เนื่องด้วยอาคารบ้านพักอาศัย2ชั้นตาม พรบ. ควบคุมอาคารนั้นถือว่า
เป็นอาคารไม่ควบคุมและผู้ออกแบบไม่จำเป็นต้องเป็นวิศวกรก็ได้
แต่ทั้งนี้อาคารดังกล่าว ก็จำเป็นต้องมีความแข็งแรงถูกต้อง ตามกฎหมายควบคุม
และมาตรฐาน วสท.
กำหนดซึ่งเห็นว่าผู้ออกแบบบางครั้งยังขาดความรู้พื้นฐานอีกทั้งความสามารถของเทคโนโลยีโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ที่เข้ามามีบทบาท ในการออกแบบมากขึ้นเพียงแค่ผู้ออกแบบใส่ค่าต่าง ๆ
เข้าไปเท่านั้นก็ออกแบบโครงสร้างออกมาให้เสร็จบางครั้งถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นจะทำให้ผู้ออกแบบคำนวณไม่สามารถทราบได้มีความผิดพลาดที่จุดใด
หรือการตรวจสอบแบบแปลนโครงสร้างการเสริมเหล็กหน้างานว่าถูกต้องหรือไม่
โดยหลักสูตรนี้ จะทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถ คำนวณออกแบบอาคารได้ถูกต้อง ตามกฎหมายควบคุมอาคารกำหนดสามารถตรวจสอบรายการคำนวณและแบบขยายโครงสร้างการเสริมเหล็ก
ผลที่ได้รับจากการอบรม
:
ข้อบังคับเบื้องต้นก่อนการเรียน :
ระยะเวลา : 2 วัน (09:30-16:30 น.) พักเบรค 2 ช่วง 10:45-11:00 น. และ 14:45-15:00 น. พักทานอาหารกลางวัน 12:00-13:00 น.
เนื้อหาหลักสูตร :
วันที่1 :
1. ข้อกำหนดและคุณสมบัติของคอนกรีตที่นำมาใช้ในการคำนวณออกแบบ
-เหล็กเสริม
-คอนกรีต
-น้ำหนักบรรทุกอาคารและภายในอาคาร
-พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
2. พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก
-พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กทางเดียว (One Way Slab)
-พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กสองทาง (Two way Slab)
-พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กพื้นยื่น (Cantilever Slab)
-พื้นสำเร็จรูป
-พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนดิน (Slab on ground)
3. บันไดคอนกรีตเสริมเหล็ก
วันที่2 :
4.คานคอนกรีตเสริมเหล็ก
-คานคอนกรีตเสริมเหล็กรับแรงดึง (Single Beam)
-คานคอนกรีตเสริมเหล็กรับแรงดึงและแรงอัด (Double Beam)
-คานคอนกรีตเสริมเหล็กรับแรงบิด
-คานคอนกรีตเสริมเหล็กคานแคบ
5.เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก
-เสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่รับน้ำหนักตามแนวแกน
-เสาปลอกเดี่ยว (Tied umns)
-เสาปลอกเกลียว (Spiral umns)
-เสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่รับน้ำหนักแรงเยื้องศูนย์
-เสายาว
6.ฐานรากคอนกรีตเสริมเหล็ก
-ฐานรากคอนกรีตเสริมเหล็กฐานแผ่แบบฐานเดี่ยว
-ฐานรากคอนกรีตเสริมเหล็กฐานแผ่แบบฐานเดี่ยว ชนิดมีเสาเข็ม (Footing
on Pile)
7.หลังคาโครงสร้างเหล็ก
-แปเหล็ก
-จันทันเหล็ก
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
• มีพื้นฐานด้านทฤษฏีโครงสร้าง วิเคราะห์โครงสร้างและกำลังวัสดุ • มีพื้นฐานด้านการเขียนแบบและอ่านแบบก่อสร้าง
ดร.ชัยวัฒน์ ภู่วรกุลชัย
นิติวิศวกรรมในงานก่อสร้าง, การควบคุมงานก่อสร้างอาคาร, การบริหารจัดการด้านการก่อสร้าง, การบริหารความเสี่ยง, การเรียกร้องค่าชดเชยในงานก่อสร้าง
|