วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน เกี่ยวกับหลักกฎหมายแรงงานที่ใช้ในการทำงาน
2. เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้กฎหมายได้อย่างเหมาะสม
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายบัญญัติ
เนื้อหาการฝึกอบรม :
หมวด 1 : กฎหมายแรงงานที่นายจ้างและลูกจ้างต้องรู้
· ภาพรวมของกฎหมายการจ้างงานและการคุ้มครองแรงงาน
· สรุปย่อหลักกฎหมายเพื่อการจ้างงานและบริหารงานบุคคล 20 ฉบับ
· Update กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ฉบับแก้ไขล่าสุด พ.ศ. 2562
หมวด 2 : สัญญาจ้างแรงงาน
· เปรียบเทียบสัญญาจ้างแรงงานประเภทต่างๆ
· เงื่อนไขและระยะเวลาการทดลองงาน
· หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกัน
· การโอนย้าย และการเปลี่ยนตัวนายจ้าง
· การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงาน
· การจ้างเหมาค่าแรง (Outsource) และการรับเหมาช่วง
· ข้อห้ามและข้อจำกัดการจ้างแรงงานหญิงและเด็ก
หมวด 3 : ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
· เงื่อนไขและนิติสัมพันธ์ซึ่งเป็นข้อบังคับระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
· การจัดทำและแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
· ประเภทและความแตกต่างของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
· การจัดทำทะเบียนลูกจ้าง เอกสารการจ้าง และการส่งรายงานประจำปี
หมวด 4 : วันเวลาทำงาน วันหยุด วันลา ค่าจ้าง สวัสดิการ และผลประโยชน์
· เวลาทำงานปกติ เวลาพัก และการทำงานล่วงเวลา
· วันหยุด 3 ประเภท และวันลา 7 ประเภท
· ความแตกต่างของค่าจ้าง และสวัสดิการ
· ค่าจ้างขั้นต่ำและค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน
· อัตราค่าล่วงเวลา และการคำนวณค่าล่วงเวลา
· ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด
· หลักการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด
· หลักการจ่ายเงินโบนัส (Bonus) และสวัสดิการอื่นๆ
· หลักเกณฑ์การหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และเงินได้ประเภทต่างๆ
หมวด 5 : แรงงานสัมพันธ์ วินัย และการลงโทษทางวินัย
· หลักเกณฑ์การจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง
· สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างต่อกรรมการลูกจ้าง
· การจัดตั้ง สิทธิ และหน้าที่ของสหภาพแรงงาน
· การแจ้งข้อเรียกร้อง การเจรจา และข้อพิพาทแรงงาน
· ประเภทของวินัย หลักการและขั้นตอนการลงโทษทางวินัย
· การออกหนังสือเตือน และการพักงาน
หมวด 6 : การสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน และค่าชดเชย
· ประเภทของการสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน
· การเลิกจ้าง การลาออก และการเกษียณอายุ
· หลักเกณฑ์การบอกกล่าวล่วงหน้า & ข้อยกเว้น
· เงิน 3 ประเภทที่ต้องจ่ายกรณีนายจ้างเลิกจ้าง
· หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชย อัตรา และการคำนวณ
· ข้อยกเว้นไม่จ่ายค่าชดเชย และการตกลงสละสิทธิค่าชดเชย
· ค่าชดเชยพิเศษเนื่องจากการย้ายสถานประกอบกิจการ
· ค่าชดเชยพิเศษเนื่องจาก นำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาใช้
· การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการกระทำอันไม่เป็นธรรม
· สิทธิหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างหลังสิ้นสุดสัญญา
· การร้องเรียนการกระทำผิดต่อพนักงานตรวจแรงงาน
· การฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน และการดำเนินคดีแรงงาน