กฎหมายแรงงานสำหรับนายจ้างและผู้บริหารงานบุคคล ปี 2567

18 ธันวาคม 2567



                       

หัวข้อในการอบรมสัมมนา   

 

ภาคเช้า  เริ่มเวลา 09.00 น - 12.00 น   

                                  

หมวดที่ 1 การทำสัญญาจ้าง การจ่ายค่าจ้างและการจ่ายค่าตอบแทนจากการทำงาน     

ข้อ. 1 การทำสัญญาจ้าง อาคารโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อใช้เป็นสำนักงานในการประกอบธุรกิจทางการค้าต้องกำหนดอย่างไร..?

ข้อ. 2 การทำสัญญาจ้างบริษัทฯรับเหมาเอาซอส เพื่อให้นำแรงงานเข้ามาทำงานให้กับบริษัทฯ ต้องกำหนดเงื่อนไขการจ้างอย่างไร..?                                             

ข้อ. 3 การทำสัญญาจ้างที่ปรึกษา ด้านแรงงาน ที่ปรึกษาด้านขบวนการผลิต หรือที่ปรึกษาด้านการตลาด ซึ่งเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาในการจ้าง เช่น สัญญาจ้าง 3 เดือน สัญญาจ้าง 6 เดือน หรือสัญญาจ้าง 1 ปี ต้องกำหนด เงื่อนไขในการจ้างอย่างไร..?                                                                      

ข้อ. 4 การทำสัญญาจ้างเพื่อรับบุคคลภายนอกเข้ามาทำงานเป็นพนักงานประจำของบริษัทฯ ต้องกำหนดการจ่ายค่าจ้าง การจ่ายสวัสดิการ กำหนดข้อห้าม ต้องกำหนดหลักเกณฑ์หรือมีเงื่อนไขการจ้างไว้ในสัญญาจ้างอย่างไร..? (เป็นสัญญาจ้างปลายเปิด)                    

ข้อ. 5 ในกรณีลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน การออกหนังสือแจ้งการบอกกล่าวล่วงหน้า และการออกหนังสือเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไร..?                                                                                                                                                                                       

ข้อ. 6 กรณีลูกจ้างผ่านการทดลองงาน การออกหนังสือแจ้งพนักงาน เพื่อบรรจุเป็นพนักงานประจำและการกำหนดจ่ายค่าจ้าง การกำหนดจ่ายสวัสดิการ เพื่อมิให้มีผลผูกพันเป็นค่าจ้าง ต้องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายอย่างไร..?ข้อ 7 กรณีลูกจ้างออกจากงาน เช่น เกษียณอายุในการทำงาน ลาออก ขาดงานเกิน 3 วันนายจ้างปลดออก เลิกแจ้งโดยจ่ายค่าชดเชยให้  หรือทำผิดวินัยกรณีร้ายแรงนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย  กรณีออกจากงานดังนี้ นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างเมื่อใด..?   เช่น

1.) ค่าจ้าง  ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด เงินเบี้ยเลี้ยง หรือเงินอื่นๆ

2.) สวัสดิการที่ได้รับตามกฎหมายกำหนด หรือนายจ้างได้กำหนดให้

3.) วันลากิจได้รับค่าจ้าง วันลาพักผ่อนประจำปี  วันลาพักผ่อนที่สะสม เงินประกันการทำงาน

4.) เงินกองทุนต่างๆ 

ข้อ 8 มีตัวอย่าง การเขียนเอกสารสัญญาและสัญญาจ้างตามข้อ.1 ,2,3,4,5 และข้อ.6 แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา" ฟรี "

                                                         หมวดที่ 2 วินัยและการพิจารณากำหนดความผิดเพื่อลงโทษทางวินัย

ภาคบ่าย เริ่มเวลา 13.00 น. - 16.00 น    

ข้อ. 9 การทำผิดวินัยที่นายจ้างลงโทษทางวินัยเป็น หนังสือเตือน หนังสือสั่งพักการทำงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง สั่งให้พักการทำงาน      โดยจ่ายค่าจ้างให้ 50 เปอร์เซ็น หรือสั่งให้พักการทำงานโดยไม่มีกำหนด และจ่ายค่าจ้างให้ เป็นความผิดที่เกิดขึ้นในลักษณะใด...?                                                                                                                            

ยกตัวอย่าง10 กรณี  (มีเอกสารหนังสือการลงโทษ แจกฟรี ) 

ข้อ.10 การทำผิดวินัยในการทำงานที่นายจ้างลงโทษทางวินัยและตีความว่าเป็นความผิดกรณีร้ายแรง และนายจ้างใช้สิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย หรือไม่จ่ายเงินอื่นใด เป็นความผิดที่เกิดขึ้นในลักษณะใด...? 

ยกตัวอย่าง 10 กรณี  (มีเอกสารหนังสือการเลิกจ้าง แจกฟรี ) 

ข้อ. 11  ในกรณีลูกจ้างปฏิบัติตนละเมิดต่อนายจ้าง และเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม การตีความว่ามีความเสียหายเกิดขึ้น และต้องดำเนินคดีฟ้องลูกจ้าง เพื่อให้ชดใช้ค่าความเสียหาย เป็นความผิดที่เกิดขึ้น ในลักษณะใด...?      

ยกตัวอย่าง 5 กรณี พร้อมคำอธิบาย    

ข้อ. 12 กรณีพนักงานปฏิบัติตนมีความผิดทางวินัย ที่ผู้บริหารงานบุคคลเป็นผู้สวนความผิด และกำหนดบทลงโทษทางวินัยอย่างไร.?      

ยกตัวอย่าง  5 กรณี พร้อมคำอธิบาย    

ข้อ. 13 กรณีพนักงานปฏิบัติตนมีความผิดทางวินัย ที่หัวหน้างานเป็นผู้สอบสวนความผิด และกำหนดบทลงโทษทางวินัย เป็นความผิดอย่างไร.?      

ยกตัวอย่าง  5 กรณี พร้อมคำอธิบาย    

                                                                                                                                                                     

·                 หลักสูตรนี้ วิทยากรจะเน้นทางด้าน ยกตัวอย่างข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และ ถาม - ตอบ จะบรรยายตามหัวข้อ แล้วแนะนำ  เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนานำไปปฏิบัติในการบริหารงานได้อย่างถูกต้อง  เมื่อลูกจ้างทำผิดวินัย การตีความอะไรเป็นตัวชี้วัด           

·                เพื่อให้ผู้บริหารได้ลงความเห็นว่า กรณีดังนี้ ต้องลงโทษทางวินัยเป็นหนังสือเตือน กรณีใดเป็นความผิดร้ายแรงและเลิกจ้างได้

·                 เมื่อลูกจ้างดำเนินคดีและเรียกร้องสิทธิทางศาลแรงงาน เพราะอะไร...? ทำไม...?นายจ้างถึงแพ้คดี และต้องจ่ายเงินเป็นหมื่น หรือเป็นแสนๆ สาเหตุมาจากอะไร...? การเลิกจ้างมีจุดอ่อนตรงไหน..? นายจ้างจะป้องกันอย่างไร...?

·                 นายจ้างไม่ควร ลองผิด ลองถูก นอกจากจะเสียเวลาแล้ว ต้องเสียเงินอีกด้วย ถ้าอยากรู้จริง อยากปฏิบัติให้ถูกต้อง ต้องเรียนหลักสูตรนี้



สถานที่อบรม (VENUE)

Online by Zoom /Onsite Training

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

18 ธันวาคม 2567 09.00-16.00 น.

จัดโดย

ดีทีเอ็นเทรนนิ่ง
เบอร์ติดต่อ : 096-669-5554 ,064-325-4946

ค่าธรรมเนียม (FEE)

2500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 41 ครั้ง