียบที่มีออกมาเรื่อย ๆ ก็คือ ข้อปฎิบัติที่เป็นอุปสรรคแต่ไม่ใช่ทางภาษีอากร (Non Tariff Barrier)
โดยเฉพาะการส่งออกต้องศึกษาให้ดี มิฉนั้นอาจพลาดได้ กฏระเบียบที่กล่าวมานี้จะเข้มงวดสับสนมากขึ้น ผู้นำเข้าส่งออกต้องหมั่นติดตามข่าวสารข้อมูลจากหน่วยงานการค้าระหว่างประเทศและอื่น ๆ ที่เกียวข้องกับการศุลกากรทั้งสองด้าน ปัจจุบันการติดตามข่าวสารข้อมูลจากระบบสารสนเทศเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด มีWebsite มากมายให้เราสามารถค้นหาได้ และการอบรมสัมมนาก็เป็นทางเลือกหนึ่งให้เราได้ข้อมูลในสิ่งที่เราต้องการ สำหรับข้อมูลหลักที่ต้องปฏิบัติมีดังต่อไป
อนึ่ง การจัดสัมมนาของเราใช้วิธีการอบรมแบบTeaching & Coachingพร้อมนำเทคนิคการทำงานจริงที่มีประสิทธภาพมาถ่ายทอดให้ผุ้เข้าอบรมและมีการสาธิตด้วยวิดิทัศน์ประกอบในบางขั้นตอนของการปฎิบัติงานจริงมาประกอบด้วย ผู้ผ่านการอบรมจะสามารถได้รับคำแนะนำ คำปรึกษา แนะแนวการทำงานตลอดไป
หัวข้ออบรม
· หัวข้ออบรมความรู้ทางด้านการค้าระหว่างประเทศ (Import -Export Operations) กระบวนการส่งออกและนำเข้า
· นโยบายส่งเสริมการค้าของไทย
· การเตรียมความพร้อมในการประกอบธุรกิจการค้า
· ความรู้เบื้องต้นกฎเกณฑ์การส่งออกและนำเข้า
· การเลือกปฏิบัติพิธีการศุลกากร
· ระบบการขนส่งที่เกี่ยวข้อกับศุลกากร
· สิ่งที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากร e-Import :การผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการนำเข้า
· การกำหนดราคาเกี่ยวข้องกับศุลกากรอย่างไร
· สิทธิพิเศษทางภาษีอากรกับการเปิดเสรีทางการค้า **
· เรื่องของการเสียภาษีอากรของไทยภายใต้ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ.2560
· วิธีคิดและคำนวณภาษีอากร
· พิธีการศุลกากรระบบอิเล็กทรอนิกส์
· การจำแนกระบบภาษีอากรของไทย
· สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรของไทย ***
· การดำเนินพิธีการศุลกากรขาเข้าของไทย
· มีวิธีการตรวจสอบการปฏิบัติงานนำเข้าได้อย่างไร
· ภาพพิธีการส่งออกของไทย
· มีวิธีการตรวจสอบการปฏิบัติงานส่งออกได้อย่างไร
· ใครมีหน้าที่เก็บหลักฐานทางการค้าตามกฎหมายศุลกากร
· เทคนิคการแก้ปัญหาเมื่อเกิดความผิดพลาดทางกฎหมายศุลกากร
· ระบบความปลอดภัยทางการค้าของสากลเช่น C-TPAT & AEO
สถานที่ @ โรงแรม แรมแบรนดท์ สุขุมวิท สุขุมวิท ซอย 18 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพฯ ** สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง
17 กันยายน 2567 09.00-16.00 น.
ดีทีเอ็นเทรนนิ่ง
เบอร์ติดต่อ : 096-669-5554 ,064-325-4946
3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)