หลักการและเหตุผล
มาตรฐานการจัดการคุณภาพในอุสาหกรรมยานยนต์ของยุโรป ผู้ผลิตยานยนต์ประเทศเยอรมนี ได้นำVDA6.5มาใช้การตรวจประเมินผู้ส่งมอบในระดับต่าง ๆ (Tier I, Tier II....)และคาดหวังให้ผู้ส่งมอบได้นำVDAเกณฑ์การตรวจประเมินโดยเน้นที่คุณภาพของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ความสามารถด้านการผลิตของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ความเหมาะสมของกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ และหัวใจสำคัญคือความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดNCและความล้มเหลว หรือทำให้เกิดปัญหาในการใช้งาน มาตรวจประเมินตนเองและตรวจประเมินผู้ส่งมอบในระดับถัดไปด้วยเช่นกัน VDA6.5คือ การตรวจประเมินProduct Audit ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติว่าเป็นระบบการตรวจประเมินหน้างานที่ดีที่สุด ดังนั้นองค์กรใดที่คาดหวังระบบการตรวจประเมินหน้างานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับของเสียสูงสุด ควรประยุกต์ใช้มาตรฐาน VDA6.5นี้เป็นอย่างยิ่ง
VDA6.5
เป็นกระบวนการตรวจประเมินกระบวนการอ้างอิงจากมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มาจากเยอรมัน
ใช้ในการตรวจประเมินผลิตภัณฑ์ทุกมิติที่ได้ถูกกำหนดไว้โดยลูกค้า
โดยมีกระบวนการและรายการตรวจประเมินตามกระบวนการที่กำหนดขึ้น
เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการดำเนินการอย่างถูกต้องและสอดคล้องกับความต้องการของมาตรฐาน
จึงจำเป็นที่ทีมงานผู้ตรวจประเมินต้องมีความรู้ ทักษะในการดำเนินการอย่างเพียงพอ
ตลอดจนถึงการเลือกใช้เครื่องมือวัดที่ถูกต้องและการกำหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบอย่างเหมาะสม
เพื่อทำให้ระบบได้รับการทวนสอบ นำไปสู่การปรับปรุงผลิตภัณฑ์
และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องการทำ
process auditก็ทำเหมือนกับการaudit
ระบบ (system audit)เริ่มจากทำแผนว่าบริษัทเรามีprocessย่อย อะไรบ้างแต่ละprocessมีแผนจะตรวจกันตอนไหน วันไหน เวลาไหน
กะไหนบ้าง ใครเป็นคนตรวจจากนั้นก็ทำaudit checklistโดยใช้ข้อมูลจากPFMEA /Control Plan /WI /CAR-PAR ,
NCR , Claim , Complaint
พอรวบรวมได้แล้ว ก็นำมาเขียนเป็นchecklistของแต่ละprocessจากนั้นก็ทำการตรวจตามแผนที่กำหนด
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเรียนรู้ และเข้าใจหลักการพื้นฐานทั่วไป สำหรับผู้ตรวจประเมินกระบวนการVDA 6.5
2. เพื่อให้สามารถมีทักษะการตรวจประเมินพื้นฐานตามหลักการใน VDA 6.5
3. กระบวนการคัดเลือกบุคลากรในการตรวจและเครื่องมือวดที่เหมาะสมเพื่อการตรวจประมิน อย่างเหมาะสม
4. สามารถดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานสากลกำหนดเ และตัดสินผลการตรวจประเมินได้หัวข้อฝึกอบรม
หัวข้อการอบรม
1. กระบวนการที่จำเป็นในการก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์และมีการกำหนด วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ อย่างเหมาะสม
2. กระบวนการก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีการกำหนด ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ (Spec / Product Requirement / process eter) อย่างเหมาะสม
3. กระบวนการคัดเลือกบุคลากรในการตรวจและเครื่องมือวดที่เหมาะสมเพื่อการตรวจประมิน อย่างเหมาะสม
4. กระบวนการที่มีการกำหนด ทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับผลิตภัณฑ์ (Mat, jig, fixture, machine, equipment, instrument) อย่างเหมาะสม
5. การทวนสอบ(Verification),การรับรอง (Validation),การเฝ้าติดตาม(monitoring),การวัด(measurement) การตรวจสอบ และทดสอบที่จำเป็นสำหรับผลิตภัณฑ์ และเกณฑ์การยอมรับผลิตภัณฑ์ การรายงานและบันทึกที่จำเป็นที่ใช้เป็นหลักฐานในการแสดงว่ากระบวนการก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่ได้ อย่างเหมาะสม
6. วิธีการตรวจประเมิน และการใช้แบบฟอร์มการตรวจประเมิน การเขียนรายงานและแนวทางการแก้ไขป้องกัน
ระยะเวลาในการอบรม 1 วัน
รูปแบบการอบรม
· บรรยาย 40%
· กิจกรรม 40%
· VDO 20 %